ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ปรัชญาการเมือง

2

งานที่เกี่ยวข้องกับ Enlightenment

  • Kant, An Answer to the Question: What is Enlightenment
  • Adam Smith, The Wealth of Nations
  • Robert Malthus, Principles of Political Economy
  • Weber, Economy and Society

Kant

บทความของ Kant ได้กล่าวว่า Enlightenment นั้น คือมนุษย์ที่สามารถหลุดออกมาจาก immaturity ของมนุษย์ได้ (immaturity หมายถึง การที่มนุษย์ไม่สามารถใช้การทำความเข้าใจหรือความรู้โดยตัวเองได้)

Kant บอกว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่มนุษย์ไม่ได้มีความสามารถในการทำความเข้าใจหรือมีความรู้ แต่ปัญหาอยู่ที่มนุษย์ไม่กล้าที่จะใช้ความรู้ทำความเข้าใจ บริบทของบทความอยู่ในยุคก่อนช่วง Enlightenment ดังนั้น immaturity ของสังคมก็คือช่วงที่ถูก guide โดยนักบวช ในขณะที่ immaturity ในระดับครอบครัว ก็คือช่วงที่ถูก guide โดยการอบรมเลี้ยงดู, การศึกษา

เหตุที่มนุษย์ไม่กล้าที่จะโต ก็เพราะมันง่าย/มันสะดวกดี ในขณะที่ความกล้าที่จะใช้ความคิดหรือโตนั้น อันตราย และเสี่ยง ดังนั้น ใจความหลักของบทความก็คือ มนุษย์ต้องกล้าที่จะคิด โดยตนเอง

ถ้าถามว่า อะไรที่อยู่เบื้องหลังความกล้าที่จะคิด/ทำ สำหรับ Kant ก็คือ freedom เป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้มนุษย์หลุดพ้นจาก immaturity ดังนั้น สังคมที่จะหลุดออกจากภาวะ immaturity ก็ต้องเป็น public หรือสังคมที่ free เช่นกัน เพื่อให้ public เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เช่นเดียวกับปัจเจก ที่ต้องใช้ freedom เพื่อเติบโตขึ้นมามีปัญญา สำหรับ Kant เสรีภาพจึงเป็นสิทธิที่สำคัญของมนุษยชาติ ถ้าสังคมจะหลุดออกจากสิ่งที่เป็นอยู่ และเติบโตก้าวหน้าไป Enlightenment จึงเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าไป

Smith

Smith มอง/สะท้อน Enlightenment ในมิติทางเศรษฐกิจ ในงาน The Wealth of Nation นี้ Smith ได้กล่าวถึง ปัจเจกบุคคลและเสรีภาพในการผลิตทางวัตถุ ซึ่งผลิตโดยคนในสังคม เป็นภาพสะท้อนของความก้าวหน้าของสังคมในอีกมิติหนึ่ง คือการสะท้อนความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ (ในขณะที่ Kant สะท้อนความก้าวหน้าของมนุษย์โดยการใช้ปัญญา) ในงานชิ้นนี้ Smith ไม่ได้แค่พรรณนาหรือวิเคราะห์ระบบตลาดในเชิงกิจกรรมเท่านั้น กล่าวคือ นอกจากที่ Smith จะพูดถึงระบบตลาดในด้านรูปธรรมแล้ว (ที่ว่าตลาดถูกพิจารณาในแง่ที่เป็นกิจกรรมของการนำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งเป็นอีกเงื่อนไขที่ล้อไปกับการแบ่งงานกันทำในสังคม ซึ่งสร้างพลังการผลิตที่นำไปสู่ความมั่งคั่งของสังคม) ในด้านนามธรรม Smith มองว่า การแลกเปลี่ยนนั้น ถือเป็นธรรมชาติของมนุษย์ด้วยซ้ำ

ในทางปรัชญา เมื่อพูดถึง “ธรรมชาติ” มีนัยถึง “คุณสมบัติของความเป็นสากล” คือสามารถสกัดเอากฎบางอย่างในตัวมนุษย์ ที่มีเหมือนกันออกมาได้

ธรรมชาติของมนุษย์นี้ เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะหรือพื้นฐานมาจาก self love หรือความรักตนเอง เพราะมนุษย์รักตัวเอง สนใจว่าตนเองจะได้ประโยชน์อะไร ตรงนี้ไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว แต่เป็นการกล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์

เมื่อมนุษย์รักตนเอง ก็จะต้องหาของมาตอบสนองให้ตนเอง แต่ไม่ใช่ว่ามนุษย์จะสามารถทำของเองทุกสิ่งเพื่อตอบสนองให้ตนเองได้ มนุษย์ผู้มีเสรีภาพ และปัญญา จึงหาทางเพื่อให้ของตอบสนองต่อตนเองได้ นั่นก็คือการนำของมาแลกเปลี่ยนกัน และมีการแบ่งงานกันทำ ตรงนี้จึงเป็นที่มาและหลักการพื้นฐานของ “การแลกเปลี่ยน” และ “การแบ่งงานกันทำ” – ตรงนี้ก็คือ Enlightenment ของ Smith นั่นเอง

อนึ่ง ความรักตนเองนี้ก็เป็นปัจจัยที่กระตุ้นปัจเจกบุคคลตามความเห็นของ เบนธัม เช่นเดียวกัน เบนธัมมองว่า ความรักตนเองนี้มากกว่าเรื่องของตลาด แต่เป็นตัวที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ทุกอย่างโดยหลักการที่บอกถึงมาตรฐานการตัดสินว่าพฤติกรรมใดถูก พฤติกรรมใดผิด ตรงนี้เรียกว่าหลักการของ Utility หรือ Utilitarianism ซึ่งนอกจากจะเป็นตัวตัดสินถูก/ผิด ให้กับพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว ยังเป็นตัวที่สามารถให้คำอธิบายต่อพฤติกรรมต่างๆ ที่มนุษย์ทำในเชิงเหตุและผล Keyword ของ เบนธัม ในเรื่องความรักตัวเองนี้ อยู่ที่ pleasure & pain

 

กล่าวคือ พฤติกรรมของมนุษย์จะมีความโน้มเอียงไปสู่การแสวงหาความสุขอยู่เสมอ ปัจเจกบุคคลจึงถูกกำหนดโดยหลักการนี้ (เป็นตัวให้คำอธิบายต่อพฤติกรรมต่างๆ ที่มนุษย์ทำในเชิงเหตุและผล) และถ้าพฤติกรรมใดที่โน้มเอียงไปสู่ความสุข ก็ถือเป็นการกระทำที่ถูกต้องด้วย (เป็นตัวตัดสินถูก/ผิด)

ตรงนี้โยงเข้ากับระบบเศรษฐกิจการเมือง คือเป้าหมายของระบบเศรษฐกิจ และการตลาดนั้น เป็นการสร้างความสุข/ความมั่งคั่ง ให้กับสังคม ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขของปัจเจก ดังนั้น จึงต้องปล่อยให้ปัจเจกแสดงพฤติกรรมรักตนเอง ซึ่งจะทำได้ก็ต้องเป็นไปตามเสรีภาพของตนเอง

ทั้งนี้ พื้นฐานของ “การแลกเปลี่ยน” และ “การแบ่งงานกันทำ” ของ Smith อยู่ที่สิ่งที่เรียกว่า “ระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล” ซึ่ง Locke ขยายความว่า แรกเริ่มเดิมที ทรัพยากรต่างๆ มีมากมาย ไม่ว่าเราจะคิดว่าทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้ ได้มาไม่ว่าจะโดยธรรมชาติหรือจากพระเจ้า และธรรมชาติหรือพระเจ้าก็ยังมอบปัญญาให้แก่มนุษย์ด้วย เพื่อให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีมากมาย ในการใช้ทรัพยากรเหล่านั้น มนุษย์ได้ใช้แรงงานของตนเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ

Locke บอกว่า วินาทีที่มนุษย์เอื้อมมือไปเด็ดผลไม้ ถือว่าผลไม้นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลของผู้เด็ดนั้นแล้ว เพราะเขาได้ใช้แรงงาน แม้จะหยิบผลไม้จากพื้นก็เป็นของเขาแล้ว คนผู้นั้นมีสิทธิ์ในผลไม้ เพราะเขาเป็นผู้ลงแรงลงปัญญาในทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้น นี่ก็คือสิ่งที่เรียกว่า “กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล” ซึ่งเป็นเงื่อนไขของบริบททางเศรษฐกิจและการเมืองแบบเสรีนิยม ถ้าไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล ก็จะไม่มีการแลกเปลี่ยน และการแบ่งงานกันทำ

Malthus

Malthus พูดถึงความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจว่า เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความก้าวหน้าของมนุษย์ ถ้าสังคมใดมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมนั้นต้องมีการผลิต มีการจ้างงาน มีการบริโภค อย่างเต็มที่ เป็นการสร้างความมั่งคั่งหรือเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่หยุดยั้ง

พื้นฐานในการผลิตตรงนี้ อยู่ที่พลังในการผลิตที่อยู่ในตัวของมนุษย์ พลังการผลิตจะต้องถูกนำไปใช้เพื่อความก้าวหน้าของมนุษย์ โดยมีระบบที่เอื้ออำนวย คือมีระบบที่มีการแบ่งงานกันทำ และมีการจัดระบบของการผลิตทางอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถส่วนบุคคล คำนึงถึงการประหยัดเวลา คำนึงถึงการนำเอาแรงงานของมนุษย์นั้น มาเข้ากับกลไก (machine) ต่างๆ จัดส่วนต่างๆ ให้เหมาะสมให้เข้ากับการผลิต ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำได้ก็โดย การรู้จักใช้ธรรมชาติแห่งความรักตัวเองของมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์มีเหมือนกันทุกคน – ย้อนกลับไปที่กฎแห่งความรักตัวเองตามที่ Smith กล่าว

อ่านต่อ >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย