ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

รพินทรนาถ ฐากูร

2

             ผลพลอยได้จากการชนะรางวัล นอกจากเกียรติประวัติ และเงินประมาณ 120000 รูปี ซึ่งได้นำไปใช้จ่ายในด้านการศึกษาของเด็กๆแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ รัฐบาลอังกฤษมอบยศ "ท่านเซอร์" ให้ในปีพ.ศ. 2458 แต่ไม่นานเขาก็บอกคืนเป็นการประท้วง ในกรณีที่ นายพลจัตวา ไดเออร์ นำกำลังทหาร เข้าล้อมกลุ่มชาวอินเดีย 20000 คน ซึ่งชุมุนมในงานพิธีทางศาสนา ณ สวนชลิยาวาลา ในรัฐปัญจาป เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2462 ขั่วเวลา 10 ปี กองทหารระดมยิงอย่างบ้าเลือดกว่า 1650 นัด ทำให้ผู้คนเสียชีวิตมากมาย
                     ถึงไม่มีคำว่า "เซอร์" นำหน้าชื่อ ใครๆก็ยังให้ความนิยมดุจเดิม รพินทรนาถ ได้รับคำเชิญจากประมุขรัฐบาลประเทศต่างๆ ให้เดินทางไปเยี่ยมเยียนและแสดงปาฐกถาตอลดเวลา เขาออกเดินทาง 10 ครั้ง ซึ่งเป็นการเดินทางรอบโลกเสีย 3 ครั้ง เคยล่องอเมริกาใต้ถึงเปรูและอาร์เจนติน่า ในเอเซียก็ผ่าน ญี่ปุ่น จีน และยังได้เคยมาพักอยู่ที่ โรงแรมพญาไท ในกรุงเทพฯอีกด้วย
                    ขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในประเทศเยอรมันนี นิตยสาร Modern Review ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2464 ได้รายงายข่าวว่า....
                 "...ณ มหาวิมยาลัยเบอร์ลิน ท่านกวีใช้เวลาครึ่งชั่วโมงยังไม่สามารถผ่านขึ้นไปยังหอประชุมได้ เพราะประชาชนเบียดแน่นอยู่ทุกขั้นบันได อธิการบดีขอร้องอย่างไรก็ไม่เป็นผล กระทั้งต้องประกาศว่าจะเรียกกำลังตำรวจมาจัดการ ก็ยังไม่มีคนถอย เพราะต่างก็อยากเห็นท่านกวีใกล้ๆกันทั้งนั้น อะไรจะขนาดนั้น.....
                 ในที่สุด ศาสตราจารย์คณะแพทยศาสตร์ท่านหนึ่งอาสาเดินหน้า และนักศึกษาเดินตามประมาณ 600 คน เพื่อผ่อนคลายความคับคั่ง ท่านกวีของเรา สัญญาว่าจะปลีกเวลาไปพบเป็นการพิเศษอีกครั้ง
                หลังจากจบปาฐกถาแล้ว ประชาชนประมาณ 15000 คน ยังเรียงรายตลอดทั้งสองฝั่งถนน พร้อมทั้งเปล่งเสียงแสดงความชื่นชมขณะที่ท่านกวีกลับออกมา..."

             เมื่อแปลเป็นภาษาสำคัญๆ ของโลก คีตญชลี ได้กลายเป็นหนังสือที่ขายดีอันดับหนึ่งอย่างรวดเร็ว นิตยสาร John O'London's Weekly ฉบับประจำวันที่ 30 กัยายน พ.ศ. 2465 ลงเป็นบทความว่า...
                 " ไม่เคยปรากฎว่านักเขียนนวนิยาย นักเขียนบทละคร หรือกวีชาวเยอรมันท่านใด จะประสบความสำเร็จเทียบเท่ากับ นักฝันผู้สุภาพชาวอินเดียคนนี้เลย แถวหนัวสือยาวเยียดของฐากูร ในราคาและรูปแบบต่างๆกัน วางเต็มตู้ตามร้านทั่วไป ฉบับย่อมเยาราคา 15 มาร์ก ฉบับสมบูรณ์จำหน่ายกันชุดละ 250 มาร์ก ถึง 300 มาร์ก เฉพาะที่สำนักพิมพ์ วูลฟฟ์ แห่งเดียว จำหน่ายไปแล้ว 800000 เล่ม
                เจ้าของสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งในนิวยอร์ค หลังการกลับจากตระเวนยุโรปแล้ว เปิดเผยว่า ขณะที่เขาอยู่ในเบอร์ลิน เห็นเจ้าของสำนักพิมพ์หลายแห่ง สั่งกระดาษหนักถึงหนึ่งล้านกิโลกรัม หรือมากกว่าสองล้านปอนด์ เพื่อพิมพ์หนังสือของรพินทรนาถ ให้ได้จำนวนสามล้านเล่ม

 

               นักอ่านชาวตะวันตกเปรียบเทียบ คีตญชลี ไว้ในลักษณะต่างกัน บ้างว่าปราดเปรื่องเสมอด้วย "บทเพลงของโซโลม่อน" (Song of Solomon) และบ้างก็ว่าบริสุทธิ์กว่า "บทสวดชองเดวิด" (Psalms of David) เอซรา พาวนด์ ไปไกลกว่านั้น คือเปรียบสูง่สงเท่ากับ "คัมภีร์ไบเบิล" เลยที่เดียว...ว๊าว... โดยเขาให้เหตุผลว่า "กล่าวโดยสรุป ข้าพเจ้าได้พบสามัญสำนึกในบทกวีเหล่านั้น มันได้เตือนให้พวกเราได้คำนึงถึงสิ่งอันได้เลือนหายไปจากคลองจักษุ ท่ามกลางความสับสนแห่งวิถีชีวิตแบบตะวันตก..."
              ส่วนรพินทรนาถได้รับการยกย่องว่าเป็นเสมือน "ยอห์นผู้ประกอบพิธีศีลจุ่ม" หรือเรียกตามสำนวนของหอพระคริสตธรรมว่า "โยฮันผู้ให้บัพติสมา" คือผู้ที่ทำหน้าที่วางรากฐาน เพื่อให้พระเยซูประกาศสัจธรรมโดยสะดวก และยิ่งกว่านั้นยังมีบางคนพูดตรงๆเลยว่า ต้องเปรีบยกับพระเยซูเอง จึงจะตรงกับความเป็นจริงมากกว่า....เฮ้ย...ขนาดนั้นเลยหรอ....เอาเข้าไป
              แต่งานชิ้นต่อมาแทนที่จะปรากฎในทำนองเอาใจผู้อ่าน รพินทรนาถกลับเสนอบทนิพนธ์ "คนทำสวน" (The Gardener) เขาชี้แจงอย่างไม่อ้อมค้อมว่า " เพื่อเห็นแก่พระเจ้า โปรดอย่าลืมว่าข้าพเจ้าไม่ใช่นักสอนศาสนา แท้ที่จริงข้าพเจ้าเป็นกวีต่างหาก"
              ปรัชญาชีวิตของรพินทรนาถ ยึดมั่นอญุ่กับการต่อสู้ ไม่หลีกเร้นเอาตัวรอดอย่างคนสิ้นคิด ตอนหนึ่งของบทนิพนธ์เรื่อง "ผู้หลบหนี" (The Fugitive) บรรยายว่า....

               " ชายหนุ่มคนหนึ่งบำเพ็ญเพียรในป่าลึก เด็กสาวคนเก็บฟืนพบเข้าจึงนำผลไม้ไปถวาย แต่ชายหนุ่มกลับไม่ยอมแตะต้อง ซ้ำหลบไปหาที่พำนักแห่งใหม่ เพื่อให้พ้นจากการรบกวน ในที่สุดพระอิศวรทรงรับรู้ถึงในตบะอันแก่กล้า จึงเสด็จลงมาประกาศว่า โยคีรูปนี้มีสิทธิ์ในสวรรค์แล้ว ชายหนุ่มกลับปฎิเสธว่า ไม่ปรารถนาดอก มหาเทพทรงซักว่าประสงค์สิ่งใดเล่า เขาตอบว่า ข้าอยากพบหญิงเก็บฟืนผู้นั้น "

อ่านหน้า3

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย