ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ ทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. 2542
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2542
เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้รับสัมปทาน พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้ กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติทางหลวงสัมปทาน พ.ศ. 2542
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2542/29ก/1/21 เมษายน 2542]
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทางหลวงที่ได้รับสัมประทาน พุทธศักราช 2473
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ ทางหลวงสัมปทาน หมายความว่า ทางที่รัฐให้สัมปทานแก่บุคคลใด ๆ ในการ สร้างหรือบำรุงรักษา โดยเก็บค่าใช้ทาง ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดินหรือใต้หรือเหนือ อสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น และให้หมายความรวมถึงอุโมงค์ สะพาน เรือหรือพาหนะสำหรับขนส่ง ข้ามฟาก และท่าเรือสำหรับขึ้นหรือลงรถ ที่จัดไว้เพื่อประโยชน์แก่ทางหลวงสัมปทานด้วย สร้าง หมายความว่า การก่อสร้าง ขยาย หรือบูรณะ บำรุงรักษา หมายความว่า การดูแลรักษาหรือซ่อมแซมทางหลวงสัมปทานและ อุปกรณ์ทางหลวงสัมปทานเพื่อให้คงสภาพใช้งานได้ดีตามปกติ รวมทั้งการเสริมความแข็งแรง การ ยืดอายุการใช้งานของทางหลวงสัมปทานและอุปกรณ์ทางหลวงสัมปทาน การติดตั้งและเสริมแต่ง อุปกรณ์ทางหลวงสัมปทานหรือสิ่งที่ไม่ได้ก่อสร้างหรือติดตั้งไว้ เพื่อให้ทางหลวงสัมปทานมีสภาพ สมบูรณ์ยิ่งขึ้นหรือมีความสะดวกและปลอดภัยแก่ผู้ใช้ แต่ไม่หมายความรวมถึงการบูรณะ อุปกรณ์ทางหลวงสัมปทาน หมายความว่า อาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่น ที่ต้องมีเพื่อการบำรุงรักษาและการประกอบกิจการทางหลวงสัมปทาน รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ ในระบบควบคุมการเก็บเงินค่าใช้ทาง ระบบการสื่อสาร และระบบการควบคุมการจราจรของทาง หลวงสัมปทาน เพื่อประโยชน์ในการบริหารทางหลวงสัมปทานและเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การ จราจร อธิบดี หมายความว่า อธิบดีกรมทางหลวง พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวง ซึ่งอธิบดี แต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา 6 การให้สัมปทานรายใดถ้าอยู่ในหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วย การให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐให้ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นด้วย ให้นำกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมาใช้บังคับกับทางหลวงสัมปทานโดยอนุโลม เว้นแต่ที่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัตินี้
หมวด 1
สัมปทาน
______
มาตรา 8 เมื่อรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำขอรับสัมปทานรายใดสมควร ได้รับสัมปทาน ให้รัฐมนตรีรายงานความเห็นในเรื่องการขอรับสัมปทานไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อ คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
มาตรา 9 ผู้รับสัมปทานจะโอนสัมปทานได้ต่อเมื่อมีเหตุอันสมควรและ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้รับโอนมีคุณสมบัติตาม มาตรา 7 วรรคสี่ และอนุญาตให้โอนสัมปทานได้ ผู้รับโอนสัมปทานตามวรรคหนึ่งต้องรับไปซึ่งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิด ทั้งหมดของผู้รับสัมปทานรายเดิม
มาตรา 10 ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานสิ้นสภาพนิติบุคคลหรือตกเป็นบุคคล ล้มละลาย ให้ผู้ชำระบัญชีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้วแต่กรณี เป็นผู้มีสิทธิแสดงเจตนา ในการโอนสัมปทานตามมาตรา 9 การแสดงเจตนาในการโอนสัมปทานตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 11 การโอนสัมปทานตามมาตรา 9 และมาตรา 10 ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 12 ในกรณีที่ผู้รับสัมปทานไม่ได้รับอนุญาตให้โอนสัมปทานให้อธิบดี มีหนังสือแจ้งให้ผู้รับสัมปทานทราบพร้อมทั้งเหตุผล ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีมีคำสั่ง
| หน้าถัดไป »