ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ การชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485

หน้า 2

หมวด 1
บททั่วไป
_____

มาตรา 5 เพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้ ทางน้ำชลประทาน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

ประเภท 1 ทางน้ำที่ใช้ในการส่ง ระบาย กัก หรือกั้นน้ำเพื่อการ ชลประทาน
ประเภท 2 ทางน้ำที่ใช้ในการคมนาคมแต่มีการชลประทานร่วม อยู่ด้วย เฉพาะภายในเขตที่ได้รับประโยชน์จากการชลประทาน
ประเภท 3 ทางน้ำที่สงวนไว้ใช้ในการชลประทาน
ประเภท 4 ทางน้ำอันเป็นอุปกรณ์แก่การชลประทาน ให้รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าทางน้ำใดเป็นทางน้ำ ชลประทาน และเป็นประเภทใด

มาตรา 6 นายช่างชลประทานมีอำนาจใช้พื้นที่ดินที่ปราศจาก สิ่งปลูกสร้างซึ่งอยู่ในเขตการชลประทานได้เป็นครั้งคราวตามระยะเวลาที่ จำเป็นแก่การชลประทาน โดยแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ที่ดินนั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน แต่ถ้ามีการเสียหายเกิดขึ้นต้อง ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

มาตรา 7 ในกรณีฉุกเฉินเพื่อป้องกันอันตรายอันอาจเกิดแก่การ ชลประทาน นายช่างชลประทานมีอำนาจที่จะใช้ที่ดินหรือสิ่งของของบุคคล ใด ๆ ในที่ใกล้เคียงหรือในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายได้เท่าที่จำเป็น แต่ถ้า มีการเสียหายเกิดขึ้นต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

มาตรา 8 รัฐมนตรีมีอำนาจเรียกเก็บค่าชลประทานจากเจ้าของ หรือผู้ครอบครองที่ดินในเขตชลประทานหรือจากผู้ใช้น้ำจากทางน้ำชลประทาน ไม่ว่าผู้ใช้น้ำจะอยู่ในหรือนอกเขตชลประทานโดยออกเป็นกฎกระทรวงกำหนด (

1) ทางน้ำชลประทานแต่ละสายหรือแต่ละเขตที่จะเรียกเก็บ ค่าชลประทานโดยแสดงแผนที่แนวเขต

(2) เขตและท้องที่ซึ่งเป็นเขตชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน โดยแสดงแผนที่แนวเขต

(3) อัตราค่าชลประทานที่จะเรียกเก็บจากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง ที่ดินในเขตชลประทานหรือจากผู้ใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรมนอกเขตชลประทาน

(4) อัตราค่าชลประทานที่จะเรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำเพื่อกิจการโรงงาน การประปา หรือกิจการอื่นในหรือนอกเขตชลประทาน

(5) หลักเกณฑ์ ระเบียบและวิธีการในการจัดเก็บหรือชำระค่ า ชลประทานตลอดจนการยกเว้น ลดหย่อน หรือวิธีการผ่อนชำระค่าชลประทาน อัตราค่าชลประทานที่จะเรียกเก็บจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน ในเขตชลประทาน หรือจากผู้ใช้น้ำเพื่อเกษตรกรรมนอกเขตชลประทาน ให้ เรียกเก็บได้ไม่เกินไร่ละห้าบาทต่อปี อัตราค่าชลประทานสำหรับการใช้น้ำเพื่อกิจการโรงงาน การประปา หรือกิจการอื่น ให้เรียกเก็บได้ไม่เกินลูกบาศก์เมตรละห้าสิบสตางค์

*[มาตรา 8 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2518]

มาตรา 8 ทวิ* ให้ตั้งทุนหมุนเวียนขึ้นในกรมชลประทานเรียกว่า ทุนหมุนเวียนเพื่อการชลประทาน

ค่าชลประทานที่เก็บได้ตามมาตรา 8 ให้นำส่งเข้าบัญชีทุนหมุนเวียน เพื่อการชลประทาน โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นเงินรายได้แผ่นดิน การใช้จ่ายเงินของทุนหมุนเวียนเพื่อการชลประทาน ให้กระทำได้ เฉพาะการชลประทานตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยความเห็นชอบจาก กระทรวงการคลัง ภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี ให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษ ตรและสหกรณ์ ประกาศรายงานการรับจ่ายเงินของทุน หมุนเวียนเพื่อการชลประทานในราชกิจจานุเบกษา รายงานการรับจ่ายเงินตามวรรคสี่ เมื่อคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอรัฐสภาทราบ *[มาตรา 8 ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2518]

มาตรา 9 เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการชลประทาน ถ้าไม่ สามารถจะทำได้โดยวิธีอื่น ให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ห่างทางน้ำหรือแหล่งน้ำใด มีสิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินของผู้อื่นได้ ในเมื่อนายช่างชลประทาน ข้าหลวง ประจำจังหวัด หรือนายอำเภอได้อนุญาตและกำหนดให้โดยกว้างรวมทั้งที่ทิ้งดิน ด้วยไม่เกินสิบเมตร แต่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของและผู้ครอบครอง ที่ดินที่ทางน้ำนั้นผ่าน ในการที่จะให้อนุญาตและกำหนดทางน้ำนั้น ให้คำนึงถึงประโยชน์ ของเจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินที่ทางน้ำผ่าน และให้กำหนดให้ทำตรงที่ ที่จะเสียหายแก่เจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินนั้นน้อยที่สุด

หมวด 2
การก่อสร้าง
_____

มาตรา 10 เจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะเข้าไปในที่ดินของบุคคลใด ๆ เพื่อทำงานสำรวจตรวจสอบอันเกี่ยวกับการชลประทานได้ ในเมื่อได้แจ้งเป็น หนังสือให้ทราบล่วงหน้าตามสมควร แต่ถ้ามีการเสียหายเกิดขึ้น ต้องชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน

มาตรา 10 ทวิ* [เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 และยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530]

มาตรา 11* เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาตามวรรคหนึ่ง โดยมิได้มีการเวนคืน ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม และค่าอากรแสตมป์

*[มาตรา 11 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530]

มาตรา 12* [แก้ไขโดย ปว.146 และยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530]

มาตรา 12 ทวิ* [เพิ่มเติมโดย ปว.146 ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530]

« ย้อนกลับ | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย