ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
เป็นปีที่ 52 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการ ขนส่งมวลชน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและ ยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหา อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวล พ.ศ. 2540"

มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2540/72ก/1/16 พฤศจิกายน 2540]

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้

"กิจการขนส่งมวลชน" หมายความว่า การจัดสร้าง ขยาย บูรณะ ปรับปรุง ซ่อมแซม และบำรุงรักษาระบบขนส่งมวลชน การให้บริการหรือการอำนวยความสะดวกแก่สาธารณชนผู้ใช้ หรือจะใช้ระบบขนส่งมวลชน และการดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการดังกล่าว

"ระบบขนส่งมวลชน" หมายความว่า รถขนส่งมวลชน ทางรถขนส่งมวลชน สถานี รถขนส่งมวลชน ที่จอดรถขนส่งมวลชน ศูนย์ซ่อมบำรุง โรงเก็บของการเดินรถขนส่งมวลชน การจัด ให้มีสถานที่จอดยานพาหนะของผู้โดยสาร ระบบพลังงาน ระบบควบคุม ระบบสัญญาณ ระบบ จัดจำหน่ายและเก็บค่าโดยสาร ระบบความปลอดภัย ระบบระบายอากาศ ระบบระบายน้ำ และระบบ สื่อสารที่ใช้ในกิจการขนส่งมวลชน และให้หมายความรวมถึงอาคารและอุปกรณ์ของระบบดังกล่าว ด้วย

"รถขนส่งมวลชน" หมายความว่า รถขนส่งผู้โดยสารได้จำนวนมากที่พ่วงกันเป็น ขบวนและขับเคลื่อนไปตามทางรถขนส่งมวลชน แต่ไม่รวมถึงรถขนส่งมวลชนบางเส้นทาง หรือ บางประเภทที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

"ทางรถขนส่งมวลชน" หมายความว่า รางหรือทางที่จัดสร้างขึ้นโดยเฉพาะสำหรับ รถขนส่งมวลชนไม่ว่าจะจัดสร้างอยู่บน เหนือ หรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ หรือผ่านไปในอาคารหรือ สิ่งปลูกสร้างใด ๆ ก็ตาม

"ภาระในอสังหาริมทรัพย์" หมายความว่า ภาระที่ก่อขึ้นในอสังหาริมทรัพย์อันเป็น เหตุให้รัฐได้ใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นเพื่อกิจการขนส่งมวลชน

"เงินค่าทดแทน" หมายความว่า เงินค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์และให้ หมายความรวมถึงเงินค่าทดแทนอื่นด้วย

"หน่วยงาน" หมายความว่า ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณ ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ บรรดาที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับ กิจการขนส่งมวลชน

"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า หัวหน้าหน่วยงาน และผู้ซึ่งหัวหน้าหน่วยงาน ที่ดำเนินการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 4 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออก กฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

มาตรา 5 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็น เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

หมวด 1
การจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน
____________

มาตรา 6 ในกรณีที่หน่วยงานใดมีความจำเป็นต้องใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชนโดยไม่จำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็น อย่างอื่นให้ดำเนินการตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แต่ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหา ริมทรัพย์ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

มาตรา 7 ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชนโดยการจัดสร้าง ขยาย บูรณะ หรือ ปรับปรุงอย่างใหญ่ ซึ่งระบบขนส่งมวลชน ให้หน่วยงานดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(1) จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

(2) จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อระบบการจราจรและผลที่จะได้รับจาก การดำเนินกิจการ สำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบดังกล่าว ตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องเสนอพร้อมกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ นั้นให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

(3) จัดทำแผนดำเนินการ พร้อมทั้งแผนที่โดยสังเขปกำหนดเขตที่จะจัดสร้าง ขยาย บูรณะ หรือปรับปรุงอย่างใหญ่ ให้หน่วยงานเสนอรายงานและแผนดำเนินการตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการจัด ระบบการจราจรทางบกตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกพิจารณาเพื่อ เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

มาตรา 8 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชนจะตราพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการก็ได้ ในพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการต้องระบุ

(1) ความประสงค์ของการตราพระราชกฤษฎีกา
(2) หน่วยงานที่จะดำเนินการ
(3) กำหนดเขตที่ดินเท่าที่จำเป็นในบริเวณที่ที่จะดำเนินการ ให้มีแผนที่หรือแผนผังแสดงแนวเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการแนบท้าย พระราชกฤษฎีกา และให้ถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระราชกฤษฎีกานั้น

พระราชกฤษฎีกาเช่นว่านี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนดสองปี หรือตามกำหนดเวลา ที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกานั้น แต่ต้องไม่เกินสี่ปี แล้วแต่จะเห็นว่าจำเป็นเพื่อทำการสำรวจที่ดิน ที่จะดำเนินการนั้น

มาตรา 9 เมื่อพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 มีผลใช้บังคับแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ปิดประกาศสำเนาแห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวพร้อมทั้งแผนที่ หรือแผนผังท้ายพระราชกฤษฎีกาไว้ โดยเปิดเผย ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้

(1) ที่ทำการของหน่วยงานที่ดำเนินการ

(2) ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขต และที่ทำการแขวง หรือศาลากลาง จังหวัด ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนัน และที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน แห่งท้องที่ที่อสังหา ริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี

(3) สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร และสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครสาขา หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา และสำนักงานที่ดินอำเภอ แห่งท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี

มาตรา 10 ภายในกำหนดอายุแห่งพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพลักษณะและการเข้าใช้ ประโยชน์บน เหนือ หรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ ที่จะก่อภาระในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีการเวนคืน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน เพื่อการวางแผนหรือออกแบบกิจการขนส่ง มวลชน เพื่อประโยชน์ในการสำรวจตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการ ภายในแนวเขตที่ดินตามแผนที่หรือแผนผังท้ายพระราชกฤษฎีกา ดังต่อไปนี้

(1) เข้าไปตรวจตรา เข้าไปใช้สอย หรือเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์เป็นการ ชั่วคราวได้ตามความจำเป็น

(2) ขุด เจาะ ตัดฟันต้นไม้ หรือรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มิใช่โรงเรือนหรือที่อยู่อาศัย ของบุคคลใด ๆ หรือดำเนินการอื่นใดเท่าที่จำเป็นในอสังหาริมทรัพย์ในการนี้ให้มีอำนาจทำลายสิ่ง กีดขวางหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของได้ตามความจำเป็น และเก็บหิน ดิน น้ำ หรือสิ่งต่าง ๆ อันจำเป็นแก่การ สำรวจเพื่อนำไปใช้เป็นตัวอย่างในปริมาณพอสมควร

(3) มีหนังสือเรียกให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นำหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดิน หรือสำเนาหนังสือดังกล่าวมาแสดง หรือให้ข้อเท็จจริงใด ๆ เกี่ยวกับสภาพของอสังหาริมทรัพย์ ทรัพยสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิอื่นอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของผู้นั้น

ในการดำเนินการตาม (1) หรือ (2) ให้ผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ ดำเนินการตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่มอบหมาย และถ้าการดำเนินการใดต้องกระทำในโรงเรือนหรือ ที่อยู่อาศัยของบุคคล หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่ยินยอมจะต้องมีเจ้าพนักงานตำรวจแห่งท้องที่เข้าไปด้วยเพื่อเป็นพยาน และจะต้องกระทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ก่อนการดำเนินการตาม (1) หรือ (2) พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์ทราบถึงกิจกรรมที่จะต้องกระทำและความ จำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้นั้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เว้นแต่ในกรณีที่ไม่อาจติดต่อกับ เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์ได้ ให้ประกาศให้เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทราบ โดยทำเป็นหนังสือปิดไว้ ณ ที่ที่ อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ และ ณ สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการกำนัน และ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน แห่งท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ ทั้งนี้ ให้แจ้งกำหนดวัน เวลา และการที่จะ กระทำนั้นไว้ด้วย และให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น ได้รับแจ้งเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาสิบห้าวันนับแต่วันประกาศ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรานี้ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวซึ่งออกโดยหน่วยงานที่ดำเนินการต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง ถ้าการปฏิบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรานี้ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหา ริมทรัพย์หรือผู้ทรงสิทธิอื่นมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากหน่วยงาน ที่ดำเนินการนั้น

มาตรา 11 เมื่อพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 มีผลใช้บังคับแล้ว ให้หน่วยงานที่ ดำเนินการมีอำนาจใช้ที่ดินดังต่อไปนี้ในการดำเนินกิจการขนส่งมวลชนของหน่วยงานที่ดำเนินการได้ (

1) ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแต่พลเมืองเลิก ใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือได้เปลี่ยนแปลงสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และ มิได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใด

(2) ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และพลเมือง ยังใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่ แต่ได้มีการจัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทน โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

(3) ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่สงวนหรือหวงห้ามไว้เพื่อสาธารณ ประโยชน์หรือเพื่อจะให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทางราชการไม่ประสงค์จะสงวน หรือ หวงห้ามไว้อีกต่อไป

(4) ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดยเฉพาะหรือที่ดินที่ได้สงวนหรือหวงห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ และคณะรัฐมนตรี ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว

(5) ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดิน ซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดิน

(6) ที่ดินขององค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือตามกฎหมายเฉพาะ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว

(7) ที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนสมบัติกลาง เมื่อมหาเถรสมาคมไม่ขัดข้อง และ ได้มีการจ่ายค่าผาติกรรมแล้ว

มาตรา 12 ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ให้ถือว่าพระราช กฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการตามมาตรา 8 เป็นพระราชกฤษฎีกากำหนดเขต ที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

มาตรา 13 ในกรณีที่ไม่มีความจำเป็นต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่มีอำนาจทำความตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์ตามความจำเป็นของการดำเนินการและกำหนดเงิน ค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว แต่จะตกลงกำหนดเงินค่าทดแทนเกินกว่าเงินค่าทดแทน ที่คณะกรรมการตามมาตรา 25 กำหนดไม่ได้ ในกรณีที่มีการตกลงกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์และเงินค่าทดแทนกัน ได้ตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครอง โดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญากำหนดภาระใน อสังหาริมทรัพย์

มาตรา 14 ในกรณีที่สามารถตกลงกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์ได้ แต่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องเงินค่าทดแทน หากเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอสังหาริมทรัพย์จะขอรับเงินค่าทดแทนที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดไว้ตามมาตรา 13 ไปก่อน โดยสงวนสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 36 ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการทำสัญญา กำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์โดยมีเงื่อนไขดังกล่าว แล้วจ่ายเงินค่าทดแทนไปก่อนได้

มาตรา 15 ในกรณีที่ดินที่จะกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 13 มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวล กฎหมายที่ดินทราบการทำสัญญากำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์และให้ดำเนินการจดทะเบียนเพื่อ กำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์ในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ในการนี้ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม ตามประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อประโยชน์ในการจดทะเบียน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มีอำนาจเรียกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินจากผู้ยึดถือไว้ได้

มาตรา 16 ในกรณีที่ดินที่จะกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 13 ไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ให้หน่วยงานที่ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น คณะหนึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการเขต หรือนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี แห่งท้องที่ซึ่งที่ดินดังกล่าวตั้งอยู่ พนักงานที่ดินอำเภอหรือพนักงานที่ดินกิ่งอำเภอ ผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ซึ่งที่ดินดังกล่าวตั้งอยู่ และผู้แทนของหน่วยงานที่ดำเนินการเพื่อดำเนินการ สอบสวนให้ทราบถึงผู้มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว เมื่อทราบถึงผู้มีสิทธิในที่ดินแล้วจึงให้ดำเนินการ จ่ายเงินค่าทดแทนต่อไป ในการสอบสวนเพื่อทราบถึงผู้มีสิทธิในที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินและการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาใช้บังคับ โดยอนุโลม

มาตรา 17 เมื่อได้จดทะเบียนกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์แล้ว ให้อสังหาริมทรัพย์นั้นตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีกำหนดเวลานับแต่วันที่ จดทะเบียนเป็นต้นไป เว้นแต่จะได้จดทะเบียนกำหนดเวลาเป็นอย่างอื่น เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะทำการใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้การใช้ประโยชน์ของรัฐ ตามภาระในอสังหาริมทรัพย์ลดลงหรือเสื่อมความสะดวกไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จากพนักงานเจ้าหน้าที่ และในการอนุญาตนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่จะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดด้วยหรือไม่ ก็ได้ การจำหน่ายหรือแบ่งแยกอสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ภายใต้ภาระในอสังหาริมทรัพย์ ไม่เป็นเหตุให้ภาระในอสังหาริมทรัพย์นั้นสิ้นสุดลง

มาตรา 18 ภาระในอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้ว หากมิได้ใช้ตาม วัตถุประสงค์ภายในสิบปี เจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์ นั้นได้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอให้จดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์ และ การเรียกคืนค่าทดแทนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นำบทบัญญัติมาตรา 15 มาใช้บังคับกับการจดทะเบียนเลิกภาระในอสังหาริมทรัพย์ โดยอนุโลม

 | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย