ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ การเปรียบเทียบคดีอาญา พุทธศักราช 2481

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ. เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน

ตราไว้ ณ วันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2481
เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรปรับปรุงกฎหมายในเรื่องการ เปรียบเทียบคดีอาญาให้เหมาะสมแก่กาลสมัย จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการเปรียบเทียบ คดีอาญา พุทธศักราช 2481

มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2482 เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้ยกเลิกมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะ ปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 และพระราชบัญญัติให้ตำรวจภูธรมีอำนาจ เปรียบเทียบคดีอาญา พุทธศักราช 2480

มาตรา 4* ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษ ไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท ให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวนคดีนั้นมีอำนาจ เปรียบเทียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 *[มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2529]

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่รักษาการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

_____________________________

พระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499

มาตรา 4 ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษ ไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกิน สองพันบาท ให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวนคดีนั้น มีอำนาจ เปรียบเทียบได้ ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 38

_____________________________

พระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ กำหนดโทษความผิดคดีอาญาที่จะเปรียบเทียบได้ตามพระราชบัญญัติการ เปรียบเทียบคดีอาญา พ.ศ. 2481 ยังต่ำอยู่ สมควรที่จะได้แก้ไขให้พนักงาน สอบสวนมีอำนาจเปรียบเทียบได้มากขึ้น เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ราษฎร ที่ต้องหาคดีอาญาในอันที่จะไม่ต้องถูกฟ้องร้องยังโรงศาล [รก.2499/107/1658/25 ธันวาคม 2499]

_____________________________

พระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2529

มาตรา 4 ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษ ไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท ให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจทำการสอบสวนคดีนั้นมีอำนาจ เปรียบเทียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

_____________________________

พระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2529

หมายเหตุ ผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ กำหนดโทษความผิดคดีอาญาที่จะเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายว่าด้วยการ เปรียบเทียบคดีอาญายังต่ำอยู่ สมควรแก้ไขให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจ เปรียบเทียบได้มากขึ้น เพื่อประโยชน์แก่ผู้ต้องหาที่จะไม่ต้องถูกฟ้องต่อศาล และทำให้คดีลุล่วงไปโดยเหมาะสมและรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้

[รก.2529/215/145/4 ธันวาคม 2529]

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย