ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2517
เป็นปีที่ 29 ในรัชกาลปัจจุบัน

หน้า 2

มาตรา 15 การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธาน กรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมให้รองประธานกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธาน ในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมากประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ คนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด

มาตรา 16 คณะกรรมการอาจตั้งคณะอน ุกรรมการเพื่อให้กระทำ กิจการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนได้ ให้นำมาตรา 15 มาใช้บังคับแก่การประชุมและวินิจฉัยของ คณะอนุกรรมการโดยอนุโลม

มาตรา 17 ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาโครงการส่งเสริมการผลิต และโครงการพยุงราคา และการจำหน่ายซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารที่กระทรวง ทบวงกรมและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเสนอ (2) พิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินสำหรับโครงการ ส่งเสริมการผลิตและโครงการพยุงราคาและการจำหน่ายซึ่งผลิตผลเกษตรกรรม ขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร (3) ทำความเห็นเสนอคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพิจารณาตาม (1) และ (2) (4) วางระเบียบการเบิกจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (5) ติดตามผลการดำเนินการของกิจการตามโครงการในมาตรา 18

มาตรา 18 กิจการตามโครงการที่จะใช้จ่ายเงินจากกองทุน สงเคราะห์เกษตรกรได้นั้นได้แก่กิจการ ดังต่อไปนี้

(1) การส่งเสริมการผลิตผ ลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์ อาหารโดย

(ก) จัดหาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกร ในราคาอันสมควร

(ข) ให้เกษตรกรกู้เพื่อการลงทุนในการผลิตและการจำหน่าย ผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร

(ค) ดำเนินการจัดหาที่ดินให้เกษตรกรเข้าทำกิน การจัดหา กรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่เกษตรกร การปฏิรูปที่ดิน และการจัดรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม

(ง) ดำเนินการอื่นใดอันจะก่อประโยชน์ในการผลิตผลิตผล เกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบ สำหรับอุตสาหกรรมเกษตร

(2) การพยุงราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร ในประเทศโดย

(ก) ซื้อหรือรับจำนำผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์ อาหารในราคาที่รัฐมนตรีกำหนด

(ข) ขายภายในประเทศและขายโดยส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร

(ค) ดำเนินการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งกิจการตาม (ก) และ (ข) แห่งข้อนี้

(3) การดำเนินการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อขจัดภัยร ้ายแรงต่อ สิ่งแวดล้อมอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร

มาตรา 19 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจ่ายเงินจากกองทุน สงเคราะห์เกษตรกรแก่กระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง องค์การของรัฐบาล และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อใช้จ่ายในกิจการตาม โครงการส่งเสริมการผลิตและโครงการพยุงราคาและการจำหน่ายซึ่งผลิตผล เกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

มาตรา 20 ในการสงเคราะห์เกษตรกรตามโครงการช่วยเหลือ ในเรื่องการผลิต ให้คำนึงถึงผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ประสบความ เดือนร้อนเป็นหลักก่อน ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 21 ภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ทุกปี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศรายงานการรับจ่ายเงิน ของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรในราชกิจจานุเบกษา รายงานการรับจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ตรวจสอบแล้ว ให้ทำรายงานผล การตรวจสอบเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอรัฐสภาทราบ

มาตรา 22 ผู้ส่งออกผู้ใดไม่เสียค่าธรรมเนียมการส่งออกตาม มาตรา 10 หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ตนเสียค่าธรรมเนียมการ ส่งออกน้อยกว่าที่ต้องเสีย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับสิบเท่า ของค่าธรรมเนียมการส่งออกที่ยังต้องชำระ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เงินค่าปรับตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นค่าธรรมเนียมการส่งออกที่ เรียกเก็บได้ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกร

มาตรา 23 ผู้ใดกระทำการด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่ผู้ส่งออก เพื่อให้ผู้ส่งออกไม่เสียค่าธรรมเนียมการส่งออก หรือให้เสียค่าธรรมเนียมการส่งออกน้อยกว่าที่ต้องเสีย ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 24 เงินค่าธรรมเนียมการส่งออกที่เรียกเก็บได้ในปี งบประมาณ พ.ศ. 2518 ให้ส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกรร้อยละแปดสิบ ส่วนที่เหลือให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

มาตรา 25 บรรดาคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในส่วนที่เกี่ยวกับ

การอนุญาตส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าใด ๆ ที่ผู้ส่งออกต้องเสีย ค่าธรรมเนียมการส่งออกและในส่วนที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการส่งออก ที่ออกไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้คงมีผลใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะ ได้มีการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นแล้ว

มาตรา 26 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

สัญญา ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก ประชากรส่วนใ หญ่ของประเทศประกอบอาชีพการเกษตร ผลิตผลเกษตรกรรม เป็นสินค้าขาออกที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นลำดับหนึ่ง การเศรษฐกิจของ ประเทศขึ้นอยู่กับอาชีพการเกษตรเป็นสำคัญ แต่ปรากฏว่าเกษตรกรส่วนมาก เป็นผู้ยากจนต้องกู้ยืมเงินทุนมาใช้ในการประกอบอาชีพและเป็นค่าใช้จ่ายใน ครอบครัว จึงทำให้เกษตรกรมีหนี้สินล้นพ้นตัว และต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินและกลายเป็นผู้เช่าที่ดินต้องเสียค่าเช่าในอัตราสูง นอกจากนั้นเกษตรกร ผู้ผลิตตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบพ่อค้าคนกลางซึ่งเป็นผู้กำหนดราคาผลิตผล เกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารโดยมุ่งเอาเปรียบกดราคาเพื่อให้ตน ได้รับผลกำไรจากการซื้อผลิตผลและผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากเกษตรกรให้มาก ที่สุด รัฐบาลจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรให้ หลุดพ้นจากหนี้สิน มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง และให้สามารถเพิ่มผลผลิตและ มีรายได้สูงขึ้น และเพื่อช่วยพยุงราคาขายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและ ผลิตภัณฑ์อาหารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นผลดีแก่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ภายในประเทศ เห็นสมควรมีกฎหมายจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรขึ้น โดยเฉพาะ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในด้านการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต และ เพื่อพยุงราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

« ย้อนกลับ |

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย