ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511

หน้า 2

มาตรา 14 กรรมการวิชาการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(5) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือ ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
(6) รัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งให้ทราบ

มาตรา 15 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมอุตสาหกรรม รัฐมนตรีอาจกำหนด แก้ไข และยกเลิกมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมใด ๆ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการได้ การกำหนด แก้ไข และยกเลิกมาตรฐานตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจา นุเบกษา

มาตรา 16* ภายใต้บังคับมาตรา 25 ผู้ใดทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีประกาศ กำหนดมาตรฐานแล้ว จะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนั้นได้ต้องให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ การขออนุญาต การตรวจสอบ และการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง *[มาตรา 16 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535]

มาตรา 17 เพื่อความปลอดภัย หรือเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิด แก่ประชาชน หรือแก่กิจการอุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจของประเทศจะกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมชนิดใดต้องเป็นไปตามมาตรฐานก็ได้ การกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และระบุวันเริ่มใช้บังคับ ไม่น้อยกว่าหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 18 ก่อนตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 17 ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(1) ให้สำนักงานประกาศโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวัน ภาษาไทยอย่างน้อยหนึ่งฉบับ มีกำหนดไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ระบุว่าประสงค์จะให้มีการกำหนด ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชนิดใดต้องเป็นไปตามมาตรฐานและดูรายละเอียดได้ ณ ที่ใด พร้อมทั้ง กำหนดเวลาให้ผู้ที่ประสงค์จะคัดค้านยื่นคำคัดค้านต่อสำนักงานภายในกำหนดไม่น้อยกว่าสามสิบ วันนับแต่วันประกาศ

(2) ถ้าไม่ได้รับคำคัดค้าน ให้สำนักงานรายงานให้คณะกรรมการทราบในกรณี เช่นนี้ ให้คณะกรรมการดำเนินการต่อไปได้

(3) ในกรณีที่ได้รับคำคัดค้าน ให้สำนักงานเสนอคำคัดค้านนั้นไปยังคณะ กรรมการ

(4) ให้สำนักงานปิดประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่ฟังคำแถลงคัดค้านไว้ ณ สำนักงาน และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้คัดค้านทราบ

(5) ในการฟังคำแถลงคัดค้าน ให้คณะกรรมการเปิดโอกาสให้บุคคลซึ่งมีส่วน ได้เสียเข้าฟัง และเสนอความเห็นได้ด้วย

(6) เมื่อถึงเวลาตามที่กำหนด ถ้าผู้คัดค้านไม่มา ให้คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณา ไปตามที่เห็นสมควร

(7) เมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้สำนักงานปิดประกาศสำเนาคำวินิจฉัย ไว้ ณ สำนักงาน และส่งสำเนาคำวินิจฉัยไปให้ผู้คัดค้านทราบ

มาตรา 19 บุคคลซึ่งมีส่วนได้เสียเนื่องจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตาม มาตรา 18 มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยนั้นต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันปิดประกาศ สำเนาคำวินิจฉัยไว้ ณ สำนักงาน คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา 20* ภายใต้บังคับมาตรา 25 ผู้ใดทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราช กฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ต้องแสดงหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ การขออนุญาต การตรวจสอบ และการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง *[มาตรา 20 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535]

มาตรา 20 ทวิ* เพื่อประโยชน์ในการส่งออก หรือเมื่อมีความจำเป็นต้องทำ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่แตกต่างไปจากมาตรฐานที่กำหนด เพื่อใช้ในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว รัฐมนตรีจะอนุญาตเป็นการเฉพาะคราวให้ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 20 ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ตามมาตรฐานของต่างประเทศหรือ มาตรฐานระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะต่ำกว่าหรือสูงกว่ามาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ได้ มาตรฐานของต่างประเทศ หรือมาตรฐานระหว่างประเทศตามวรรคหนึ่ง จะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และการทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว จะต้องเป็นไป ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด *[มาตรา 20 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

มาตรา 21* ภายใต้บังคับมาตรา 25 ผู้ใดนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีพระราช กฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเข้ามาเพื่อจำหน่ายในราชอาณาจักรต้องแสดงหลักฐาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ การขออนุญาต การตรวจสอบ และการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง *[มาตรา 21 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535]

มาตรา 21 ทวิ* เมื่อมีความจำเป็นต้องนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมที่แตกต่างไปจากมาตรฐานที่กำหนดเพื่อใช้ในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว รัฐมนตรี จะอนุญาตเป็นการเฉพาะคราวให้ผู้ใดนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มี พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เป็นไปตามมาตรฐานของต่างประเทศ หรือ มาตรฐานระหว่างประเทศไม่ว่าจะต่ำกว่าหรือสูงกว่ามาตรฐานตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ได้

มาตรฐานของต่างประเทศหรือมาตรฐานระหว่างประเทศตามวรรคหนึ่ง จะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และการนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวเข้ามาในราช อาณาจักร จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด *[มาตรา 21 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

มาตรา 22 ผู้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาต

มาตรา 23 ถ้าใบอนุญาตหายหรือชำรุดเสียหายมาก ให้ผู้รับใบอนุญาตขอรับ ใบแทนใบอนุญาตจากคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบว่าใบอนุญาตหายหรือ ชำรุดเสียหายมาก การขอใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 24 การย้ายสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตต้องได้รับใบอนุญาตจาก คณะกรรมการ การขออนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 25* การโอนใบอนุญาตที่ออกให้ตามมาตรา 16 มาตรา 20 และมาตรา 21 จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตให้โอนใบอนุญาตจากคณะกรรมการ เมื่อได้ยื่นคำขอโอนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้วให้ผู้ยื่นคำขอแสดงหรือใช้ เครื่องหมายมาตรฐาน หรือทำ หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐาน แล้วแต่กรณีต่อไปได้ จนกว่าจะมีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยถึงที่สุดไม่อนุญาตให้โอนใบอนุญาต โดยถือว่าผู้ยื่นคำขอเป็นผู้รับ ใบอนุญาตซึ่งจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการจะต้องพิจารณาคำขอโอนใบอนุญาตและมีคำสั่งให้แล้วเสร็จภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ กรณีที่คณะกรรมการพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม ให้ ถือว่าคำขอโอนใบอนุญาตดังกล่าวได้รับการอนุญาตและคณะกรรมการจะต้องออกใบอนุญาตให้ โอนใบอนุญาตให้โดยมิชักช้า

การขอโอนใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง *[มาตรา 25 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535]

มาตรา 25 ทวิ* ในการออกใบอนุญาตตามมาตรา 16 มาตรา 20 มาตรา 21 มาตรา 24 และมาตรา 25 คณะกรรมการจะกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ ในเรื่องต่อไปนี้ด้วยก็ได้

(1) วิธีการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐาน
(2) กำหนดเวลาสำหรับการแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน
(3) กำหนดเวลาสำหรับการชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม เงื่อนไขที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการจะแก้ไขเพิ่มเติมก็ได้ *[มาตรา 25 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531]

มาตรา 26 คำขอตามมาตรา 16 มาตรา 20 มาตรา 21 มาตรา 24 และมาตรา 25 นั้น ถ้าคณะกรรมการมีคำสั่งไม่อนุญาต ผู้ขอมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในสามสิบวันนับแต่ วันทราบคำสั่ง คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา 27* ใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อ

(1) ผู้รับใบอนุญาตเลิกประกอบกิจการ
(2) ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 16 ขอเลิกแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม
(3) ประกาศหรือพระราชกฤษฎีกากำหนดมาตรฐานใหม่ แก้ไขหรือยกเลิก มาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชนิดนั้น มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่มีการกำหนดมาตรฐาน ใหม่หรือแก้ไขมาตรฐาน ถ้าผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะประกอบกิจการตามมาตรฐานใหม่หรือ มาตรฐานที่แก้ไข ให้ยื่นคำขออนุญาตได้ก่อนวันที่มาตรฐานใหม่หรือมาตรฐานที่แก้ไขมีผลใช้ บังคับ และเมื่อได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตแล้ว ให้ประกอบกิจการตามใบอนุญาตเดิมต่อไปได้ตาม มาตรฐานเดิมภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่มาตรฐาน ใหม่หรือมาตรฐานที่แก้ไขมีผลใช้บังคับ *[มาตรา 27 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2531]

มาตรา 28 เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกประกอบกิจการ ผู้รับใบอนุญาตต้องแจ้งเป็น หนังสือให้คณะกรรมการทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบกิจการ

มาตรา 29 ผู้รับใบอนุญาตตามมาตรา 20 หรือมาตรา 21 ต้องทำผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมนั้นให้เป็นไปตามมาตรฐาน หรือนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐาน เข้ามา แล้วแต่กรณี

« ย้อนกลับ | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย