ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2527
เป็นปีที่ 39 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูต จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิและ ความคุ้มกันทางทูต พ.ศ.2527"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้รัฐผู้ส่งคณะผู้แทน คณะผู้แทน หัวหน้าคณะผู้แทน บุคคลใน คณะผู้แทนบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทน บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูต ตัวแทนทางทูต บุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการ และฝ่ายวิชาการ บุคคลใน คณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการ สมาชิกในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน และคนรับใช้ ส่วนตัว รวมตลอดถึงสถานที่ ทรัพย์สิน และบรรณสารของคณะผู้แทนของบุคคลใน คณะผู้แทน หรือของสมาชิกในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทน ตามที่ระบุไว้ใน อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ซึ่งทำเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2504 ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ได้รับเอกสิทธิและความคุ้มกันทางตามที่กำหนด ไว้ในอนุสัญญาดังกล่าว

มาตรา 4 เอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูตตามมาตรา 3 อาจถูกเพิกถอน หรือถูกกำกัดเสียทั้งหมดหรือบางส่วนได้ตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ ตามประเพณี ปฏิบัติทางการทูตหรือตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี

______________________________

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูต ซึ่งทำเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2504 เพื่อให้สอดคล้องกับประเพณีปฏิบัติ ในนานาอารยประเทศ ในการนี้ จะต้องมีกฎหมายเพื่ออนุวัติการให้เป็นไป ตามอนุสัญญา ฯ ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย