ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 42

โดยที่คณะปฏิวัติได้พิจารณาเห็นว่า ในปัจจุบันการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ในโรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ยังไม่ สอดคล้องกับวิวัฒนาการในด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่ง เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วตลอดเวลา สมควรปรับปรุงการสอนวิชาดังกล่าว ให้ประสานกันทุกระดับการศึกษา โดยจัดตั้งสถาบันเพื่อส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพและมีความสัมพันธ์ กันทุกระดับการศึกษา ในการนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ได้ตกลงให้ความช่วยเหลือ แก่ประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วยแล้ว หัวหน้าคณะปฏิวัติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ สถาบัน หมายความว่า สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี

คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้

ข้อ 2 ให้จัดตั้งสถาบันขึ้นเรียกว่า สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ดังนี้

(1) ริเริ่ม ดำเนินการ และส่งเสริมการค้นคว้าและวิจัยหลักสูตร วิธีสอนและการวัดผลการสอน เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ เทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา

(2) ส่งเสริม และดำเนินการฝึกอบรมครู อาจารย์ นักเรียน นิสิต และนักศึกษา เกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

(3) ส่งเสริม และดำเนินการค้นคว้า ปรับปรุง และประดิษฐ์อุปกรณ์ เกี่ยวกับการสอน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

(4) ส่งเสริม และดำเนินการค้นคว้า ปรับปรุง และจัดทำแบบเรียน แบบฝึกหัด หนังสืออุเทศ หนังสืออ่านประกอบและคู่มือครู เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

ข้อ 3 ให้สถาบันเป็นนิติบุคคล

ข้อ 4 ให้สถาบันมีอำนาจกระทำการภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตาม ข้อ 2 อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง

(1) ซื้อ สร้าง จัดหา รับโอน เช่า ให้เช่า แลกเปลี่ยน มี ถือ กรรมสิทธิ์ ครอบครอง ขาย และจำหน่ายสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนตกลงยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขในการซื้อ การรับทรัพย์สินที่มีผู้ อุทิศให้ การรับการอุดหนุนและการรับทรัพย์สินตามพินัยกรรม

(2) จัดตั้งและดำเนินงานสถานวิจัย ศูนย์ปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการ สถานีปฏิบัติการ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สถานรวบรวมตัวอย่างอุปกรณ์การสอน เพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง และอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

(3) ร่วมมือกับกระทรวง ทบวง กรม องค์การ สมาคม และบุคคล ใด ๆ ในกิจการที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ เทคโนโลยี

(4) ให้ประกาศนียบัตรและใบสำคัญเพื่อแสดงผลงานและความสำเร็จ ของผู้ซึ่งได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ เทคโนโลยี และงานอื่นของสถาบัน

(5) รวบรวม จัดพิมพ์และโฆษณาเผยแพร่ความรู้กรรมวิธี และข่าวสาร เกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และงานอื่นของสถาบัน

(6) จัดหาและให้ทุนเพื่อค้นคว้า วิจัย และฝึกอบรมเกี่ยวกับการสอน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

(7) ร่วมมือกับประเทศอื่น องค์การต่างประเทศ และองค์การระหว่าง ประเทศ ในการส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

ข้อ 5 การค้นพบ การประดิษฐ์ และการปรับปรุงกรรมวิธีเครื่องมือ เครื่องจักรที่พนักงานหรือลูกจ้างของสถาบันเป็นผู้กระทำขึ้นจากการปฏิบัติ งานตามหน้าที่ ตลอดจนลิขสิทธิ์ และสิทธิในการค้นพบ การประดิษฐ์ และการ ปรับปรุงสิ่งดังกล่าวให้ตกเป็นทรัพย์สินของสถาบันทั้งหมด ทั้งนี้ ไม่กระทบ กระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกตามนิติกรรมที่ได้กระทำไว้กับสถาบัน

ข้อ 6 รายได้ของสถาบันมีดังนี้

(1) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ เงินอุดหนุนจากแหล่งอื่น และ เงินที่มีผู้อุทิศให้
(2) ค่าธรรมเนียมที่สถาบันได้รับจากการดำเนินงานของสถาบัน
(3) ดอกเบี้ย ผลประโยชน์อย่างอื่นจากการลงทุนและรายได้อื่น

ข้อ 7 รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบัน เพื่อประโยชน์ในการนี้ให้มีอำนาจสั่งให้สถาบันชี้แจงข้อเท็จจริง เสนอความเห็น หรือทำรายงาน หรือสั่งให้สถาบันยับยั้งการกระทำที่ขัดต่อมติของคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาล ตลอดจนสั่งสอบสวนเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของ สถาบันได้

ข้อ 8 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการฝึกหัดครู อธิบดีกรมวิชาการ อธิบดี กรมวิสามัญศึกษา อธิบดีกรมสามัญศึกษา อธิบดีกรมอาชีวศึกษา และเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินหกคน ให้ผู้อำนวยการสถาบันเป็นเลขานุการคณะกรรมการ

ข้อ 9 ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในระหว่างที่กรรมการซึ่ง แต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือ แต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ได้รับการแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งใหม่อีกได้

ข้อ 10 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบาย และควบคุมดูแล โดยทั่วไปซึ่งกิจการของสถาบัน อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง

(1) ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของสถาบันและการกำหนด ค่าธรรมเนียม

(2) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานและการปฏิบัติงานของ ส่วนงานนั้น

(3) ออกข้อบังคับว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การบัญชี และการสอบบัญชีภายในของสถาบัน

(4) ออกข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และ ค่าจ้างสำหรับพนักงานและลูกจ้าง และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นของสถาบัน

(5) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน ระเบียบวินัย และการลงโทษสำหรับพนักงานและลูกจ้างของสถาบัน

(6) ออกข้อบังคับว่าด้วยการร้องทุกข์สำหรับพนักงานและลูกจ้างของ สถาบัน

(7) ออกข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสำหรับสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานของ สถาบันและครอบครัว ข้อบังคับตามข้อนี้ ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจของผู้อำนวยการสถาบันในการ ทำนิติกรรมไว้ประการใด ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ข้อ 11 ให้ประธานกรรมการเป็นผู้เรียกประชุมคณะกรรมการ

ถ้ากรรมการตั้งแต่สามคนขึ้นไปร้องขอให้คณะกรรมการประชุมเพื่อ กิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ประธานกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการ ในการประชุม ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของ กรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่ประธาน กรรมการไม่อาจมาประชุมได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่ง เป็นประธานในที่ประชุม

ข้อ 12 การลงมติให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มี เสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุม ออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

ข้อ 13 คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือทำ กิจการหรือพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ให้นำข้อ 11 และข้อ 12 มาใช้บังคับแก่การประชุมคณะอนุกรรมการ โดยอนุโลม

ข้อ 14 ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการแต่งตั้งผู้อำนวยการ สถาบันคนหนึ่งจากผู้ซึ่งมีความรู้และความจัดเจนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือเทคโนโลยี ให้ผู้อำนวยการสถาบันอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี แต่อาจได้รับแต่งตั้ง ใหม่อีกได้ ให้ผู้อำนวยการสถาบันได้รับเงินเดือนตามที่คณะกรรมการกำหนด โดย ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี

ข้อ 15 ผู้มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ห้ามแต่งตั้งเป็น ผู้อำนวยการสถาบัน (1) เป็นข้าราชการประจำ (2) เป็นผู้มีตำแหน่งการเมือง (3) เป็นผู้ไม่อาจทำงานได้เต็มเวลาให้แก่สถาบัน

ข้อ 16 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามข้อ 14 วรรคสอง ผู้อำนวยการสถาบันพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) รัฐมนตรีให้ออกตามคำแนะนำของคณะกรรมการ
(4) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 15 (1) หรือ (2)
(5) ไม่อาจทำงานได้เต็มเวลาให้แก่สถาบัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาต จากคณะกรรมการ

ข้อ 17 ผู้อำนวยการสถาบันมีหน้าที่บริหารกิจการของสถาบันให้เป็นไป ตามนโยบายและข้อบังคับของคณะกรรมการและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงาน และลูกจ้างของสถาบัน ในการบริหารกิจการ ผู้อำนวยการสถาบันต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ

ข้อ 18 ผู้อำนวยการสถาบันมีอำนาจ (1) บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือนและค่าจ้าง ลงโทษทาง วินัยพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนให้พนักงานและลูกจ้างออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามข้อบังคับของคณะกรรมการ (2) กำหนดเงื่อนไขในการทำงานของพนักงานและลูกจ้าง และออก ระเบียบวิธีปฏิบัติงานของสถาบันโดยไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับของคณะกรรมการ

ข้อ 19 ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้อำนวยการสถาบันเป็น ผู้กระทำในนามของสถาบัน และเป็นผู้กระทำแทนสถาบัน เพื่อการนี้ ผู้อำนวยการ สถาบันจะมอบอำนาจให้ตัวแทนหรือบุคคลใดกระทำกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามข้อบังคับของคณะกรรมการ นิติกรรมที่ผู้อำนวยการสถาบันทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับตามข้อ 10 วรรคสอง ย่อมไม่ผูกพันสถาบัน เว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน

ข้อ 20 ในกรณีที่ผู้อำนวยการสถาบันไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือ เมื่อตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันว่างลง และยังมิได้มีการแต่งตั้งผู้อำนวยการ สถาบัน ให้คณะกรรมการแต่งตั้งพนักงานของสถาบันคนหนึ่งเป็นผู้ทำการแทน ผู้อำนวยการสถาบันหรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน แล้วแต่กรณี ให้ผู้ทำการแทนผู้อำนวยการสถาบันหรือผู้รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับผู้อำนวยการสถาบัน

ข้อ 21 ประธานกรรมการและกรรมการย่อมได้รับประโยชน์ตอบแทน ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ข้อ 22 สถาบันต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะ ดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

(1) ทำสัญญาร่วมมือกับประเทศอื่น องค์การต่างประเทศ หรือ องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลผูกพันให้สถาบันต้องออกเงินสมทบ (2) ขายหรือจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์

ข้อ 23 ให้สถาบันรายงานคณะรัฐมนตรีปีละครั้งภายในวันที่ 30 มิถุนายน ของปีถัดไป โดยแสดงผลงานที่สถาบันได้ปฏิบัติในรอบปีที่แล้ว และ กิจการที่จะกระทำในปีถัดไป

ข้อ 24 ในกรณีที่สถาบันต้องเสนอเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีตามประกาศ ของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ให้นำเรื่องเสนอรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อไปยังคณะรัฐมนตรี

ข้อ 25 ให้พนักงานและลูกจ้างของสถาบันมีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามข้อบังคับ ของคณะกรรมการ

ข้อ 26 ให้สถาบันจัดตั้งกองทุนสำหรับสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานของ สถาบันและครอบครัวในกรณีที่พ้นจากตำแหน่ง ประสบอุบัติเหตุ เจ็บไข้ และ กรณีอื่นอันควรแก่การสงเคราะห์ การจัดให้ได้มาซึ่งกองทุนตามวรรคหนึ่ง การกำหนดประเภทของผู้พึงได้ รับการสงเคราะห์จากกองทุน หลักเกณฑ์การสงเคราะห์ และการจัดการเกี่ยวกับกองทุน ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคณะกรรมการโดยได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรี

ข้อ 27 ให้สถาบันวางและถือไว้ซึ่งระบบการบัญชีอันถูกต้อง มีการสอบ บัญชีภายในเป็นประจำและมีสมุดลงรายการ (1) การรับและจ่ายเงิน (2) สินทรัพย์และหนี้สิน ซึ่งแสดงรายการที่เป็นอยู่จริงพร้อมทั้งข้อความอันเป็นแหล่งที่มาของรายการ นั้น ๆ

ข้อ 28 ให้สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบและ รับรองบัญชีของสถาบันทุกรอบปี

ข้อ 29 ให้ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบสรรพสมุดบัญชีและเอกสาร ต่าง ๆ ของสถาบัน และเพื่อการนี้ให้มีอำนาจสอบถามประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการสถาบันพนักงานและลูกจ้างของสถาบันได้

ข้อ 30 ให้ผู้สอบบัญชีทำรายงานผลของการสอบบัญชีเสนอคณะรัฐมนตรี ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี

ข้อ 31 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามประกาศ ของคณะปฏิวัติฉบับนี้

ข้อ 32* ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2515/9/1พ/17 มกราคม 2515]

ประกาศ ณ วันที่ 16 มกราคม พุทธศักราช 2515

จอมพล ถ. กิตติขจร
หัวหน้าคณะปฏิวัติ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย