ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ การชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485

ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480
และวันที่ 16 ธันวาคม พุทธศักราช 2484
อาทิตย์ ทิพอาภา
ปรีดี พนมยงค์
ตราไว้ ณ วันที่ 1 กันยายน พุทธศักราช 2485
เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรส่งเสริมและควบคุมการ ชลประทานหลวงให้ดำเนินไปด้วยดี จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้

ข้อความเบื้องต้น
_______

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการ ชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485"

มาตรา 2* ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2485/62/1676/22 กันยายน 2485]

มาตรา 3 ห้ามมิให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติรักษาคลอง ร.ศ.121 มาใช้สำหรับทางน้ำชลประทานตามความในพระราชบัญญัตินี้ ให้ยกเลิกบรรดากฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติ ไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

"การชลประทาน"* หมายความว่า กิจการที่กรมชลประทานจัดทำขึ้น เพื่อให้ได้มา ซึ่งน้ำหรือเพื่อกัก เก็บ รักษา ควบคุม ส่ง ระบายหรือแบ่งน้ำ เพื่อเกษตรกรรม การพลังงาน การสาธารณูปโภค หรือการอุตสาหกรรม และ หมายความรวมถึงการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ กับรวมถึงการคมนาคม ทางน้ำซึ่งอยู่ในเขตชลประทานด้วย"

*[บทนิยาม "การชลประทาน" แก้ไขโดย พระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2518]

"ทางน้ำชลประทาน" หมายความว่า ทางน้ำที่รัฐมนตรีได้ประกาศ ตามความในมาตรา 5 ว่าเป็นทางน้ำชลประ ทาน "เขตชลประทาน" หมายความว่า เขตที่ดินที่ทำการเพาะปลูก ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการชลประทาน

"เขตงาน" หมายความว่า เขตที่ดินที่ใช้ในการสร้างและการบำรุง รักษาการชลประทานตามที่เจ้าพนักงานได้แสดงแนวเขตไว้

"ประตูน้ำ" หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นในทางน้ำเพื่อให้เรือแพ ผ่านทางน้ำที่มีระดับต่างกันได้

"ทำนบ" หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นในทางน้ำเพื่อกั้นไม่ให้น้ำไหล ผ่านหรือข้ามไป

"ฝาย" หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อทดน้ำในทางน้ำซึ่งจะส่ง เข้าสู่เขตชลประทาน โดยให้น้ำที่เหลือจากความต้องการท้นขึ้นแล้วไหล ข้ามไปได้

"เขื่อนระบาย" หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อทดหรือกักน้ำ ในทางน้ำอันเป็นที่มาแห่งน้ำซึ่งจะส่งเข้าสู่เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้

"ประตูระบาย" หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นในทางน้ำเพื่อทด กัก กั้น หรือระบายน้ำ ณ ที่อื่นอันมิใช่ที่มาแห่งน้ำซึ่งจะส่งเข้าสู่เขตชลประทาน โดยมีช่องปิดเปิดได้

"ท่อเชื่อม" หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อให้น้ำไหลลอดหรือ ข้ามสิ่งกีดขวาง

"สะพานทางน้ำ" หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อให้น้ำไหลข้าม ทางน้ำหรือที่ต่ำ

"ปูม" หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อบังคับน้ำให้ไหลผ่านจาก ทางน้ำในระดับหนึ่งตกไปสู่ทางน้ำอีกระดับหนึ่ง

"คันคลอง" หมายความว่า มูนดินที่ถมขึ้นเป็นคันยาวไปตามแนว คลอง

"ชานคลอง" หมายความว่า พื้นที่ระหว่างขอบตลิ่งกับเชิงคันคลอง

"พนัง" หมายความว่า สิ่งที่สร้างขึ้นเป็นคันยาวไปตามพื้นดิน เพื่อป้องกันอุทกภัย

"เจ้าพนักงาน" หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการชลประทาน และหมายความรวมถึงบุคคลซึ่ง อธิบดีได้แต่งตั้งตามความในพระราชบัญญัตินี้ด้วย

"นายช่างชลประทาน" หมายความว่า เจ้าพนักงานผู้เป็นหัวหน้า ควบคุมการก่อสร้างหรือการบำรุงรักษาการชลประทาน

"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมชลประทาน

"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนต รีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

| หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย