ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
4
การนำไปใช้ในแง่ของการนำเนื้อหาวิชาไปสอนหรือแนะนำ
- จุดมุ่งหมายของการให้การศึกษาแก่เด็กตามแนวปรัชญานี้ ก็มุ่งที่จะทำให้เด็กเป็นผู้มีปัญญาเป็นบุคคลที่สมบูรณ์และปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมที่อยู่แวดล้อมตัวเขาได้
- การให้การศึกษาแก่เด็กจึงมุ่งเนื้อหาวิชาที่เด็กคุ้นเคยกับโลกรอบ ๆ ตัวของเด็กเอง
- การเสนอทัศนะเกี่ยวกับโลกภายนอกใกล้เคียงกับทัศนะของคนทั่ว ๆ ไป สอดคล้องกับสามัญสำนึกและวิทยาศาสตร์
- เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกขอบข่ายและลักษณะปัญหาสําคัญ ๆ ในปรัชญาสาขาต่าง ๆ ได้
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมองปัญหาปรัชญาอย่างกว้าง ๆ และเข้าใจในคําตอบต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ตอบปัญหาที่ตนศึกษา โดยมีเหตุผลรองรับ
- เพื่อเป็นพื้นฐานที่จะเข้าใจวิชาอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
- เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษารู้ จักคิดอย่างมีเหตุผล และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- เพื่อช่วยในการขบคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจําวันด้วยวิธีการทางปรัชญา
- เพื่อให้ผู้ เรียนคิดตรวจสอบความคิดเห็นความเชื่อของตนและผู้ อื่นได้
การนำไปใช้ในแง่ของการประยุกต์หลักของปรัชญาเข้ากับหลักการบริหารก็จะได้ในหลักของการหาค่าสมมติฐาน ความเป็นไปได้ วิเคราะห์วิจารณ์ถึงหลักเหตุผล เพราะหลักของแนวคิดแบบสัจจนิยมนี้หลักการคิดการหาคำตอบจะสอดคล้องกับแนวความคิดและหลักทางวิทยาศาสตร์ซึ่งคนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบันนี้จะใช้หลักทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักในการตัดสินความน่าเชื่อถือเสมอ
ดังนั้น ในแนวคิดแบบสัจจนิยมได้ให้ข้อคิดไว้ดังนี้ว่า ถ้าวางแผนสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาแล้วควรจะต้องวางแนวทางในการปฏิบัติไว้หลาย ๆ ทางเพื่อให้กระบวนการในการหาคำตอบนั้นสามารถทำได้หลายวิธีและหลากหลายในเชิงบูรณาการ
การเรียนการศึกษาในแนวคิดปรัชญาในแบบต่าง ๆ นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเองในส่วนของข้อดีแต่ละแนวคิดของปรัชญาก็จะคล้าย ๆ กัน คือ ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักคิดตาม รู้จักการตั้งสมมติฐานในการหาความจริงของสิ่งที่กำลังศึกษาอยู่อันเป็นพื้นฐานในของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อันตั้งอยู่บนหลักของความเป็นไปได้และมีเหตุผลในตัวของมันเอง นอกจากนั้นการเรียนปรัชญาจะสอนให้คนมีเหตุผลเสมอ ซึ่งการมีเหตุผลนี้จะติดตัวผู้เรียนไปจนเป็นลักษณะนิสัย อาจจะเป็นผลดีทางอ้อมก็ว่าได้ นี่คือ ผลดีของการเรียนปรัชญาซึ่งกล่าวเป็นภาพรวม เพราะไม่ว่าเรียนสาขาไหนก็มีผลดีเหมือนกัน
การเห็นหรือการคาดคะเนด้วยสายตามในสิ่งที่มองเห็นแล้วตั้งข้อสมมติฐานเอาอาจทำให้ข้อมูลที่ได้ทั้งข้อมูลที่เป็นจริงและคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เช่น การมองตึกสูงถ้ามองอยู่ใกล้ ๆ อาจมองเห็นสูงต้องแหงนมองสูงเป็นร้อยเมตร ถ้ามองอยู่ไกล ๆ อาจมองเห็นตึกขนาดเล็กไม่กี่เซนติเมตร ซึ่งแนวคิดแบบสัจจนิยมผิวเผินจะมีข้อบกพร่องตรงนี้
สัจจนิยมสามัญสำนึกพูดถึงการเปรียบเทียบระหว่างวัตถุกับการรับรู้ในสัมผัสของคน วัตถุไม่มีชีวิต ไม่มีความรู้สึก ต่างกับคนที่มีชีวิต มีความรู้สึก เช่น ว่าคนนั่งโซฟาไม่ว่าจะนั่งกี่ครั้งก็รู้สึกถึงความนุ่ม สบาย แต่โซฟาไม่ว่าใครจะนั่งซักกี่คนก็ยังอยู่อย่างเดิมไม่มีความรู้สึกเพราะไม่มีชีวิต
ข้อบกพร่องของสัจจนิยมสามัญสำนึกคือ มักทำให้เราเชื่อในสิ่งที่เห็นว่าจะต้องเป็นจริง เช่นเห็นรางรถไฟรางคู่ในระยะไกล ๆ จะประจบเข้าหากันเราก็เชื่ออย่างที่เห็นนั้น ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด โดยมิได้ใช้เหตุผลหรือความน่าจะเป็นตามหลักวิทยาศาสตร์ การรับรู้ทางประสาทสัมผัสอย่างเดียวไม่อาจทำให้ความรู้เป็นรูปร่างขึ้นมาได้
สัจจนิยมแนวใหม่ไม่ได้ให้ความกระจ่างในเรื่องของคุณสมบัติของวัตถุไว้โดยละเอียดจะอธิบายไว้เพียงด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว เช่น ภูเขาจะต้องมีสีเขียวสีน้ำตาลรวมอยู่ในตัว ถ้าเป็นคนบอดสีก็จะไม่สามารถมองเห็นคุณสมบัติที่แท้จริงของภูเขาได้ เพราะไม่ได้อธิบายรูปร่างลักษณะอย่างอื่นไว้อีก
สัจจนิยมตัวแทนก็เหมือนกับภาพถ่ายซึ่งเหมือนกับตัวจริง เราเห็นได้ทั้งภาพถ่ายและตัวจริงแต่ไม่อาจเปรียบเทียบได้ว่าภาพที่เห็นกับตัวจริงนั้นแตกต่างกันหรือไม่ เช่นว่า เราเคยเห็นดารานักร้องแต่ในโทรทัศน์ ไม่เคยเห็นตัวจริงจึงไม่อาจเปรียบเทียบความแตกต่างได้
ในการศึกษาแนวคิดสัจจนิยมนี้ต้องรู้จักวิเคราะห์เนื้อหาหลาย ๆ ด้านและตีความหมายหลาย ๆ ครั้งเพราะเนื้อหาของปรัชญาที่เขียนไว้แต่ละเล่มของอาจารย์แต่ละท่านจะเขียนด้วยสำนวนที่อ่านแล้วเข้าใจยากต้องอ่านหลาย ๆ เที่ยวแล้วค่อย ๆ วิเคราะห์หาเหตุผลตามจึงจะเข้าใจได้และที่สำคัญคือต้องอ่านเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวเนื่องกันจะอ่านเฉพาะหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งอาจจะทำให้จับต้นชนปลายไม่ถูก จะลำดับแนวความคิดไม่ได้ เพราะแต่ละแนวคิดของปรัชญาจะมีแนวคิดที่นำเสนอและมีแนวคิดที่โต้แย้งมาด้วยกันเสมอ
ดังนั้น การศึกษาแนวคิดของปรัชญาแต่ละอย่างจะสอนให้เรารู้จักคิดตาม พร้อมทั้งตั้งคำถามและหาคำตอบในเวลาเดียวกัน คำตอบอาจจะมีทั้งขัดแย้งและเห็นด้วย ซึ่งนั่นเป็นลักษณะเฉพาะของการศึกษาปรัชญา
อ่านต่อ >>>
บรรณานุกรม
- วิธาน สิชีคุปต์,ผศ.,และคณาจารย์ภาควิชาปรัชญา,ปรัชญาเบื้องต้น, ภาควิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง,กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์รามคำแหง,2545
- เมธี ปิลันธนานนท์ .2523. ปรัชญาการศึกษาสำหรับครู. กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช.
- อนันต์ ลัคนหทัย,ดร.,เทคนิคการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชน, โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน,คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงราย
- สุจิตรา (อ่อนค้อม)รณรื่น,รศ.ดร.,ปรัชญาเบื้องต้น, ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูธนบุรี สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์,กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์,2537
- สถิต วงศ์สวรรค์,รศ.,ปรัชญาเบื้องต้น, กรุงเทพฯ :บริษัท รวมสาส์น (1997) จำกัด,2543
- สุเมธ เมธาวิทยกูล,ผศ.,ปรัชญาเบื้องต้น, ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูลำปาง, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
- ไพฑูรย์ สินลารัตน์,ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น,กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.
- ไพฑูรย์ สินลารัตน์,ปรัชญาการศึกษาและปรัชญาการศึกษาของไทย,กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2523