ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ แร่ พ.ศ. 2510

หน้า 2

หมวด 1
บททั่วไป
_____

มาตรา 4* ในพระราชบัญญัตินี้

"แร่"* หมายความว่า ทรัพยากรธรณีที่เป็นอนินทรียวัตถุ มีส่วน ประกอบทางเคมีกับลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย ไม่ว่า จะต้องถลุงหรือหลอมก่อนใช้หรือไม่ และหมายความรวมตลอดถึงถ่านหิน หินน้ำมัน หินอ่อน โลหะ และตะกรันที่ได้จากโลหกรรม น้ำเกลือใต้ดิน หินซึ่งกฎกระทรวง กำหนดเป็นหินประดับหรือหินอุตสาหกรรม และดินหรือทรายซึ่งกฎกระทรวงกำหนด เป็นดินอุตสาหกรรมหรือทรายอุตสาหกรรม แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงน้ำ เกลือสินเธาว์ ลูกรัง หิน ดิน หรือทราย"

*[นิยามนี้ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

"น้ำเกลือใต้ดิน"* หมายความว่า น้ำเกลือที่มีอยู่ใต้ดินตามธรรมชาติ และมีความเข้มข้นของเกลือในปริมาณมากกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง"

*[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

"สำรวจแร่" หมายความว่า การเจาะหรือขุด หรือกระทำด้วยวิธีการ อย่างใดอย่างหนึ่งหลายวิธี เพื่อให้รู้ว่าในพื้นที่มีแร่อยู่หรือไม่เพียงใด

"ทำเหมือง"* หมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บก หรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายวิธี แต่ไม่ รวมถึงการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินตามหมวด 5 ทวิ และการขุดหาแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

*[นิยามนี้ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

"ขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดิน"* หมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่า จะเป็นที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำเกลือใต้ดิน แต่ไม่รวมถึงการทำ เหมืองแร่เกลือหินด้วยวิธีเหมืองละลายแร่" *

[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

"ขุดหาแร่รายย่อย" หมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็น ที่บกหรือที่น้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่โดยใช้แรงคนแต่ละคนตามชนิดของแร่ ภายใน ท้องที่และวิธีการขุดหาแร่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

"ร่อนแร่" หมายความว่า การกระทำแก่พื้นที่ไม่ว่าจะเป็นที่บกหรือ ที่น้ำ เพื่อให้ได้มาซึ่งแร่โดยใช้แรงคนแต่ละคนตามชนิดของแร่ ภายในท้องที่และ วิธีการร่อนแร่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

"แต่งแร่" หมายความว่า การกระทำอย่างใด ๆ เพื่อทำแร่ให้ สะอาด หรือเพื่อให้แร่ที่ปนกันอยู่ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปแยกออกจากกัน และ หมายความรวมตลอดถึงบดแร่ หรือคัดขนาดแร่

"ซื้อแร่" หมายความว่า การรับโอนแร่ด้วยประการใดจากบุคคลอื่น นอกจากการตกทอดทางมรดก

"ขายแร่" หมายความว่า การโอนแร่ด้วยประการใดไปยังบุคคลอื่น

"มีแร่ไว้ในครอบครอง"* หมายความว่า การซื้อแร่ การมีไว้ การ ยึดถือ หรือการรับไว้ด้วยประการใดซึ่งแร่ ทั้งนี้ ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น

 *[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

"เรือขุดหาแร่"* หมายความว่า เรือหรือแพซึ่งมีอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำเหมืองหรือการแต่งแร่สำหรับใช้ในเรือหรือแพนั้น

*[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

"เขตควบคุมแร่"* หมายความว่า เขตพื้นที่ซึ่งรัฐมนตรีประกาศเป็น เขตควบคุมแร่

*[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

"ผู้อำนวยการ"* หมายความว่า ผู้อำนวยการเขตควบคุมแร่ *[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

"โลหกรรม" หมายความว่า การถลุงแร่หรือการทำแร่ให้เป็นโลหะ ด้วยวิธีอื่นใด และหมายความรวมตลอดถึงการทำโลหะให้บริสุทธิ์ การผสมโลหะ การผลิตโลหะสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ โดยวิธีหลอม หล่อ รีด หรือวิธีอื่นใด

"เขตเหมืองแร่" หมายความว่า เขตพื้นที่ซึ่งกำหนดในประทานบัตร ชั่วคราว หรือประทานบัตร

"เขตแต่งแร่" หมายความว่า เขตพื้นที่ซึ่งระบุในใบอนุญาตแต่งแร่ "เขตโลหกรรม" หมายความว่า เขตพื้นที่ซึ่งระบุในใบอนุญาตประกอบ โลหกรรม

"สถานที่เก็บแร่" หมายความว่า สถานที่ซึ่งระบุในใบอนุญาตเก็บแร่

"สถานที่ฝากแร่"* หมายความว่า สถานที่ ซึ่งรัฐมนตรีกำหนดให้เป็น สถานที่ฝากแร่ตามมาตรา 103 ตรี"

*[นิยามนี้ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ. 2526]

"สถานที่พักแร่" หมายความว่า สถานที่ซึ่งระบุในใบอนุญาตขนแร่ให้ นำแร่ไปเก็บที่พักไว้ได้

"อาชญาบัตรสำรวจแร่" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อ สำรวจแร่ภายในท้องที่ซึ่งระบุในหนังสือสำคัญนั้น

"อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้ เพื่อผูกขาดสำรวจแร่ภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น

"อาชญาบัตรพิเศษ" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อผูกขาด สำรวจแร่เป็นกรณีพิเศษภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น

"ประทานบัตรชั่วคราว" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อ ทำเหมืองก่อนได้รับประทานบัตรภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น

"ประทานบัตร" หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อทำเหมือง ภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น

"ที่ว่าง" หมายความว่า ที่ซึ่งมิได้มีบุคคลใดมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิ ครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน และมิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอัน ราษฎร ใช้ประโยชน์ร่วมกัน และมิใช่ที่ดินในเขตที่มีการคุ้มครองหรือสงวนไว้ ตามกฎหมาย

"มูลดินทราย" หมายความรวมถึง เปลือกดิน ทราย กรวด หรือหิน ที่เกิดจากการทำเหมือง

"ตะกรัน" หมายความว่า สารประกอบหรือสารพลอยได้อื่นใดที่เกิด จากการประกอบโลหกรรม

"ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่" หมายความว่า ทรัพยากรธรณีอำเภอ หรือทรัพยากรธรณีจังหวัด แล้วแต่กรณี ถ้าในจังหวัดใดไม่มีทรัพยากรธรณีจังหวัด ให้หมายความว่าอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และ เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ *[มาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

มาตรา 5 การจัดตั้งสำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัดหรือสำนักงาน ทรัพยากรธรณีอำเภอโดยจะให้มีเขตอำนาจตลอดเขตใด ให้กำหนดโดย กฎกระทรวง ในการกำหนดเขตอำนาจของสำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัด จะกำหนดให้ตำบล หรืออำเภอใดรวมอยู่ในเขตอำนาจของสำนักงานทรัพยากร ธรณีจังหวัดหนึ่ง ก็ให้กระทำได้โดยมิต้องคำนึงว่าตำบลหรืออำเภอนั้นอยู่ในเขต จังหวัดเดียวกันหรือไม่ สำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัดแต่ละเขต ให้มีทรัพยากรธรณีจังหวัด คนหนึ่งเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชา ในกรณีที่สำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัดหนึ่งมีเขตอำนาจในจังหวัดอื่น รวมอยู่ด้วย ก็ให้ถือว่าทรัพยากรธรณีจังหวัดผู้ควบคุมบังคับบัญชาท้องที่ในจังหวัด อื่นที่มีเขตอำนาจนั้น เป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดในจังหวัดอื่นนั้นด้วย ในการกำหนดเขตอำนาจของสำนักงานทรัพยากรธรณีอำเภอ จะกำหนด ให้อำเภอหนึ่งหรือหลายอำเภอ หรือตำบลใดในอำเภออื่น รวมอยู่ในเขตอำนาจ ของสำนักงานทรัพยากรธรณีอำเภอนั้นก็ได้ สำนักงานทรัพยากรธรณีอำเภอแต่ละเขต ให้มีทรัพยากรธรณีอำเภอ คนหนึ่งเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชา และจะกำหนดให้ทรัพยากรธรณีอำเภอนั้นอยู่ใน บังคับบัญชาของทรัพยากรธรณีจังหวัดใดหรืออยู่ในบังคับบัญชาของอธิบดีก็ได้

มาตรา 6* คำขอต ามพระราชบัญญัตินี้ให้ทำตามแบบพิมพ์ที่กรมทรัพยากร ธรณีกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออาชญาบัตร ผูกขาดสำรวจแร่ อาชญาบัตรพิเศษ ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร และ ใบอนุญาต ตลอดจนการต่ออายุอาชญาบัตรพิเศษ ประทานบัตร ใบอนุญาตแต่งแร่ และใบอนุญาตประกอบโลหกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง ผู้ยื่นคำขอต้องเสียค่าคำขอและวางค่าธรรมเนียมล่วงหน้าพร้อมกับ การยื่นคำขอ และต้องออกค่าใช้จ่ายหรือวางเงินล่วงหน้าเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ในการจัดดำเนินการและการออกหรือต่ออายุอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ไว้ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ด้วย ถ้าได้มีการสั่งยกคำขอหรือไม่ได้รับอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทาน บัตร หรือใบอนุญาตด้วยประการใด ค่าใช้จ่ายสำหรับกิจการที่ยังไม่ได้ดำเนินการนั้น ให้คืนให้แก่ผู้ยื่นคำขอ แต่ถ้าดำเนินการไปแล้วเป็นบางส่วนให้คืนให้เฉพาะส่วนที่ ยังไม่ได้ดำเนินการ ค่าธรรมเนียมล่วงหน้าที่ผู้ยื่นคำขอวางไว้ ถ้าได้มีการสั่งยกหรือถอน คำขอนั้น ผู้ยื่นคำขอต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับกิจการที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ในอัตราหนึ่งในสี่ของเงินที่วางไว้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการสั่งยกคำขอโดยมิใช่ ความผิดของผู้ยื่นคำขอหรือผู้ยื่นคำขอตาย" *[มาตรา 6 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

มาตรา 6 ทวิ* เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดพื้นที่ใด ๆ ให้เป็นเขตสำหรับการ ดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ได้ ภายในเขตที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ผู้ใดจะยื่นคำขออาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่รัฐมนตรีเห็น สมควรให้ยื่นคำขอได้เป็นกรณีพิเศษโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

เมื่อหมดความจำเป็นที่จะใช้เขตพื้นที่เพื่อประโยชน์ดังกล่าวตาม วรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีประกาศยกเลิกในราชกิจจานุ เบกษา"

*[มาตรา 6 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516 และแก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

มาตรา 6 ตรี* พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่กรมทรัพยากรธรณีใน การกระทำเพื่อประโยชน์แก่การสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัย เกี่ยวกับแร่

*[มาตรา 6 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

มาตรา 6 จัตวา* เพื่อประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ รัฐมนตรี โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดพื้นที่ใด ที่มิใช่แหล่งต้นน้ำหรือป่าน้ำซับซึม ที่ได้ทำการสำรวจแล้วปรากฏว่ามีแหล่งแร่อุดม สมบูรณ์ และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงให้เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อออกประทานบัตร ชั่วคราว หรือประทานบัตรได้เป็นอับดับแรกก่อนการสงวนหวงห้าม หรือใช้ประโยชน์ อย่างอื่นในที่ดินในพื้นที่นั้น แต่ทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อมด้วย

*[มาตรา 6 จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

มาตรา 7* ถ้าอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือ ใบอนุญาตสูญหายหรือถูกทำลาย ให้ผู้ ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนต่อทรัพยากรธรณีประจำ ท้องที่ภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ทราบการสูญหายหรือการถูกทำลาย *[มาตรา 7 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

มาตรา 8* ถ้าผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือ ประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาต ประสงค์จะตั้งผู้ใดไว้เพื่อติดต่อกับพนักงาน เจ้าหน้าที่แทนตนผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตต้องทำหนังสือมอบอำนาจและจดทะเบียนไว้ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ การทำหนังสือมอบอำนาจและการจดทะเบียนให้เป็นไปตามแบบและ วิธีการที่อธิบดีกำหนด *[มาตรา 8 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

มาตรา 9* หนังสือหรือคำสั่งที่มีถึงบุคคลใดเพื่อปฏิบัติการตามพระราช บัญญัตินี้ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจส่งให้แก่บุคคลนั้นโดยตรง หรือส่งให้แก่

(1) ผู้รับมอบอำนาจตามมาตรา 8
(2) ผู้ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว ซึ่งอยู่ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือ สำนักทำการงานของบุคคลนั้น หรือ
(3) บุคคลนั้นโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ หรือสำนักทำการงานของบุคคลนั้น

ทั้งนี้ซึ่งได้จดแจ้งไว้ต่อทางราชการ เมื่อได้ส่งหนังสือหรือคำสั่งให้แก่บุคคลตาม (1) หรือ (2) หรือ โดยวิธีการตาม (3) ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รับหนังสือหรือคำสั่งนั้นแล้ว"

 *[มาตรา 9 แก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ พ.ศ. 2526]

มาตรา 9 ทวิ* เมื่อปรากฏในภายหลังว่าได้ออกอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตให้แก่ผู้ใดโดยคลาดเคลื่อน หรือโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ให้ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ อธิบดีหรือรัฐมนตรี ผู้ออกอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือ ใบอนุญาต แล้วแต่กรณี มีอำนาจเรียกอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตดังกล่าวมาแก้ไขให้ถูกต้อง หรือเพิกถอนอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตนั้นเสียได้

ในกรณีที่มีการแก้ไขหรือเพิกถอนอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตตามความในวรรคหนึ่ง ผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือ ประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตจะเรียกร้องค่าเสียหาย ใด ๆ จากการแก้ไขหรือเพิกถอนอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร หรือใบอนุญาตนั้นไม่ได้ *[มาตรา 9 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

มาตรา 9 ตรี* ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้เนื้อที่ในเขตอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรใดเพื่อประโยชน์แก่การอันเป็น สาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นของรัฐ ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจเรียกอาชญาบัตร ประทานบัตร ชั่วคราว หรือประทานบัตรนั้นมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ในเขตอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรได้ ในกรณีที่ได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ในเขตอาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรตามวรรคหนึ่ง ผู้ถืออาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว หรือประทานบัตรจะเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ มิได้ *[มาตรา 9 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

มาตรา 9 จัตวา* เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการทำเหมือง การแต่งแร่ การซื้อแร่ การขายแร่ หรือการมีแร่ไว้ในการครอบครอง เพื่อ ประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการลักลอบทำเหมืองหรือลักลอบส่งแร่ ออกนอกราชอาณาจักร หรือเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด รวมทั้งส่วนหนึ่งส่วนใดของน่านน้ำไทย เป็นเขต ควบคุมแร่ โดยจะกำหนดเป็นเขตควบคุมแร่สำหรับแร่ชนิดหนึ่งชนิดใดหรือ หลายชนิดก็ได้

เมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องมีเขตควบคุมแร่ตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรี ประกาศยกเลิกในราชกิจจานุเบกษา *[มาตรา 9 จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

มาตรา 9 เบญจ* ในเขตควบคุมแร่แต่ละเขตให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขต ประกอบด้วยผู้อำนวยการเป็น ประธ านกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีเขตอำนาจอยู่ในเขตควบคุมแร่ ผู้แทน กรมตำรวจ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนกรมอัยการ ผู้แทนกองทัพบก ผู้แทนกองทัพ เรือ เป็นกรรมการ และให้ผู้แทนกรมทรัพยากรธรณีเป็นกรรมการและเลขานุการ และทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ที่สำนักงานเขตควบคุมแร่ตั้งอยู่ เป็นกรรมการและ ผู้ช่วยเลขานุการ ในกรณีที่เขตควบคุมแร่ใดมีพื้นที่ครอบคลุมเกินหนึ่งจังหวัด ให้ส่วน ราชการตามวรรคหนึ่งแต่งตั้งผู้แทนได้เขตละไม่เกินสองคน และให้คณะกรรมการ แต่งตั้งผู้แทนกรมทรัพยากรธรณีที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการคนหนึ่ง เป็น เลขานุการ ในการแต่งตั้งผู้แทนส่วนราชการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้คำนึง ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ได้รับการแต่งตั้งในเขตพื้นที่ที่กำหนดเป็นเขต ควบคุมแร่เป็นสำคัญ องค์ประชุมและระเบียบการประชุมของคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ ประจำเขตให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตกำหนดโดย ความเห็นชอบของรัฐมนตรี *[มาตรา 9 เบญจ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

มาตรา 9 ฉ* ให้คณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตมีอำนาจให้ ความเห็นชอบในเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการตามมาตรา 9 อัฏฐ ตลอดจนให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำแก่ผู้อำนวยการในการปฏิบัติหน้าที่อื่นในเขต ควบคุมแร่ คณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการ เขตควบคุมแร่ประจำเขตมอบหมายได้ องค์ประชุมและระเบียบการประชุมของคณะอนุกรรมการให้เป็นไป ตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตควบคุม แร่ประจำเขต *[มาตรา 9 ฉ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

มาตรา 9 สัตต* ในเขตควบคุมแร่แต่ละเขต ให้รัฐมนตรีจัดตั้ง สำนักงานเขตควบคุมแร่ขึ้นโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้รัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อำนวยการคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ ตามที่กำหนดในมาตรา 9 อัฏฐ และมาตรา 9 นว เป็นผู้ควบคุมดูแลรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตควบคุมแร่ ในการนี้ จะให้มีรอง ผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการคนหนึ่งหรือหลายคนตามที่รัฐมนตรีแต่งตั้ง เมื่อได้ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตแล้ว เพื่อช่วย สั่งและปฏิบัติราชการตามที่ผู้อำนวยการมอบหมายก็ได้ ในกรณีที่ผู้อำนวยการไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รอง ผู้อำนวยการที่มีอาวุโสสูงตามลำดับเป็นผู้รักษาการแทน และให้มีอำนาจหน้าที่ เช่นเดียวกับผู้อำนวยการ

การแต่งตั้งผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และผู้ช่วยผู้อำนวยการ ตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและให้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา *[มาตรา 9 สัตต เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

มาตรา 9 อัฏฐ* ในเขตควบคุมแร่ ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตมีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรการ ในเรื่องดังต่อไปนี้

