ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ปรัชญา

ประสบการณ์นิยม

สาระสำคัญ

          ๑.  ภววิทยา  ภววิทยาของประสบการณ์นิยมที่พัฒนามาจากแนวคิดของประจักษ์นิยมโดยตรง แต่เป็นแนวคิดแบบง่าย ๆ ที่หันมาพิจารณาถึงสิ่งที่เป็นจริงเท่าที่มนุษย์สามารถจะมีประสบการณ์ได้ในชีวิตจริง ๆ ถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีประสบการณ์ได้เป็นความจริงตามสภาพที่เป็นอยู่มีอยู่กล่าวอีก  นัยหนึ่งก็คือโลกแห่งประสบการณ์คือโลกแห่งความเป็นจริง  ความเป็นจริงนั้นก็คือ ประสบการณ์ของเรานั่นเอง

            การที่เราจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งใดนั้นจำเป็นต้องมีการกระทำกิจกรรมด้วยกระบวนการ   ที่เหมาะสม  จึงจะเกิดผลที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่จะนำไปสู่ความรู้ความจริง กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่ากระบวนการกระทำที่ต่อเนื่อง (Transaction)   ในการสืบเสาะหาความรู้ความจริงนั้น  ปรัชญาสาขานี้เน้นกระบวนการ (Process)   เป็นสำคัญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการแก้ปัญหาและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

            ๒.  ญาณวิทยา     ทฤษฎีแห่งความรู้ของปรัชญาสาขานี้ยึดประสบการณ์เป็นหลักโดยถือว่าประสบการณ์เป็นบ่อเกิดแห่งความรู้  เมื่อประสบการณ์มีสภาพไม่คงที่เปลี่ยนแปลงได้  ความรู้อันเกิดจากประสบการณ์มีสภาพชั่วคราวไม่คงที่และเปลี่ยนแปลงได้เช่นเดียวกับความรู้จะได้รับการยอมรับว่าถูกต้องตราบเท่าที่ประสบการณ์ของมนุษย์ยังไม่อาจค้นพบความรู้ที่ใหม่กว่าเท่านั้น

ในแง่ของประสบการณ์นิยม  การรู้เป็นกระบวนการซึ่งมีขั้นตอนเหมือนกับวิธีการแก้ปัญหาหรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทางด้านปรัชญาเรียกว่าวิธีการแห่งปัญญา (Intellectual Method)  วิธีการดังกล่าวนี้มี ๕ ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ ๑  เป็นขั้นตอนที่เกิดสภาวะผิดปกติหรือปัญหาแต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าปัญหานั้นคืออะไร

ขั้นตอนที่ ๒  การกำหนดปัญหา เพื่อให้ชัดเจนว่าปัญหานั้นคืออะไร  มีขอบเขตแค่ไหน  เป็นขั้นของการวินิจฉัยปัญหา

ขั้นที่ ๓  เป็นการตั้งสมมติฐาน  คาดคะเน หรือประมลแนวทางแก้ปัญหาหลาย ๆ วิธี

ขั้นที่ ๔  เป็นขั้นที่ทำการคาดคะเนว่า  ถ้าใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ประมวลได้ในขั้นที่ ๓  ผลจะเป็นอย่างไร  มีข้อดีข้อเสียอย่างไร  จะเลือกวิธีใดจึงจะได้ผลที่สุด

ขั้นตอนที่ ๕  เป็นขั้นตอนแห่งการปฏิบัติและการทดสอบโดยการนำเอาวิธีแก้ปัญหาไปใช้และประเมินผลว่าวิธีใดแก้ปัญหาได้ดีและถูกต้อ

             เกณฑ์ที่ปรัชญาสาขาประสบการณ์นิยม ใช้ประเมินความรู้คือ ผลของการนำความรู้ไปใช้   ถ้าใช้ได้ผลก็ถือเป็นความรู้ที่ถูกต้อง (Truth Ss What Worlds)   บรรดาความรู้ตามทฤษฎีแห่งความรู้จึงมีลักษณะเป็นสาธารณะที่เกิดจากการมีประสบการณ์ร่วมกันของมวลมนุษย์และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมร่วมกัน

            ๓.  คุณวิทยา   ปรัชญาสาขาประสบการณ์นิยมได้ให้ความสนใจเรื่องเกี่ยวกับค่านิยมเชิงจริยะและสุนทรียะเป็นอย่างมาก  โดยหลักการแล้วถือว่าค่านิยมเป็นสิ่งที่มนุษย์กำหนด เป็นการกำหนดขึ้นจากประสบการณ์และผลการดำเนินชีวิตภายในกรอบของค่านิยมนั้น ๆ

ทางด้านจริยศาสตร์ ปรัชญาสาขานี้ถือว่าคุณธรรมความดีเป็นเรื่องของการทดสอบ (Public Test)  ของคนส่วนใหญ่ ค่านิยมเชิงจริยะไม่ใช่หลักสากลแตกต่างกันไปตามกลเวลาและสถานที่ มนุษย์เป็นผู้กำหนดค่านิยมขึ้นจากประสบการณ์ เพื่อสนองตอบต่อความพยายามในการปรับปรุงสภาพการณ์ของสังคม การประพฤติปฏิบัติตนจะเป็นการกระทำที่ดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการกระทำและผลของการกระทำ  ถ้าทำแล้วเกิดผลดีต่อส่วนรวมก็ถือว่าเป็นการทำดีทำถูกต้อง  เกณฑ์การประเมินค่านิยมเชิงจริยธรรมมี ๒ เกณฑ์คือ

            ๑  การทดสอบผล  ถ้าเป็นผลดีเหมาะสมก็ถือว่าใช้ได้ และ

            ๒.  สังคมส่วนรวม  กล่าวคือ ต้องเป็นผลดีต่อสังคมส่วนรวมด้วย เมื่อเป็นดังนี้คุณธรรมความดีและความถูกต้องจึงขึ้นอยู่กับการทดสอบความเหมาะสมกับสถานการณ์โดยใช้เสียงของคนส่วนใหญ่เป็นเครื่องตัดสิน

ทางด้านสุนทรียภาพ  ปรัชญาสาขานี้สนใจศิลปะเพื่อชีวิต ความงาม ความไพเราะของศิลปะและดนตรี จะมีคุณค่าต่อชีวิตก็ต่อเมื่อมีคุณค่าและความหมายต่อการเสริมสร้างประสบการณ์ เมื่อชมงานศิลปะและฟังดนตรีแล้วมีผลอะไรติดตามมา ถ้าก่อให้เกิดประสบการณ์ ๆ ก็ถือว่ามีคุณค่า ศิลปะจะมีค่าหรือไม่มีค่านั้นขึ้นอยู่กับนิยมของคนส่วนใหญ่ (Public Test)

แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา

            ๑.  โรงเรียนและผู้เรียน เน้นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์    ต่อเนื่อง   สิ่งแวดล้อมที่ควรจะไม่แตกต่างไปจากชีวิตจริง ถ้าเป็นไปได้โรงเรียนควรจะมีสภาพเป็นสังคมย่อยที่จำลองแบบสังคมใหญ่  ทั้งนี้เพื่อให้ประสบการณ์ในโรงเรียนมีส่วนสัมพันธ์และเป็นประโยชน์     ต่อการดำเนินชีวิตในสังคม  การให้ความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตเป็นเป้าหมายสำคัญของโรงเรียน ความรู้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์จึงเป็นอุดมการณ์ทางการศึกษาของปรัชญาสาขานี้

            ลักษณะของโรงเรียน  จะต้องมุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมเหมือนชีวิตจริงในบ้านและในสังคมเพื่อ       ส่งเสริมให้เกดประสบการณ์ต่อเนื่อง

            ๒.  หลักสูตร  เน้นการเสริมสร้างประสบการณ์ทางสังคม  ลักษณะของหลักสูตรตามแนวปรัชญาสาขานี้แทนที่จะเน้นเนื้อหาสาระ กลับให้ความสำคัญแกกระบวนการในการศึกษาหาความรู้มากกว่า หลักสูตรจึงเป็นการจัดมวลประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ดังกล่าว  กลุ่มวิชาที่ได้รับการเน้นเป็นพิเศษคือ  สังคมศึกษา   ส่วนวิธีการเรียนการสอนตามหลักสูตรแบบนี้คือ การแก้ปัญหา การทำโครงการและกิจกรรมโดยถือความถนัด ความสนในของผู้เรียนเป็นหลัก

            ๓.  การเรียนการสอน  การเรียนการสอนตามแนวประสบการณ์นิยมมีลักษณะสำคัญ       ๓ ประการคือ

(๑)  การเรียนโดยวิธีแก้ปัญหา (Problem – Solving)   ถือว่าการเรียนรู้ที่ดีคือ  การที่  ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา โดยได้รู้สภาพการณ์ที่เป็นปัญหา  หาวิธีแก้ปัญหาและทดสอบผลการแก้ปัญหาเพื่อจะได้เผชิญกับชีวิตจริงได้โดยอาศัยประสบการณ์จากการเรียนการสอนในโรงเรียนที่ได้ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ดังกล่าวให้

(๒)  การเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner – centered Learning)  เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่คำนึงถึงความต้องการ ความถนัด และความสนในของผู้เรียนเป็นหลัก ในการจัดการเรียนการสอน

(๓)  เรียนรู้ในขณะที่นำความรู้นั้น ๆ มาใช้ (Learning While Using Knowledge)  กระบวนการเรียนรู้และการนำความรู้ไปใช้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน การเรียนการสอนแบบนี้มักจะทำในรูปโครงการและกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้มีการศึกษาค้นคว้าแสวงหาคำตอบและแนวทางแก้ปัญหา ความรู้ที่ค้นคว้าได้จะใช้เป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหารือทำโครงการและกิจกรรมนั้น ๆ ให้เสร็จสมบูรณ์

            ๔.  การปลูกฝังค่านิยมทางจริยธรรมและสุนทรียภาพ  การปลูกฝังค่านิยมทางจริยธรรมนั้น    โรงเรียนจะต้องจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้เหมือนกับสภาพความเป็นจริงในสังคม  ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาวะทางศีลธรรมจรรยาและแบบอย่างของความประพฤติที่ดีงามที่สังคมยอมรับโดยการผสมผสานเข้ากับการปฏิบัติในขณะที่ดำเนินชีวิตอยู่ในโรงเรียน  กล่าวคือให้ผู้เรียนเรียนรู้จากผลของการกระทำของตนเองในชีวิตประจำวันให้มากที่สุด เป็นการเรียนรู้จากชีวิตจริง

            ทางด้านสุนทรียภาพนั้น ก็คือหลักการเรียนรู้จากชีวิตจริงเช่นเดียวกัน  การปลูกฝังรสนิยมทางสุนทรยะจะต้องก่อให้เกิดประสบการณ์ทางสุนทรียะจากศิลปกรรมที่มีความหมายต่อชีวิตจริง

 แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย