ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

กลับหน้า พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์

คำอธิบายคำวิงวอนในบทเร้าวิงวอนพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์

พระหฤทัยพระเยซู ตำหนักแห่งพระเจ้าสูงสุด

         ภาษาสันสกฤตบรรยายถึงดวงอาทิตย์ว่าเป็นผู้มีพันแสง (สหัสสรังสี) และพระเจ้าทรงเป็นผู้มีพระนามนับพัน (สหัสสนาม) พระนามในภาษาฮีบรู ที่รู้จักกันมากที่สุดคือ เอล (El) พระนามอื่น ๆ ของพระเจ้าได้มาจากการนำคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพระองค์มาเติมด้วยคำว่า El  ดังนั้น คำว่าพระผู้ทรงสรรพานุภาพ จึงตรงกับคำว่า El Shaddai พระนามว่า Elyon (พระเจ้าสูงสุดในพันธสัญญาเดิม) คงไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากภาษาอิสราเอล แน่นอน หนังสืออพยพบทที่ 14 ระบุว่า El Elyon เป็นพระองค์เดียวกับพระเจ้าของบรรพบุรุษของอับราฮัม เราพบชื่อนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องของเมลคีเซเด็ก ซึ่งเป็นกษัตริย์ของซาเล็ม หรือเยรูซาเล็ม (หมายถึงสันติภาพ) ดังนั้น เราคงเดาไม่ผิด ชาวอิสราเอล มักเรียกพระเจ้าว่า El  หรือ Elohim โลกของ El-Elohim เป็นโลกของมนุษย์พิเศษ ซึ่งมีอำนาจเหนือมนุษย์ ดังนั้น อิสราเอล เองก็รู้ว่าบรรพบุรุษของตนเมื่อหลายศตวรรษก่อนเคยบูชาเทพเจ้าอื่น ๆ

          เราให้คำอธิบายโดยย่อนี้เพราะบทเร้าวิงวอนข้อนี้เรียกพระเจ้าว่า พระเจ้าสูงสุด จดหมายถึงชาวฮีบรู เปรียบเทียบบ่อยครั้งระหว่างพระเยซูเจ้า และเมลคีเซเด็ก ระหว่างความเป็นสมณะของพระเยซูเจ้า และของเมลคีเซเด็ก เราจึงต้องสนใจกับข้อความในหนังสืออพยพซึ่งเล่าเรื่องทั้งหมดไว้ ขณะที่อับราฮัมกลับไปยังดินแดนของตน หลังจากต่อสู้ชนะกษัตริย์สามพระองค์ และนำทรัพย์สินที่รวบรวมได้หลังจากได้รับชัยชนะกลับไป และพบกับเมลคีเซเด็ก “เมลคีเซเด็ก กษัตริย์แห่งซาเล็ม นำขนมปัง และเหล้าองุ่นออกมา เขาเป็นสมณะของพระเจ้าสูงสุด เขาอวยพรอับราฮัม และกล่าวว่า ‘ขอให้อับราม ได้รับพรจากพระเจ้าสูงสุด ผู้ทรงสร้างสวรรค์ และแผ่นดิน และขอถวายพรแด่พระเจ้าสูงสุด ผู้ทรงนำศัตรูของพระองค์มาอยู่ในมือของท่าน’“ การที่คำว่า “พระเจ้าสูงสุด” ปรากฏถึง 3 ครั้งในข้อความนี้มีนัยสำคัญ เพราะแสดงให้เห็นว่าเมลคีเซเด็ก และอับราฮัม คุ้นเคยกับพระเจ้าพระองค์นี้

 

          ต่อจากนั้น ในหนังสืออพยพบทที่ 15 พระเจ้าทรงทำสัญญากับอับราฮัม หลังจากการถวายแพะตัวเมียเป็นยัญบูชาแล้ว “เมื่อดวงอาทิตย์คล้อยต่ำลง และเป็นเวลาค่ำ ทันใดนั้น มีหม้อไฟที่มีควันพลุ่งกับคบเพลิงที่ลุกอยู่ลอยผ่านระหว่างกลางสัตว์ที่ผ่าซีกเหล่านั้น ในวันนั้น พระเจ้าได้ทำพันธสัญญากับอับราฮัม โดยตรัสว่า “เราสัญญาว่าจะให้ดินแดนทั้งหมดนี้แก่ลูกหลานของเจ้า เป็นดินแดนตั้งแต่แม่น้ำอียิปต์ ไปจนถึงแม่น้ำใหญ่ยูเฟรติส” ดังนั้น พระเจ้าสูงสุดจึงกลายเป็นพระเจ้าแห่งพันธสัญญา

 

 

บัดนี้ เราจะพูดถึงคำว่าตำหนัก  หรือพลับพลา (tabernacle) ที่ใช้ในบทเร้าวิงวอนนี้

 

          คำอธิบายบทเร้าวิงวอนข้อที่ 5 นำเราไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งในพระวิหารของกรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งมีม่านบังไว้ไม่ให้คนทั่วไปมองเห็น นับตั้งแต่ยุคของซาโลมอน พระวิหารดำรงอยู่เพื่อเป็นที่เก็บรักษาพลับพลา อันที่จริง พลับพลานี้มีประวัติยาวนานกว่าพระวิหาร และหลายศตวรรษก่อนที่จะก่อสร้างพระวิหารในเยรูซาเล็ม พลับพลานี้คือเครื่องหมายว่าพระเจ้าประทับอยู่ท่ามกลางชาวอิสราเอล นี่คือชื่อที่ยาโคบ ได้รับหลังจากเขาได้ต่อสู้กับทูตสวรรค์ที่เปนีเอล ลูกหลานของยาโคบ ได้ชื่อว่าเป็น “บุตรของยาโคบ” และ “บุตรของอิสราเอล” เรื่องราวของพลับพลานำเราย้อนกลับไปสู่ยุคที่บุตรหลานของอิสราเอล ต้องเร่ร่อนนานกว่า 40 ปี ในทะเลทราย หลังจากออกจากอียิปต์ จนกระทั่งเข้าสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญา คือ คานาอัน

 

          พจนานุกรมพระคัมภีร์อธิบายคำว่า tabernacle ว่า “ชื่อนี้มักใช้ในพระคัมภีร์ฉบับภาษาอังกฤษ เมื่อกล่าวถึงพลับพลาศักดิ์สิทธิ์ของชาวอิสราเอลโบราณ…เห็นได้ชัดว่าเป็นการผสมผสานระหว่างรูปแบบของทะเลทราย และรูปแบบของพระวิหาร” คำว่า tabernacle ในภาษาฮีบรู มีอยู่ 2 ชื่อ คือ miskan (หมายถึงที่พำนัก) หมายความว่าเป็นสถานที่ซึ่งพระยาเวห์ มาพำนักอยู่ท่ามกลางมนุษย์ นี่คือรูปแบบของพระวิหาร อีกชื่อหนึ่งคือ okelmoel หมายถึงกระโจมสำหรับประชุม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของชาวอิสราเอล และหมายถึงกระโจมที่พระเจ้าทรงพบกับชาวอิสราเอล ผ่านโมเสส ดังนั้น tabernacle จึงเป็นสถานที่เผยแสดง” (หน้า 862)

          คำอธิบายนี้ควรทำให้เราเข้าใจคำว่า tabernacle ได้ชัดเจนว่าไม่ได้หมายถึงอาคาร แต่เป็นกระโจม พระคัมภีร์กล่าวถึงกระโจมสำหรับประชุม ที่ตั้งอยู่นอกค่ายของชาวอิสราเอล และโยชูวาเป็นผู้เฝ้าระวังภัย เมื่อโมเสสได้รับการเผยแสดงจากพระเจ้า ซึ่งเขาต้องถ่ายทอดให้ประชาชนทราบ (อพย 33:7-11) กระโจมนี้ถูกสร้างขึ้นตามแบบแผนของสวรรค์ซึ่งโมเสส ได้เห็นบนภูเขา บัดนี้ เราควรอ้างถึง tabernacle ในพันธสัญญาใหม่ ซึ่งมีการเอ่ยถึงพระเยซูเจ้า และดังนั้น จึงเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เรากำลังพูดถึง

 

          ข้อความสำคัญได้มาจากจดหมายถึงชาวฮีบรู ซึ่งบรรยายถึงพิธีกรรมในวัดชดเชยบาปในพันธสัญญาเดิมให้คนหนุ่มสาวในกรุงโรมฟังว่า“พันธสัญญาแรกยังมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับศาสนพิธี และมีพระวิหารแห่งแผ่นดินนี้ กระโจมถูกสร้างขึ้นดังนี้ ห้องแรกมีคันประทีป โต๊ะ และปังถวาย ห้องนี้เรียกว่า ‘สถานที่ศักดิ์สิทธิ์’เบื้องหลังม่านที่สองมีกระโจมซึ่งเรียกว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง ในห้องนั้นมีพระแท่นทองคำเผากำยาน และหีบพันธสัญญาหุ้มทองคำทุกด้าน ในหีบมีภาชนะทองคำใส่มานนา มีไม้เท้าของอาโรน ที่ผลิตดอกตูม และแผ่นศิลาจารึกพันธสัญญา ในห้องที่สองนี้มหาสมณะเพียงผู้เดียวเข้าไปปีละครั้ง และเมื่อเข้าไป ต้องนำเลือดแกะไปถวายเพื่อชดเชยบาป พระจิตเจ้าทรงแสดงให้เห็นว่าตราบใดที่ห้องแรกยังคงอยู่ ตราบนั้น หนทางไปสู่สถานศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งก็ยังไม่เปิดออก แต่เมื่อพระคริสตเจ้าเสด็จมาเป็นมหาสมณะผู้นำพระพรต่าง ๆ ที่พระเจ้าทรงสัญญาจะประทานมาให้ พระองค์เสด็จผ่านกระโจมที่ยิ่งใหญ่กว่า และสมบูรณ์กว่า (คือพระกายของพระองค์)พระองค์เสด็จเข้าสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งเพียงครั้งเดียวตลอดไป และทรงนำพระโลหิตของพระองค์เข้าไป และทรงกระทำให้การไถ่กู้นิรันดรสำเร็จ ดังนั้น พระคริสตเจ้าจึงทรงเป็นคนกลางในการทำพันธสัญญาใหม่” (9:1-15)ผู้ประพันธ์จดหมายนี้หมายถึงม่านของพระวิหารที่ฉีกขาดเมื่อพระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ (มธ 27:51) และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งเผยออกให้เห็นได้ นี่คือสัญลักษณ์ของการที่พระเยซูเจ้าทรงถูกแทงที่สีข้าง และพระหฤทัยของพระองค์ถูกเปิดออก ดังนั้น โดยผ่านพระเยซูเจ้า เราจึงได้รับทราบการเผยแสดงของพระบิดา และความรักของพระองค์อย่างต่อเนื่อง คือการเผยแสดงแผนการนิรันดรของพระองค์เพื่อไถ่กู้มนุษย์ และทรงพำนักท่ามกลางเรา การเป็นคนกลางของพระคริสตเจ้าเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในการถวายยัญบูชาในศีลมหาสนิท และในวัดคาทอลิกทุกแห่ง tabernacle กลายเป็นสถานที่พบปะระหว่างคริสตชน และพระเจ้าของเขา

 

          ดังนั้น จึงสมควรแล้วที่จะกล่าวว่าศีลมหาสนิทคือหัวใจของวัด และศูนย์กลางชีวิตศาสนาของเรา ในพระสมณสาสน์ Haurietis Aquas พระสันตะปาปาปีโอ ที่ 12 ทรงประกาศว่าความศรัทธาต่อพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์คือแก่นแท้ของคริสตศาสนา ดังนั้น จึงเป็นการยืนยันสิ่งที่ Cardinal Pie ได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้ เช่นเดียวกับหีบพันธสัญญาในพันธสัญญาเดิม พระหฤทัยของพระเยซูเจ้า คือความผูกพันระหว่างสวรรค์ และแผ่นดินโลก แผ่นศิลาพระบัญญัติ ซึ่งเก็บรักษาไว้ในหีบพันธสัญญาเป็นเครื่องหมายแสดงความซื่อสัตย์ของชนชาติอิสราเอลต่อพระประสงค์ของพระเจ้าสูงสุด สำหรับเรา พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าคือแบบอย่างของการยอมรับน้ำพระทัยของพระเจ้า

 

          เมื่อเราเข้าสู่พระตำหนักแห่งพระหฤทัยในศีลมหาสนิท เราจะมีประสบการณ์สองอย่าง คือ การขยายตัว และการบีบตัว อย่างที่นักเพ่งฌานบรรยายไว้ ในขบวนการบีบตัว พระหฤทัยของพระเยซูเจ้าทรงทำลายตนเองเบื้องหน้าพระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ และถวายพระองค์เองในยัญบูชาที่มีค่าอย่างไม่อาจประเมินได้ ในขบวนการขยายตัว พระหฤทัยนี้หลั่งพลังงาน และความกระตือรือร้นลงสู่พระกายทิพย์ของพระศาสนจักรเพื่อค้ำจุนพระศาสนจักร ขอให้เราพยายามมีส่วนในผลประโยชน์อันน่าพิศวงอันเกิดจากขบวนการทั้งสองนี้ของพระหฤทัยของพระคริสตเจ้าเถิด

» พระหฤทัยพระเยซู บุตรแห่งพระบิดานิรันดร

» พระหฤทัยพระเยซู ที่พระจิตทรงตกแต่งในครรโภทรแห่งพระมารดาพรหมจารี

» พระหฤทัยพระเยซู ร่วมสภาวะกับพระวจนาตถ์แห่งพระเจ้า

» พระหฤทัยพระเยซู ทรงมหิทธิศักดิ์ไม่มีขอบเขต

» พระหฤทัยพระเยซู วิหารศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า

» พระหฤทัยพระเยซู ตำหนักแห่งพระเจ้าสูงสุด

» พระหฤทัยพระเยซู เคหะของพระเจ้า และประตูสวรรค์

» พระหฤทัยพระเยซู เตาไฟโชติช่วงแห่งความรัก

» พระหฤทัยพระเยซู เครื่องรองรับความยุติธรรม และความรัก

» พระหฤทัยพระเยซู เปี่ยมด้วยคุณงาม และความรัก

» พระหฤทัยพระเยซู ขุมฤทธิ์กุศลทั้งปวง

» พระหฤทัยพระเยซู สมแก่คำสรรเสริญทุกประการ

» พระหฤทัยพระเยซู ราชา และศูนย์รวมแห่งดวงใจทั้งหลาย

» พระหฤทัยพระเยซู ขุมพระปรีชาญาณ และความรู้ทั้งปวง

» พระหฤทัยพระเยซู ที่ประทับแห่งพระเทวภาพครบบริบูรณ์

» พระหฤทัยพระเยซู ที่สบพระทัยแห่งพระบิดา

» พระหฤทัยพระเยซู ที่เราได้รับทานจากความบริบูรณ์ของพระองค์

» พระหฤทัยพระเยซู ความปรารถนาแห่งเนินเขานิรันดร

» พระหฤทัยพระเยซู ทรงอดทน และเมตตากรุณา

» พระหฤทัยพระเยซู ความมั่งคั่งสำหรับทุกคนที่มาวิงวอนพระองค์

» พระหฤทัยพระเยซู ธารแห่งชีวิต และความศักดิ์สิทธิ์

» พระหฤทัยพระเยซู ทรงชดเชยบาปของเรา

» พระหฤทัยพระเยซู ถูกสบประมาทอย่างท่วมท้น (Loaded with opprobrium)

» พระหฤทัยพระเยซู แหลกราญด้วยอาชญากรรมของเรา

» พระหฤทัยพระเยซู นอบน้อมจนสิ้นพระชนม์

» พระหฤทัยพระเยซู ถูกแทงด้วยหอก

» พระหฤทัยพระเยซู ธารความทุเลาบรรเทา

» พระหฤทัยพระเยซู ชีวิต และการคืนชีพของเรา

» พระหฤทัยพระเยซู สันติภาพ และการคืนดีของเรา

» พระหฤทัยพระเยซู ยัญบูชาไถ่บาปมนุษย์

» พระหฤทัยพระเยซู ความรอดของผู้วางใจในพระองค์

» พระหฤทัยพระเยซู ความวางใจของผู้ที่ตายในพระองค์

» พระหฤทัยพระเยซู ความโสมนัสปรีดาแห่งนักบุญทั้งหลาย

กลับหน้า พระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย