ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

กลับหน้า พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์

คำอธิบายคำวิงวอนในบทเร้าวิงวอนพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์

พระหฤทัยพระเยซู นอบน้อมจนสิ้นพระชนม์

          ท่านคงจำบทรับในพิธีกรรมในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ได้ ซึ่งชี้ชวนให้เราคิดถึงความนอบน้อมของพระเยซูเจ้า ซึ่งนักบุญเปาโลเน้นย้ำในจดหมายหลายฉบับ และโดยเฉพาะจดหมายถึงชาวฟิลิปปี “แม้พระองค์ทรงมีธรรมชาติพระเจ้า พระองค์ก็มิได้ทรงถือว่าศักดิ์ศรีเสมอพระเจ้านั้นเป็นสมบัติที่จะต้องหวงแหน แต่ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น ทรงรับสภาพดุจทาส เป็นมนุษย์ดุจเรา ทรงแสดงพระองค์ในธรรมชาติมนุษย์ ทรงถ่อมพระองค์จนถึงกับทรงยอมรับแม้ความตาย เป็นความตายบนไม้กางเขน” (2:7)

          นักบุญเปาโล ได้ขอให้เราคิดถึงต้นไม้สองต้น ต้นหนึ่งในสวนสวรรค์ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความตายเนื่องจากความไม่เชื่อฟัง และอีกต้นหนึ่งปลูกอยู่บนยอดเนินเขากัลวาริโอ ซึ่งก่อให้เกิดชีวิต ว่า “มวลมนุษย์กลายเป็นคนบาปเพราะความไม่เชื่อฟังของมนุษย์คนเดียวฉันใด มวลมนุษย์ก็จะเป็นผู้ชอบธรรมเพราะความเชื่อฟังของมนุษย์คนเดียวฉันนั้น” (รม 5:19)

 

          ในขณะที่นอกพระศาสนจักร (โดยเฉพาะในแวดวงของชาวโปรเตสแตนท์) เรื่องราวของผลไม้ต้องห้าม (ซึ่งมักจะเสนอว่าเป็นผลแอปเปิ้ล) เป็นเรื่องราวที่เล่าขาน และยึดถือว่าเป็นเรื่องจริงตรงตามตัวอักษร แต่นับจากต้นศตวรรษที่ 20 พระศาสนจักรยืนยันว่าภาษาสัญลักษณ์ที่ใช้นี้ต้องการสื่อความจริงเกี่ยวกับบาปแห่งการไม่เชื่อฟังพระเจ้า และการฝ่าฝืนกฎธรรมชาติ การสอนเรื่องบาปจำต้องกระทำเป็นรูปธรรมสำหรับคนที่ไม่รู้หนังสือ ซึ่งจะไม่เข้าใจความคิดเชิงนามธรรม คำถามหนึ่งที่มีผู้ถามบ่อยคือ “ถ้าอาดัม และเอวา เป็นอิสระจากกามารมณ์ อันเป็นพระพรเหนือธรรมชาติอย่างหนึ่งของเขา แล้วเหตุใดเขาทั้งสองจึงถูกประจญ?” การประจญของบิดามารดาคู่แรกของเราเกิดจากตัวของเขาเอง แม้จะมีการเสนอแนะจากภายนอก คือซาตาน ผู้เข้ามาประจญในรูปของงู (คำสอน หน้า 390)

 

          วิธีการของปีศาจเป็นบทเรียนหลายอย่างสำหรับเรา ในตำนานเทพเจ้าของโลกตะวันออก เทพเจ้าที่มนุษย์เชื่อถือมักริษยาในความสุขของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ คำเสนอแนะของซาตานจึงมาในรูปแบบที่แปลกว่า “พระเจ้าของเจ้าริษยาเจ้า พระองค์รู้อย่างแน่นอนว่าเมื่อเจ้ากินผลไม้นั้น ตาของเจ้าจะสว่าง และเจ้าจะเป็นเหมือนพระเจ้า คือรู้จักความดี และความชั่ว” นี่คือแรงกระตุ้นให้อาดัม และเอวา ประกาศอิสรภาพของตน และเป็นผู้กำหนดกฎของตนเอง หรือเป็นกบฏ! บิดามารดาคู่แรกของเราเชื่อซาตาน ซึ่งเป็น “จอมโกหกมาตั้งแต่ต้น” และตกเป็นเหยื่อเล่ห์กลของมัน กบฏต่อพระเจ้าผู้ทรงสร้างเขาขึ้นมา และทรงปลูกฝังกฎธรรมชาติของสิ่งถูก และสิ่งผิด สิ่งดี และสิ่งเลวไว้ในตัวของเขา

 

          บัดนี้ ขอให้เราพิจารณาต้นไม้อีกต้นหนึ่งที่ปลูกบนยอดเนินกัลวารีโอ ท่อนที่สองของบทขับร้องในการนมัสการกางเขนในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ กล่าวว่า

          พระเจ้าทรงเวทนาเมื่อทรงเห็นมนุษย์ตกลงในความอัปยศ และจมอยู่ในความน่าเวทนา

          เมื่อมนุษย์ต้องตายเพราะลิ้มรสผลจากต้นไม้ต้องห้าม

          เมื่อนั้น ต้นไม้อีกต้นหนึ่งจึงถูกเลือกเพื่อปลดปล่อยโลกให้พ้นจากความตาย

          ในพันธสัญญาใหม่ ความนบนอบไม่ใช่คุณธรรมที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดในจิตสำนึกของมนุษย์ แม้แต่ในพันธสัญญาเดิม ความนบนอบก็เป็นคุณธรรมที่ช่วยให้รอด แม้เรารู้ว่าการถวายเครื่องบูชาถือว่าเป็นรูปแบบสูงสุดของการนมัสการ แต่ในหนังสือพงศ์กษัตริย์ เราอ่านพบว่า “ความนบนอบดียิ่งกว่าเครื่องบูชา” (1 พกษ 15:22) เช่นเดียวกับในหนังสือปัญญาจารย์ “ความนบนอบดีกว่ายัญบูชา” (4:17) ซึ่งมีความหมายเดียวกัน

 

          เราไม่ควรคิดว่าความนบนอบเป็นคุณสมบัติที่ปรากฎขึ้นระหว่างชั่วโมงสุดท้ายของชีวิตของพระเยซูเจ้า เมื่อพระองค์ทรงกลายเป็นเครื่องบูชาจริงๆ แต่ชีวิตของพระเยซูเจ้าคือชีวิตแห่งความนบนอบ พวกเราหลายคนอยากสืบสาวลึกลงไปในช่วงเวลา 18 ปี ของชีวิตของพระเยซูเจ้าที่นาซาแร็ธ เมื่อพระองค์เสด็จไปอยู่ที่นั่นหลังจากเหตุการณ์ในพระวิหาร แต่คงไม่มีใครทำเช่นนั้นโดยไม่มีเครื่องนำทาง น่าเสียหายที่คนนำทางของเรา คือผู้นิพนธ์พระวรสารเพียงแต่บอกเราว่าระหว่างช่วงชีวิตซ่อนเร้นของพระองค์ “พระเยซูเจ้าทรงอยู่ภายใต้การปกครองของพวกเขา (คือพระนางมารีย์ และโยเซฟ) ความว่าง่ายจะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของลูกแกะของพระเจ้า ผู้ไม่ทรงคิดหาวิธีการอื่นใดที่จะช่วยมนุษยชาติให้รอดพ้นจากความชั่วที่เข้ามาในโลกผ่านทางความไม่เชื่อฟังของมนุษย์คู่แรก นอกจากโดยการปฏิบัติสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่มนุษย์ทั้งสองนี้ได้กระทำจนทำให้สูญเสียเป้าหมายของชีวิต

 

          ความคิดเห็นของนักบุญเปาโล เกี่ยวกับความนบนอบของพระเยซูเจ้านี้สอดคล้องกับผู้เขียนจดหมายถึงชาวฮีบรู “ถึงแม้ว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตร ก็ยังทรงเรียนรู้ที่จะนอบน้อมเชื่อฟังโดยการรับทรมาน และเมื่อทรงกระทำภารกิจของพระองค์สำเร็จบริบูรณ์แล้ว ก็ทรงเป็นผู้บันดาลความรอดพ้นนิรันดรแก่ทุกคนที่ยอมนอบน้อมเชื่อฟังพระองค์ โดยพระเจ้าทรงแต่งตั้งพระเยซูเจ้าให้ทรงเป็นมหาสมณะตามแบบอย่างของเมลคีเซเดค” (5:8-10) สำหรับคำอธิบายจดหมายถึงชาวฮีบรูนี้ เราสามารถเข้าถึงความหมายแท้จริงของข้อความนี้ได้ “รูปแบบของการเรียนรู้ผ่านความทุกข์ทรมานเป็นเรื่องปกติในวรรณกรรมกรีก แต่ข้อความนี้ คือจดหมายถึงชาวโรมัน 5:10 และชาวฟิลิปปี 2:8 เป็นที่เดียวในพันธสัญญาใหม่ ซึ่งกล่าวอย่างชัดเจนถึงความนบนอบของพระคริสต์…ความนบนอบของพระเยซูเจ้านำไปสู่การถวายพระองค์ในฐานะสงฆ์ ซึ่งทำให้พระองค์ทรงมีคุณสมบัติพร้อมที่จะช่วยคนที่นบนอบต่อพระองค์ให้ได้รับความรอด” (Jerome Commentary, ภาค 2, 61:28) แน่นอนว่าเป็นการอ้างถึงทัศนคติของพระเยซูเจ้าในสวนมะกอกเทศ เมื่อพระองค์ทรงวิงวอนพระบิดาให้ทรงนำถ้วยแห่งความทุกข์ทรมานนี้ไปจากพระองค์ แต่แล้วก็ทรงปิดท้ายคำภาวนาด้วยการยอมรับน้ำพระทัยของพระบิดาโดยสิ้นเชิงว่า “แต่อย่าให้เป็นไปตามใจข้าพเจ้า ให้เป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์เถิด” (ลก 22:42)

 

          ผู้ที่กบฏไม่ได้มีเพียงอาดัม และเอวาเท่านั้น อิสราเอล ซึ่งเป็นประชากรเลือกสรรของพระเจ้าผ่านพันธสัญญา ก็เป็นชนชาติกบฏ รวมทั้งมนุษยชาติ ซึ่งเป็นทาสของบาป เราได้รับรู้สารของพระเมสสิยาห์ ผ่านผู้รับใช้พระยาเวห์ ซึ่งบทสดุดีที่ 40 กล่าวถึงว่า “ดูเถิดข้าพเจ้ามาเพื่อปฏิบัติตามน้ำพระทัยของพระองค์”

 

          ความนบนอบของพระเยซูคริสเจ้าคือความรอดของเรา และช่วยให้เราค้นพบความนบนอบต่อพระเจ้า ชีวิตของพระเยซูเจ้าเป็นชีวิตแห่งความนบนอบ กล่าวคือทรงยึดมั่นในพระเจ้าผ่านสื่อกลางต่าง ๆ เช่นบุคคล เหตุการณ์ สถาบัน ข้อเขียนของชนชาติของพระองค์ อุปมาเรื่องบุตรชายสองคนควรเป็นตัวอย่างสอนเราเรื่องความนบนอบ เมื่อบิดาขอให้บุตรชายคนโตออกไปทำงานในทุ่งนา เขาตกลงทันที แต่ไม่ออกไปทำงานเลย ส่วนบุตรชายคนเล็กปฏิเสธ แต่แล้วก็ออกไปทำงาน ผู้ฟังเรื่องนี้ตัดสินได้ถูกต้องว่าบุตรคนใดนบนอบ บุตรชายคนเล็กคงถูกมโนธรรมติเตียน จากนั้น ความสำนึกผิดทำให้เขาออกไปทำงาน ถ้าตัวอย่างความนบนอบของพระคริสตเจ้าจะเป็นจริงได้ เราจำเป็นต้องสวมใส่เสื้อผ้าของผู้รับใช้ และออกไปทำงานในทุ่งนาตามพระประสงค์ของพระเจ้า ซึ่งเผยให้เรารับรู้ได้ในเวลาต่าง ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เมื่อนั้น เราจะถวายเกียรติแด่ความพร้อมของพระเยซูเจ้า คือพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ในศีลมหาสนิท ซึ่งพร้อมจะนบนอบ และรับใช้ผู้รับใช้ของพระองค์เสมอ

 

บทภาวนาสั้น: พระหฤทัยพระเยซู นบนอบจนสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ซึ่งเป็นวิธีการของพระองค์ในการช่วยโลกให้รอด โปรดให้เรานบนอบเสมอ เพื่อจะช่วยโลกให้รอดพ้นด้วยความนบนอบของเรา

» พระหฤทัยพระเยซู บุตรแห่งพระบิดานิรันดร

» พระหฤทัยพระเยซู ที่พระจิตทรงตกแต่งในครรโภทรแห่งพระมารดาพรหมจารี

» พระหฤทัยพระเยซู ร่วมสภาวะกับพระวจนาตถ์แห่งพระเจ้า

» พระหฤทัยพระเยซู ทรงมหิทธิศักดิ์ไม่มีขอบเขต

» พระหฤทัยพระเยซู วิหารศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า

» พระหฤทัยพระเยซู ตำหนักแห่งพระเจ้าสูงสุด

» พระหฤทัยพระเยซู เคหะของพระเจ้า และประตูสวรรค์

» พระหฤทัยพระเยซู เตาไฟโชติช่วงแห่งความรัก

» พระหฤทัยพระเยซู เครื่องรองรับความยุติธรรม และความรัก

» พระหฤทัยพระเยซู เปี่ยมด้วยคุณงาม และความรัก

» พระหฤทัยพระเยซู ขุมฤทธิ์กุศลทั้งปวง

» พระหฤทัยพระเยซู สมแก่คำสรรเสริญทุกประการ

» พระหฤทัยพระเยซู ราชา และศูนย์รวมแห่งดวงใจทั้งหลาย

» พระหฤทัยพระเยซู ขุมพระปรีชาญาณ และความรู้ทั้งปวง

» พระหฤทัยพระเยซู ที่ประทับแห่งพระเทวภาพครบบริบูรณ์

» พระหฤทัยพระเยซู ที่สบพระทัยแห่งพระบิดา

» พระหฤทัยพระเยซู ที่เราได้รับทานจากความบริบูรณ์ของพระองค์

» พระหฤทัยพระเยซู ความปรารถนาแห่งเนินเขานิรันดร

» พระหฤทัยพระเยซู ทรงอดทน และเมตตากรุณา

» พระหฤทัยพระเยซู ความมั่งคั่งสำหรับทุกคนที่มาวิงวอนพระองค์

» พระหฤทัยพระเยซู ธารแห่งชีวิต และความศักดิ์สิทธิ์

» พระหฤทัยพระเยซู ทรงชดเชยบาปของเรา

» พระหฤทัยพระเยซู ถูกสบประมาทอย่างท่วมท้น (Loaded with opprobrium)

» พระหฤทัยพระเยซู แหลกราญด้วยอาชญากรรมของเรา

» พระหฤทัยพระเยซู นอบน้อมจนสิ้นพระชนม์

» พระหฤทัยพระเยซู ถูกแทงด้วยหอก

» พระหฤทัยพระเยซู ธารความทุเลาบรรเทา

» พระหฤทัยพระเยซู ชีวิต และการคืนชีพของเรา

» พระหฤทัยพระเยซู สันติภาพ และการคืนดีของเรา

» พระหฤทัยพระเยซู ยัญบูชาไถ่บาปมนุษย์

» พระหฤทัยพระเยซู ความรอดของผู้วางใจในพระองค์

» พระหฤทัยพระเยซู ความวางใจของผู้ที่ตายในพระองค์

» พระหฤทัยพระเยซู ความโสมนัสปรีดาแห่งนักบุญทั้งหลาย

กลับหน้า พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย