ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2541

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2541
เป็นปีที่ 53 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียง ประชามติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2541"

มาตรา 2* พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วัน ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

*[รก.2541/102ก/1/31 ธันวาคม 2541]

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้

"ผู้มีสิทธิออกเสียง" หมายความว่า ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติตามบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

"หน่วยออกเสียง" หมายความว่า ท้องถิ่นที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนออกเสียง ประชามติ

"ที่ออกเสียง" หมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนออกเสียง ประชามติ

"จังหวัด" หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร

"อำเภอ" หมายความรวมถึง กิ่งอำเภอและเขต

"เทศบาล" หมายความรวมถึง เมืองพัทยา

มาตรา 4 ในกรณีที่จะดำเนินการจัดทำประชามติตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้มีการออกประกาศของนายกรัฐมนตรีในราชกิจจานุเบกษา โดยจะต้องมีรายละเอียด ดังนี้

(1) กำหนดวันออกเสียงประชามติ
(2) กำหนดเรื่องในการจัดทำประชามติ ซึ่งจะต้องมีข้อความชัดเจนเพียงพอ ที่จะขอคำปรึกษาจากผู้มีสิทธิออกเสียงว่าจะลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องที่จัดทำ ประชามติ

มาตรา 5 เมื่อมีประกาศของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 4 ให้คณะกรรมการ การเลือกตั้งจัดให้มีการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระและเท่าเทียมกันทั้งผู้ที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบ ในเรื่องที่จัดทำประชามติรวมทั้งจัดให้มีการเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับเรื่องที่จัดทำประชามติเพื่อให้ ผู้มีสิทธิออกเสียงทราบ ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

มาตรา 6 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงของ แต่ละจังหวัดและปิดประกาศบัญชีรายชื่อดังกล่าวพร้อมทั้งประกาศของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 4 ไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เขตชุมชนหนาแน่นที่เห็นสมควร และที่ออกเสียงหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่ออกเสียง ไม่น้อยกว่ายี่สิบวันก่อนวันออกเสียงประชามติ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอเพิ่มชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธิ เลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิก วุฒิสภามาใช้บังคับกับการเพิ่มชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงและการถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธิออกเสียง โดยอนุโลม ทั้งนี้ โดยให้ยื่นคำร้องขอเพิ่มชื่อหรือถอนชื่อต่อบุคคลที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง

มาตรา 7 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดหน่วยออกเสียงที่จะพึงมีในแต่ละ จังหวัดและกำหนดที่ออกเสียงของหน่วยออกเสียงนั้น ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงจำนวนของผู้มีสิทธิออก เสียงในแต่ละหน่วยออกเสียงและความสะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติ และ ประกาศให้ผู้มีสิทธิออกเสียงทราบไม่น้อยกว่ายี่สิบวันก่อนวันออกเสียงประชามติ

ในกรณีจำเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งอาจเปลี่ยนแปลงที่ออกเสียงตามประกาศ ในวรรคหนึ่งเป็นสถานที่อื่นตามที่เห็นเหมาะสมก็ได้ โดยต้องประกาศการเปลี่ยนแปลงที่ออกเสียง ให้ทราบก่อนวันออกเสียงประชามติไม่น้อยกว่าห้าวัน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินจะประกาศการ เปลี่ยนแปลงออกเสียงน้อยกว่าระยะเวลาดังกล่าวก็ได้

มาตรา 8 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคน เพื่อทำหน้าที่อำนวยการหรือกำกับดูแลการออกเสียงประชามติในแต่ละจังหวัดได้ตามที่เห็นสมควร

มาตรา 9 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำที่ออกเสียง แต่ละแห่งไม่น้อยกว่าห้าคน เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการและรักษาความเรียบร้อยในการลงคะแนนเพื่อ ออกเสียงประชามติและการนับคะแนนในที่ออกเสียงนั้น การแต่งตั้งกรรมการประจำที่ออกเสียง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง ผู้มีสิทธิออกเสียงในหน่วยออกเสียงนั้นเป็นประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า สี่คน ถ้าในวันออกเสียงประชามติมีกรรมการประจำที่ออกเสียงมาปฏิบัติหน้าที่ไม่ถึงห้าคน ให้ กรรมการที่เหลืออยู่แต่งตั้งผู้มีสิทธิออกเสียงในหน่วยออกเสียงนั้นเป็นกรรมการประจำที่ออกเสียง จนครบห้าคน ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาปฏิบัติหน้าที่หรือไม่อยู่ในที่ออกเสียงหรือไม ่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการแทนหรือปฏิบัติหน้าที่ ไปพลางก่อนจนกว่าประธานกรรมการจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แล้วแต่กรณี

มาตรา 10 ให้กรรมการประจำที่ออกเสียงมีหน้าที่ดำเนินการและรักษาความ เรียบร้อยในที่ออกเสียงและมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ในกรณีที่ผู้ใดขัดขวางการออกเสียงประชามติ ให้กรรมการประจำที่ออกเสียงมี อำนาจสั่งให้ผู้นั้นออกไปจากที่ออกเสียงได้ แต่ต้องไม่ขัดขวางต่อการที่ผู้มีสิทธิออกเสียงจะใช้สิทธิ ออกเสียง

มาตรา 11 นอกจากที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญนี้แล้วให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจกำหนดวิธีปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลซึ่งได้รับ แต่งตั้งตามมาตรา 8 และคณะกรรมการประจำที่ออกเสียงได้ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้บุคคลซึ่งได้รับ แต่งตั้งตามมาตรา 8 และกรรมการประจำที่ออกเสียงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ค่าตอบแทนของบุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 8 และกรรมการประจำที่ออก เสียงให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

มาตรา 12 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีหีบบัตรออกเสียงประชามติและ บัตรออกเสียงประชามติ โดยมีลักษณะที่เหมาะสมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิออกเสียง ลักษณะและขนาดของบัตรออกเสียงประชามติและวิธีการลงคะแนนในบัตรออก เสียงประชามติให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 13 ในวันออกเสียงประชามติ ให้เปิดการลงคะแนนออกเสียงประชามติ ตั้งแต่เวลา 08.00 นาฬิกาถึงเวลา 15.00 นาฬิกา

มาตรา 14 ผู้มีสิทธิออกเสียงซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงในที่ ออกเสียงใดให้ออกเสียงประชามติ ณ ที่ออกเสียงนั้น ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนออกเสียงประชามติในที่ออกเสียงที่ตนมีสิทธิ ได้เพียงแห่งเดียว

มาตรา 15 ก่อนเริ่มเปิดให้มีการออกเสียง ให้คณะกรรมการประจำที่ออกเสียงนับ จำนวนบัตรออกเสียงประชามติทั้งหมดของหน่วยออกเสียงนั้น และปิดประกาศจำนวนบัตรทั้งหมด ในที่ออกเสียงไว้ในที่เปิดเผย และเมื่อถึงเวลาเปิดการลงคะแนนให้คณะกรรมการประจำที่ออกเสียง เปิดหีบบัตรออกเสียงประชามติในที่เปิดเผยแสดงให้ผู้มีสิทธิออกเสียง ซึ่งอยู่ ณ ที่ออกเสียงนั้น เห็นว่าเป็นหีบเปล่า และให้ปิดหีบบัตรออกเสียงประชามติตามวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง กำหนดแล้วให้ทำการบันทึกการดำเนินการดังกล่าว โดยให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่น้อยกว่าสองคน ซึ่งอยู่ในที่ออกเสียงในขณะนั้นลงลายมือชื่อในบันทึกนั้นด้วย เว้นแต่ไม่มีผู้มีสิทธิออกเสียงอยู่ในขณะนั้น

 | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย