เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

วิทยาการก้าวหน้า

เลเซอร์ (Laser) 

              คำว่า Laser (เลเซอร์) ย่อมาจากคำว่า Light Amplification by Stimutated Emission of Radiation แปลว่า การเพิ่มแสงโดยการส่งรังสีที่ถูกกระตุ้น
                    เลเซอร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่ให้กำเนิดรังสีที่มีคุณลักษณะเฉพาะ ที่วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ประโยชน์ได้
                    เลเซอร์แบบแรกที่ให้แสงเลเซอร์ออกมา คือ  " เลเซอร์แบบทับทิม "   ผู้ประดิษฐ์คนแรก คือ ทีโอ เดอร์ เอชู ไมแมน (Theodore H.Maiman) โดยมีอุปกรณ์ที่สำคัญ คือ ส่วนปลายของเครื่อง มีรูทรงกระบอกอลูมิเนียม 2 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ภายในมีผลึกทับทิม ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นโดยการผสมอลูมิเนียม กับโครเมียมอ๊อกไซด์
                    หลักการสำคัญของเลเซอร์ คือ ความพร้อมเพรียงสม่ำเสมอ และคงที่โดยแสงที่ปล่อยออกมาทั้งหมด จะมีความยาวคลื่น สี และจังหวะเดียวกันหมด นั่นคือ ทำให้ยอดคลื่นทั้งหมดทับกันได้ ก่อให้เกิดแสงที่มีความสูง เหตุการณ์เช่นนี้ได้ชื่อว่า   " คลื่นผลึกกัน " (Coherent) ผลที่ได้ คือ ลำแสงที่มีความเข้มสูงอย่างยิ่ง ซึ่งผิดกับลำแสงธรรมดา เช่น แสงของไฟฉาย เมื่อฉายออกไป ลำแสงจะบานออกเป็นรูปกรวย ยิ่งไกลแสงจะอ่อนลง เป็นต้น
                                 เลเซอร์ แบ่งตามแหล่งพลังงาน ที่มากระตุ้นเลเซอร์ แบ่งได้ 3 แบบ คือ
                    1. เลเซอร์แบบอัดแสง ซึ่งอาจเป็นผลึกแก้ว ของเหลว แก๊ส พลาสติก เช่น เลเซอร์ทับทิม
                    2. เลเซอร์แบบอัดกระแสไฟฟ้าโดยตรง หรือความถี่วิทยุ เช่น เลเซอร์แก๊ส
                    3. เลเซอร์แบบฉีด โดยการฉีดกระแสไฟฟ้าแรงสูง เข้าไปยังไดโอดกึ่งตัวนำ
                                 ประโยชน์ของเลเซอร์ต่อมนุษย์
                    1. ใช้ในการถ่ายรูปที่มีอัตราเร็วสูงมากๆ เช่น กาะสุนปืน จรวดข้ามทวีป หรือตรวจจับเครื่องบินในตอนกลางคืน
                    2. ใช้เป็นตัวจุดระเบิดเชื้อเพลิงแข็งในจรวด ใช้ตัดขอบผ้าเทรีลีนหลายๆ ชั้น
                    3. ใช้เป็นเครื่องนำล่อง คือ ไจโรสโคปเลเซอร์ (Laser Gyroscope) โดยติดไปกับยานอวกาศ ที่ไม่มีมนุษย์ควบคุมเครื่อง ตัวไจโรสโคปเลเซอร์ จะควบคุมเส้นทางให้โดยอัตโนมัติ
                    4. ใช้ในวงการอุตสาหกรรม เช่น เชื่อมวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์
                    5. ใช้ในการสื่อสาร เช่น ในวงการโทรศัพท์ โทรทัศน์ เป็นต้น
                    6. ใช้ในวงการแพทย์ เช่น การเผามะเร็ง การทำศัลยกรรมหลอมหลอดเลือด
                    7. ใช้ในด้านการทหาร เช่น การต่อต้านขีปนาวุธ
                    8. ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การพิสูจน์เรื่องอีเทอร์ การวัดสเปกตรัม
                    9. ใช้ในการถ่ายภาพ 3 มิติ

คอมพิวเตอร์ (Computer)
ดาวเทียม (Satellite)
เลเซอร์ (Laser)
หุ่นยนต์ (Robot)
พลาสติก (Plastic)
เซรามิกส์ (Ceramics)
ปิโตรเลียม (Petroleum)
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย