ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2543
เป็นปีที่ 55 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543"

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วัน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

[รก.2543/59ก/1/21 มิถุนายน 2543]

มาตรา 3 บรรดาอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้มีอำนาจจะใช้ หรือกระทำการใดให้เป็นการกระทบกระเทือนอำนาจการพิจารณาพิพากษาคดีของ ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมมิได้

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ "ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม" หมายความว่า ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ

"ข้าราชการตุลาการ" หมายความว่า ข้าราชการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ "ข้าราชการศาลยุติธรรม" หมายความว่า ข้าราชการธุรการตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ "ประธานศาลอุทธรณ์" หมายความว่า อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ "กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม" หมายความว่า กรรมการตุลาการตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ "คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม" หมายความว่า คณะกรรมการตุลาการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ "ก.บ.ศ." หมายความว่า คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม "ก.ศ." หมายความว่า คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม "สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน" หมายความว่า สถานพินิจและคุ้มครอง เด็กและเยาวชนกลาง สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด และสถานพินิจและคุ้มครอง เด็กและเยาวชนของศาลจังหวัดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว

มาตรา 5 ให้มีสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล การแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงานศาลยุติธรรมและการกำหนดอำนาจ หน้าที่ของส่วนราชการนั้น ให้ทำเป็นประกาศ ก.บ.ศ. ประกาศตามวรรคสอง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากประธานศาลฎีกาและประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

มาตรา 6 สำนักงานศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับงานธุรการของ ศาลยุติธรรม งานส่งเสริมงานตุลาการ และงานวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความ สะดวกให้แก่ศาลยุติธรรม รวมทั้งเสริมสร้างให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

มาตรา 7 ให้สำนักงานศาลยุติธรรมจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำศาลยุติธรรมทุกแห่ง ให้เพียงพอที่จะรับผิดชอบงานธุรการ งานช่วยค้นคว้าทางวิชาการแก่ผู้พิพากษา รวมตลอดทั้งการ ประสานงานกับส่วนราชการต่าง ๆ และงานอื่นใดตามที่ศาลยุติธรรมมอบหมาย จำนวนและระดับของเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่ ก.ศ. กำหนด โดยความเห็นชอบของประธานศาลฎีกา

ในกรณีที่ ก.บ.ศ. เห็นว่า ศาลยุติธรรมแห่งใดมีจำนวนเจ้าหน้าที่ประจำศาล ยุติธรรมที่เหมาะสมเพียงพอจะจัดตั้งเป็นหน่วยงานประจำศาลยุติธรรม ให้ ก.บ.ศ.โดยความ เห็นชอบของประธานศาลฎีกามีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้มีสำนักงาน ประจำศาลยุติธรรมแห่งนั้น โดยมีหัวหน้าสำนักงานเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบก็ได้

มาตรา 8 ให้มีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นข้าราชการศาลยุติธรรม ขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา มีหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งราชการของสำนักงานศาลยุติธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ รวมทั้งระเบียบ ประกาศ และมติของ ก.บ.ศ. และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีรองเลขาธิการสำนักงาน ศาลยุติธรรมเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ ในกิจการของสำนักงานศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้แทนของสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อการนี้ เลขาธิการสำนักงาน ศาลยุติธรรมจะมอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติราชการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตาม ระเบียบที่ ก.บ.ศ. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 9 ข้าราชการศาลยุติธรรมที่ทำงานประจำในศาลยุติธรรมต้องปฏิบัติตาม คำสั่งของผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมแห่งนั้นซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและ ระเบียบของทางราชการ ในการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีและการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งของข้าราชการ ศาลยุติธรรมที่ทำงานประจำในศาลยุติธรรม ให้ผู้บังคับบัญชาของข้าราชการศาลยุติธรรมนั้น ดำเนินการให้สอดคล้องกับผลการประเมินผลงานที่ผู้พิพากษาซึ่งเป็นหัวหน้าในศาลยุติธรรม แห่งนั้นจัดทำขึ้น

มาตรา 10 ให้มีคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า "ก.บ.ศ." ประกอบด้วย

(1) ประธานศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
(2) กรรมการบริหารศาลยุติธรรมซึ่งข้าราชการตุลาการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้พิพากษาเป็นผู้เลือกจากข้าราชการตุลาการในแต่ละชั้นศาล ดังต่อไปนี้  

(ก) ศาลฎีกา ให้เลือกจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลฎีกา ในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา จำนวนสี่คน  

(ข) ศาลอุทธรณ์ ให้เลือกจากข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งในศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาคในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์หรือผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค จำนวนสี่คน

(ค) ศาลชั้นต้น ให้เลือกจากข้าราชการตุลาการผู้มีอาวุโสสูงสุดหนึ่งร้อย คนแรกที่ดำรงตำแหน่งในศาลชั้นต้นและซึ่งมิใช่ข้าราชการตุลาการที่ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษา อาวุโส จำนวนสี่คน

(3) กรรมการบริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิด้านการงบประมาณ ด้านการพัฒนา องค์กร หรือด้านการบริหารและการจัดการ ซึ่งประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและกรรมการ บริหารศาลยุติธรรมตาม (2) เป็นผู้เลือกจากบุคคลซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการหรือ ข้าราชการศาลยุติธรรม จำนวนไม่น้อยกว่าสองคนแต่ไม่เกินสี่คน ให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการตุลาการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและข้าราชการตุลาการ ซึ่งได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการในศาลอื่นมีสิทธิได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ในชั้นศาลซึ่งข้าราชการตุลาการผู้นั้นมีเงินเดือนอยู่ในขั้นของศาลนั้นในขณะที่จัดให้มีการเลือก ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นเลขานุการ และให้รองเลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรม ที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมมอบหมายเป็นผู้ช่วยเลขานุการ ห้ามมิให้กรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นกรรมการบริหารศาลยุติธรรมในคราว เดียวกัน

มาตรา 11 กรรมการบริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 10 (3) ต้องมี คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
(3) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก วุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
(4) ไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง
(5) ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
(6) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมหรือตามกฎหมายอื่น
(7) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(8) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษ สำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(9) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกเพราะกระทำผิดวินัยตาม กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมหรือตามกฎหมายอื่น

มาตรา 12 กรรมการบริหารศาลยุติธรรมมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ กรรมการบริหารศาลยุติธรรมซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่ากรรมการใหม่เข้ารับหน้าที่

มาตรา 13 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 12 กรรมการบริหาร ศาลยุติธรรมพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) พ้นจากตำแหน่งข้าราชการตุลาการในกรณีที่เป็นกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ตามมาตรา 10 (1) และ (2) (4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 11 ในกรณีที่เป็นกรรมการ บริหารศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 10 (3) ในกรณีเป็นที่สงสัยเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.บ.ศ. เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

มาตรา 14 ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่างลงไม่ว่าเพราะ เหตุใดและวาระการอยู่ในตำแหน่งที่ว่างลงนั้นเหลือไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ให้เลขาธิการสำนักงาน ศาลยุติธรรมดำเนินการให้มีการเลือกกรรมการบริหารศาลยุติธรรมแทนตำแหน่งที่ว่างภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งดังกล่าวว่างลงและให้ผู้ได้รับเลือกอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือ อยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

มาตรา 15 การประชุมของ ก.บ.ศ. ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมของ ก.บ.ศ. ถ้าประธานไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจมาประชุมได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ในการประชุมของ ก.บ.ศ. ถ้ากรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา ห้าม มิให้ผู้นั้นร่วมประชุมหรือลงมติในเรื่องนั้น แต่หากผู้นั้นได้เข้าประชุมอยู่ก่อนแล้วและการไม่มีสิทธิ ร่วมประชุมและลงมตินั้นเป็นการชั่วคราว ก็ให้นับผู้นั้นเป็นองค์ประชุมในเรื่องนั้นด้วย การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่ง ในการลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็น เสียงชี้ขาด ให้ ก.บ.ศ. มีอำนาจวางระเบียบว่าด้วยการประชุมได้

มาตรา 16 ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่างลงไม่ว่าเพราะ เหตุใด และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยรีบด่วน ก็ให้กรรมการจำนวนเท่าที่มีอยู่ดำเนินการ ต่อไปได้ แต่ถ้ากรรมการบริหารศาลยุติธรรมที่เหลืออยู่มีจำนวนน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ ทั้งหมด ให้ดำเนินการเลือกกรรมการบริหารศาลยุติธรรมเพิ่มขึ้นโดยเร็ว และในระหว่างนั้น ก.บ.ศ. จะดำเนินการใดไม่ได้

มาตรา 17 ก.บ.ศ. มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการบริหารราชการศาลยุติธรรม ในส่วนที่เกี่ยวกับงานบริหารราชการและงานธุรการของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบแบบแผน และประเพณีปฏิบัติของทางราชการศาลยุติธรรม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) ออกระเบียบหรือประกาศ หรือมีมติเพื่อการบริหารราชการศาลยุติธรรมใน ส่วนที่เกี่ยวกับงานบริหารราชการและงานธุรการของสำนักงานศาลยุติธรรม ให้เป็นไปตามนโยบาย ของประธานศาลฎีกา รวมทั้งมีอำนาจยับยั้งการบริหารราชการของศาลยุติธรรมหรือสำนักงาน ศาลยุติธรรมที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ ประกาศ หรือมตินั้นด้วย

(2) ให้ความเห็นชอบในการเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการและ การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนของศาลยุติธรรมต่อคณะรัฐมนตรี

(3) พิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายในการบริหาร ราชการของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อดำเนินการตามมาตรา 32

(4) พิจารณาให้ความเห็นชอบในการบริหารจัดการงบประมาณและการพัสดุของ ศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลยุติธรรม

(5) การกำหนดวันทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมและลูกจ้างของสำนักงานศาล ยุติธรรม

(6) กำหนดให้มีตรา สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใดเพื่อใช้ในการบริหาร ราชการศาลยุติธรรม รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการทำและใช้ตรา สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายนั้นไว้ด้วย

(7) แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลให้ทำการใด ๆ แทน และกำหนดอัตราเบี้ย ประชุมหรือค่าตอบแทนให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง

(8) กำกับดูแลการบริหารราชการศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น

(9) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.บ.ศ.

| หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย