ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
พลังโอสถทิพย์
สายปัจฉิม : สำนักเต๋าประเทศจีน
วิธีฝึก พลังโน้มนำโอสถทิพย์ (พลังขั้นพื้นฐาน)
การผ่อนคลาย
การผ่อนคลายหมายความว่า ให้ขจัดความตึงเครียดจากส่วนต่างๆของร่างกาย จนอยู่ในลักษณะสบายๆ การผ่อนคลายนั้มีความจำเป็นต่อการฝึก ไม่เพียงแต่อวัยวะภายในและกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ ของร่างกายเท่านั้น แม้จิตและอารมณ์ก็ต้องนิ่งด้วย เพราะการฝึกนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของผ่อนคลายและนิ่ง จึงจะได้ผล รวมทั้งเราสามารถยกระดับการฝึกด้วยท่าฝึก
- ถ่างขาสบายๆ ศีรษะตรง กางขายืนตรง ริมฝ่าเท้าที่ถ่างออกนั้นให้เสมอกับความกว้างของไหล่ทั้งซ้ายขวา ย่อเข่าเล็กน้อย สะบ้าเข่าอย่าให้เลยปลายนิ้วเท้า สะโพกลดต่ำลงเล็กน้อย ในลักษณะท่านั่งเก้าอี้สูง ปล่อยน้ำหนักของร่างกายลงบนขาทั้งสองข้าง
- ปิดตาและริมฝีปากสบายๆ
- ปล่อยวางทั้งหัวไหลและข้อศอก ห้อยแขนทั้งสองข้างโดยไม่หนีบรักแร้
- หุบหน้าอกเข้าเล็กน้อย อย่ายื่นอก หลังไม่โก่ง รักษากระดูกสันหลังให้อยู่ในแนวตรง
- หุบท้องเล็กน้อย ยืดบั้นเอวให้ตรง ท้องน้อยหุบเล็กน้อย เพื่อให้บริเวณหน้าอกขยายกว้าง
ท่าฝึกขั้นพื้นฐานข้างต้น เป็นท่าผ่อนคลาย และเป็นท่าเตรียมพร้อมที่จะฝึกท่าต่างๆ ของ "พลังโอสถทิพย์" ผู้ฝึกจะต้องยึดถือลักษณะของท่าฝึกดังกล่าวข้างต้น ตั้งท่าให้ถูกต้องเป็นธรรมชาติ
การหายใจ
ปกติให้หายใจเข้าออกตามธรรมชาติ แต่ถ้าการหายใจเป็นรูปแบบของท้องแล้ว
ก็ให้หายใจเข้าออกสั้นและเร็ว เพราะจะมีผลต่อการฝึกมากกว่า
วิธีผ่อนคลาย
วิธีขั้นพื้นฐานนั้นเป็นการผ่อนคลาย 3 แนวดิ่ง โดยแยกเป็นด้านหน้า หลัง
และด้านข้างทั้งสองของร่างกาย แล้วให้ผ่อนจากบนลงมาล่าง คือ
แนวที่ 1(ด้านหน้า) --->ศีรษะ --->ใบหน้า --->บริเวณหน้าอก --->บริเวณท้อง
--->ด้านหน้าขาท่อนบน --->สะบ้าหัวเข่า --->ขาท่อนล่าง --->เท้าทั้งสอง
--->นิ้วเท้า
แนวที่ 2 (ด้านหลัง) --->ด้านหลังศีรษะ --->บริเวณช่วงคอ --->บริเวณหลัง
--->บริเวณบั้นเอว --->ด้านหลังขาท่อนบน --->ขาท่อนล่าง --->ส้นเท้า
--->ฝ่าเท้า
แนวที่3 (ด้านข้างทั้งสอง) --->บริเวณด้านล่างทั้งสองของศีรษะ
--->สองหัวไหล่ --->แขนทั้งสอง --->มือทั้งสอง --->นิ้วมือทั้งสอง
เวลาหายใจเข้าให้ระมัดระวังบริเวณที่กำลังผ่อนคลายอยู่
และเวลาหายใจออกต้องอยู่ในลักษณะผ่อนคลาย
โดยให้กำหนดจิตไปอยู่ที่บริเวณที่กำลังผ่อนคลายจุดแรก
แต่ต้องระมัดระวังอย่าให้รุนแรงเกินไป เมื่อกำหนดจิตไปบริเวณที่ผ่อนคลายจุดแรกแล้ว
ให้กำหนดจิตไปอยู่บนบริเวณที่ผ่อนคลายจุดต่อไป ตามลมหายใจเข้าออกให้ครบ 3
แนวดิ่งแล้ว ให้กำหนดจิตเฝ้าจุดที่หยุดหายใจ 3 นาที
ส่วนบริเวณที่กำหนดจิตไปเฝ้านั้น
บุคคลทั่วไปให้กำหนดไปอยู่ที่บริเวณท้องน้อย ส่วนผู้ป่วยที่ร่างกายท่อนล่างอ่อนแอ
ให้กำหนดจิตไปที่จุด "หย่งเฉวียน" บริเวณอุ้งเท้า (จุดนี้หาได้โดยงอนิ้วเท้าทั้ง 5
แล้วจะปรากฎรอยบุ๋มที่ฝ่าเท้า ตรงรอยบุ๋มคือจุด หย่งเฉวียน)
ผู้ที่สมรรถภาพของม้ามและกระเพาะผิดปกติ มีอาการปวดแน่นท้อง ให้กำหนดจิตไปที่จุด
"จู๋ซันหลี่" บริเวณใต้สะบ้าหัวเข่า 3 นิ้ว (หน่วยวัดนิ้วในที่นี้
ให้อาจารย์ผู้สอนว่าเป็นนิ้วอะไร เพราะไม่ใช่นิ้วฟุต)
ผู้ที่สมรรถภาพของไตเสื่อมและอวัยวะเพศไม่แข็งตัว ให้กำหนดจิตไปที่จุด "มิ่งเหมิน"
บริเวณใต้ข้อกระดูกสันหลัง ข้อที่ 14
ผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงนั้น ให้ทำการฝึกผ่อนคลาย 3 แนวดิ่ง
ติดต่อกันหลายครั้ง ก็สามารถบรรเทาอาการมึนศีรษะได้
ผู้ที่เลือดลมไม่เพียงพอ อ่อนเพลีย ร่างกายไม่แข็งแรง ควรใช้วิธีผ่อนคลายทั้ง 3
แนวดิ่งพร้อมๆกัน
การฝึกพลังก่อนนอนนั้น จะฝึกวิธีผ่อนคลายครั้งละ 1 แนวดิ่ง หรือ 3
แนวดิ่งพร้อมๆกันก็ได้
ฉี้กงและพลานามัย
ประวัติย่อพลังโอสถทิพย์
การผ่อนคลาย
วิธีโน้มนำ 8 ท่า
พลังช่วยเสริม
ความหมาย "ฉี้กง"
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการฝึก
โรคที่เหมาะแก่การรักษา