(1) เรือขุดหาแร่

(ก) กำหนดท้องที่ที่ห้ามมิให้ต่อหรือสร้างเรือขุดหาแร่ หรือ ประกอบหรือสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดของเรือขุดหาแร่
(ข) กำหนดท้องที่ที่ห้ามมิให้นำเรือขุดหาแร่เข้าไป เว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย
(ค) กำหนดท้องที่ที่ห้ามมิให้ต่อเติม แก้ไข หรือซ่อมแซมเรือ ขุดหาแร่ เว้นแต่เป็นเรือที่ได้ปฏิบัติตาม
(ฉ) แล้ว และเป็นการต่อเติม แก้ไข หรือซ่อมแซมเล็กน้อย ตามลักษณะและวิธีการที่ผู้อำนวยการกำหนด
(ง) กำหนดลักษณะ ชนิด และขนาดของเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์สำหรับใช้ในการทำเหมืองหรือแต่งแร่ ที่อนุญาตให้ใช้ หรือติดตั้งไว้ในเรือขุดหาแร่
(จ) กำหนดสภาพและคุณภาพของแร่รวมทั้งปริมาณสูงสุดของแร่ ที่จะเก็บหรือมีไว้ในครอบครองในเรือขุดหาแร่ โดยจะกำหนดให้แตกต่างกัน ตามขนาดและคุณภาพของเรือและเงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
(ฉ) กำหนดให้มีการจดแจ้งประเภท ขนาด และสมรรถนะ ของเรือขุดหาแร่ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนกำหนดให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองทำเครื่องหมายเพื่อแสดงประเภทเรือให้เป็นที่สังเกตเห็นได้ จากภายนอก ทั้งนี้ ตามวิ ธีการและหลักเกณฑ์ที่ผู้อำนวยการกำหนด
(ช) กำหนดเส้นทางการเดินเรือ ท่าจอดเรือ และท่าพักเรือ ของเรือขุดหาแร่

(2) เขตเหมืองแร่และเขตแต่งแร่
(ก) กำหนดประเภทและสภาพของเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์สำหรับใช้ในการทำเหมืองหรือในการแต่งแร่ที่จะ นำมาใช้ในเขตเหมืองแร่หรือในเขตแต่งแร่
(ข) กำหนดสภาพและคุณภาพของแร่รวมทั้งปริมาณสูงสุด ของแร่ที่จะเก็บหรือมีไว้ในครอบครองในเขตเหมืองแร่หรือในเขตแต่งแร่
(ค) กำหนดที่ตั้งหรือสภาพของอาคารหรือที่ซึ่งใช้ในการเก็บแร่ แต่งแร่ หรือมีแร่ไว้ในครอบครอง

(3) มาตรการอื่น ๆ

(ก) กำหนดเงื่อนไขและวิธีการในการขนแร่หรือเคลื่อนย้ายแร่ ทั้งทางบกและทางน้ำ กำหนดเส้นทางของยานพาหนะที่ใช้ในการขนแร่หรือ เคลื่อนย้ายแร่ ท่าจอดและท่าพักยานพาหนะ ตลอดจนเวลาและระยะเวลา ที่จะอนุญาตให้ทำการขนแร่หรือเคลื่อนย้ายแร่

(ข) กำหนดสภาพและคุณภาพของแร่รวมทั้งปริมาณสูงสุดของแร่ที่ผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตร ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้ได้รับหนังสืออนุญาต จะเก็บหรือมีไว้ในครอบครองตลอดจนเงื่อนไขหรือระยะเวลาที่บุคคลดังกล่าว จะเก็บหรือมีแร่ไว้ในครอบครอง

(ค) กำหนดให้ผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตร ผู้รับใบอนุญาต หรือผู้ได้รับหนังสืออนุญาต ทำบัญชีและหรือทำรายงานเกี่ยวกับปริมาณแร่ที่เก็บ หรือมีไว้ในครอบครอง ทั้งนี้ ตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ ผู้อำนวยการกำหนด

(ง) กำหนดสถานที่ตั้งหรือสภาพของอาคารหรือสถานที่ ที่ใช้ ในการเก็บแร่ พักแร่ หรือมีแร่ไว้ในครอบครอง ของผู้รับใบอนุญาตตั้งสถานที่ เก็บแร่ ผู้รับใบอนุญาตซื้อแร่หรือผู้รับใบอนุญาตมีแร่ไว้ในครอบครอง

(จ) กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองยานพาหนะที่ใช้ใน การขนแร่หรือเคลื่อนย้ายแร่ ต้องติดเครื่องหมายที่ผู้อำนวยการประกาศกำหนด ไว้ที่ยานพาหนะนั้น เพื่อแสดงให้บุคคลภายนอกเห็นได้ว่ายานพาหนะดังกล่าว กำลังใช้ในการขนแร่หรือเคลื่อนย้ายแร่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณ ฑ์และวิธีการที่ ผู้อำนวยการกำหนด การใช้อำนาจตามมาตรานี้ จะกำหนดโดยมีเงื่อนไขอย่างใด ๆ ก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร เมื่อมีการใช้อำนาจตามมาตรานี้ เงื่อนไขในการอนุญาตใด ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้อนุญาตไว้แล้วตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น ให้ยังคงใช้บังคับได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดตามมาตรานี้ เว้นแต่ ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขต จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

ข้อกำหนดตามมาตรานี้ ให้ทำเป็นประกาศและปิดไว้ที่ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ และสำนักงานทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ทุกแห่งที่อยู่ในเขต ควบคุมแร่ ก่อนวันใช้บังคับไม่น้อยกว่าสามวัน และถ้าคณะกรรมการเขตควบคุม แร่ประจำเขตเห็นสมควรจะให้ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำหน่าย ในท้องถิ่นตามระยะเวลาที่เห็นสมควรก็ได้ เว้นแต่ เป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขต จะให้ข้อกำหนดมีผลใช้บังคับทันทีที่ประกาศก็ได้

*[มาตรา 9 อัฏฐ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

มาตรา 9 นว* ในเขตควบคุมแร่ ให้ผู้อำนวยการและพนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการมอบหมายมีอำนาจดังต่อไปนี้

(1) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในเรือขุดหาแร่หรือในยานพาหนะที่อยู่ ในเขตควบคุมแร่หรือที่จะเข้ามาในเขตควบคุมแร่เพื่อตรวจค้นได้ทุกเวลา เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดหรือจะกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้

(2) สั่งเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือขุดหาแร่หรือยานพาหนะที่มีเหตุอัน ควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดหรือจะกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้หยุด จอด หรือนำเรือขุดหาแร่หรือยานพาหนะไปยังที่หนึ่งที่ใดเพื่อทำการ ตรวจค้น หรือให้ออกไปจากเขตควบคุมแร่

(3) มีหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือสั่งเป็นหนังสือให้ ผู้ประกอบธุรกิจที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเกี่ยวข้องกับธุรกิจแร่โดยมิชอบด้วย กฎหมาย ส่งบัญชีเอกสารหรือพยานหลักฐานอื่นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ ตามพระราชบัญญัตินี้

(4) สั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือขุดหาแร่หรือผู้ที่ฝ่าฝืน ข้อกำหนดตามมาตรา 9 อัฏฐ ปฏิบัติการตามกฎหมายหรือตามข้อกำหนดภายใน ระยะเวลาที่ผู้อำนวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ผู้อำนวยการมอบหมายกำหนด ถ้าเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือขุดหาแร่หรือผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามมาตรา 9 อัฏฐ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่สั่งการตาม (2) (3) หรือ (4) โดยไม่มีเหตุผลอัน สมควรหรือบุคคลดังกล่าวกระทำความผิดซ้ำอีกภายในระยะเวลาที่ผู้อำนวยการ กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขต ให้ผู้อำนวยการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งยึดหรืออายัดเรือขุดหาแร่ ส่วนใด ส่วนหนึ่งของเรือขุดหาแร่ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือแร่ ที่ใช้หรือเก็บไว้หรือมีไว้ในครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือสั่งยึด หรือ อายัดอาคาร สถานที่หรือยานพาหนะ อันเป็นเครื่องมือหรือเป็นสาเหตุแห่งการ กระทำความผิดในทันที ทั้งนี้ เว้นแต่ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการเขตควบคุมแร่ประจำเขตจะพิจารณาเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรที่จะ สั่งเป็นอย่างอื่น *[มาตรา 9 นว เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

มาตรา 10* ในกรณีที่ความผิดตามพร ะราชบัญญัตินี้ได้กระทำโดยตัวแทน หรือลูกจ้างซึ่งได้กระทำเพราะเหตุเป็นตัวแทนหรือลูกจ้าง หรือกระทำเพื่อ ประโยชน์ของผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือ

ผู้รับใบอนุญาต ไม่ว่าตัวแทนหรือลูกจ้างนั้นจะได้เป็นตัวแทนโดยทำหนังสือมอบ อำนาจ และจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือไม่ ให้ถือว่าผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาต เป็นตัวการใน การกระทำความผิดนั้น *[มาตรา 10 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

มาตรา 11* ในการสำรวจแร่หรือทำเหมือง ถ้าได้พบโบราณวัตถุ ซาก ดึกดำบรรพ์ หรือแร่พิเศษอันมีคุณค่าเกี่ยวกับการศึกษาในทางธรณีวิทยา นอกจาก จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บได้ซึ่งวัตถุนั้นแล้ว ผู้ถือ อาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือผู้ถือประทานบัตรจะต้องแจ้งการพบนั้น ต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่โดยพลัน *[มาตรา 11 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

มาตรา 12* ในเขตอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ เขตอาชญาบัตรพิเศษ หรือเขตเหมืองแร่ หรือในเขตที่ได้รับอนุญาตจัดตั้งสถานที่เพื่อเก็บขังน้ำขุ่นข้น หรือมูลดินทราย หรือในเขตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้กำหนดเขตเพื่อการดังกล่าวแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาตเข้าไปยึดถือครอบครอง ทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพพื้นที่หรือ ทรัพยากรในเขตนั้น เว้นแต่ผู้นั้นมีสิทธิทำเช่นนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย *[มาตรา 12 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

มาตรา 13* การฝ่าฝืนมาตรา 12 นอกจากเป็นการกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่นแล้ว ให้ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของ ผู้ถืออาชญาบัตร ผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว ผู้ถือประทานบัตร หรือผู้รับใบอนุญาต แล้วแต่กรณี *[มาตรา 11 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

มาตรา 14 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำหลักหมายเขตเหมืองแร่ หรือหมุดหลักฐ านการแผนที่ตามพระราชบัญญัตินี้ลงไว้ในที่ใด ห้ามมิให้ผู้ใดทำลาย ดัดแปลง เคลื่อนย้าย ถอน หรือทำให้หลุดซึ่งหลักหมายเขตเหมืองแร่หรือ หมุดหลักฐานการแผนที่นั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากทรัพยากรธรณีประจำ ท้องที่

มาตรา 15 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นเจ้าพนักงาน ตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา และในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดอาญา ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 15 ทวิ* ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหรืออายัดบรรดาแร่ ที่มีไว้เนื่องในการกระทำความผิด และเครื่องมือ เครื่องใช้ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใด ๆ ที่บุคคลได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผล ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการพิจารณา คดีได้จนกว่าจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นของผู้กระทำความผิดหรือของผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่า เป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ และเมื่อได้มีการฟ้องคดี ให้นำความในมาตรา 154 วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับ ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองมิได้ ร้องขอรับทรัพย์สินคืนภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันทราบหรือถือว่าได้ทราบ คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี ให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน ทั้งนี้ เว้นแต่ อธิบดีจะใช้อำนาจประกาศหาตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองตาม มาตรา 15 เบญจ *[มาตรา 15 ทวิ แก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

มาตรา 15 ตรี* ในกรณีทรัพย์สินที่ยึดไว้ตามมาตรา 15 ทวิ วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นของผู้กระทำความผิด หรือของผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความ ผิดให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยอนุมัติรัฐมนตรีคืนทรัพย์สินหรือเงิน แล้วแต่กรณี ให้แก่เจ้าของก่อนถึงกำหนดตามมาตรา 15 ทวิ วรรคหนึ่ง ได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อทรัพย์สินนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณา คดีที่เป็นเหตุให้ทรัพย์สิน นั้นถูกยึด หรือ

(2) เมื่อผู้กระทำความผิดหรือผู้มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นผู้กระทำความผิด ได้ทรัพย์สินนั้นมาจากผู้เป็นเจ้าของโดยการกระทำความผิดทางอาญา *[มาตรา 15 ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522]

มาตรา 15 จัตวา* ถ้าทรัพย์สินและของกลางที่ยึดหรืออายัดไว้ตาม มาตรา 15 ทวิ หรือมาตรา 15 เบญจ จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหาย หรือ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะเกินค่าของทรัพย์สิน อธิบดีอาจดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินหรือของกลางก่อนครบกำหนด เวลาตามมาตรา 15 ทวิ วรรคสอง หรือมาตรา 15 เบญจ วรรคสอง แล้วแต่กรณี เมื่อได้เงินเป็นสุทธิเท่าใดให้ยึดไว้แทนทรัพย์สินหรือของกลางนั้น หรือ (2) ถ้าการนำทรัพย์สินหรือของกลางที่ยึดหรืออายัดไว้ไปใช้ประโยชน์ จะเป็นการบรรเทาความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาก็ให้นำทรัพย์สิน หรือของกลางนั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการได้ตามระเบียบที่อธิบดี กำหนด ก่อนที่จะสั่งดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันที่มีจำ หน่ายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกัน เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายทราบ เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับทรัพย์สินหรือของกลาง ดังกล่าวไปเก็บรักษาด้วยตนเองได้ภายในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันแรกที่ประกาศในหนังสือพิมพ์ และ

ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองทำสัญญาไว้กับกรมทรัพยากรธรณีว่า จะเก็บรักษา ทรัพย์สินหรือของกลางดังกล่าวโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ รวมทั้ง จัดหาประกันหรือหลักประกันให้แก่ทางราชการ ตามเงื่อนไขที่กำหนดใน กฎกระทรวง ก็ให้อธิบดีมอบทรัพย์สินหรือของกลางดังกล่าวให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองเป็นผู้เก็บรักษาไว้ แต่ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองนำ ทรัพย์สินหรือของกลางดังกล่าวไปใช้หรือแสวงหาประโยชน์ ไม่ว่าด้วย ประการใดๆ ในกรณีที่ไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองมาขอรับทรัพย์สินหรือ ของกลางไปเก็บรักษาหรือปรากฏเจ้าของหรือผู้ครอบครองแต่บุคคลดังกล่าว ไม่ยอมทำสัญญาต ามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงให้อธิบดีสั่งดำเนินการ ตามวรรคหนึ่งได้ หรือในกรณีที่มีการทำสัญญา แต่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ปฏิบัติผิดสัญญาหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา ให้อธิบดีเรียก ทรัพย์สินหรือของกลางดังกล่าวคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง และมีอำนาจ สั่งให้ดำเนินการบังคับตามสัญญาประกันและดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้ หลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (1) และ (2) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และในกรณีเช่นนี้ เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองจะฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าตอบแทนใด ๆ จากทางราชการ อันเนื่องมาจากการดำเนินการ หรือการนำทรัพย์สินหรือของกลางที่ยึดหรือ อายัดไปใช้ประโยชน์ของทางราชการดังกล่าวมิได้ *[มาตรา 15 จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

มาตรา 15 เบญจ* ในกรณีที่มีการยึดของกลางที่ต้องสงสัยในการ กระทำความผิดโดยไม่ปรากฏตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ผู้ยึดส่งมอบของกลางให้แก่ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่หรือเจ้าหน้าที่ ที่อธิบดีกำหนด เพื่อเก็บรักษาไว้ และให้อธิบดีหรือผู้ซ ึ่งอธิบดีมอบหมายมี อำนาจประกาศหาตัวเจ้าของหรือผู้ครอบครองเพื่อให้บุคคลดังกล่าวไปแสดง หลักฐานเพื่อขอรับของกลางคืน

การประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ปิดประกาศไว้ที่สำนักงานทรัพยากร ธรณีประจำท้องที่ที่มีการยึดของกลางนั้น และให้ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวัน ที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นอย่างน้อยสองวันติดต่อกัน เจ้าของหรือผู้ครอบครอง มีสิทธิที่จะไปแสดงตัวต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่หรือเจ้าหน้าที่ที่อธิบดี ระบุไว้ในประกาศ เพื่อขอรับของกลางคืนภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรก ที่มีประกาศในหนังสือพิมพ์ ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดแสดงตัวเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองเพื่อขอรับ ของกลางคืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ของกลางนั้นตกเป็นของ แผ่นดิน แต่ถ้ามีบุคคลใดแสดงตัวเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองและขอรับ ของกลางคืนภายในกำหนดเวลา ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายดำเนินการ ตามกฎหมายต่อไป ในกรณีที่ปรากฏว่า ผู้ที่แสดงตัวเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองตาม วรรคหนึ่งเป็นบุคคลที่พนักงานอัยการได้ พิจารณาแล้วและมีคำสั่งเด็ดขาด ไม่ฟ้องคดี หรือเป็นบุคคลที่ปรากฏหลักฐานในขณะสอบสวนแล้วว่ามิใช่เป็น ผู้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดหรือมิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ให้ อธิบดีมีหนังสือแจ้งให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลเพื่อ ขอรับของกลางคืน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากอธิบดี หาก มิได้ใช้สิทธิฟ้องร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าบุคคลนั้น มิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินนั้น *[มาตรา 15 เบญจ เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528]

มาตรา 16 พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่กำหนด ในกฎกระทรวง และในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องแสดงบัตร ประจำตัวเมื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องร้องขอ

มาตรา 17* ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ และมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวง

(1) กำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
(2) กำหนดแบบพิมพ์อาชญาบัตร ประทานบัตรชั่วคราว ประทานบัตร และใบอนุญาต
(3) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการสำรวจแร่ตามอาชญาบัตร การอนุรักษ์แร่ และการทำเหมือง (3 ทวิ)*กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตให้ ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมืองและเลิกรับช่วงการทำเหมือง *[(3 ทวิ) เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522] (3 ตรี)* กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้ได้มา ซึ่งน้ำเกลือใต้ดินโดยการขุดเจาะน้ำเกลือใต้ดินตลอดถึงการทำเกลือจากน้ำเกลือ ใต้ดิน *[(3 ตรี) เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534]

(4) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการซื้อแร่ การขายแร่ การ เก็บแร่ การครอบครองแร่ และการขนแร่

(5) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแต่งแร่ การประกอบ โลหกรรม และการนำแร่เข้าหรือการส่งแร่ออกนอกราชอาณาจักร

(6) กำหนดวิธีการให้ความคุ้มครองแก่คนงานและความปลอดภัยแก่ บุคคลภายนอก

(7) กำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระท รวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ *[มาตรา 17 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2516]

« ย้อนกลับ | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย