วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

รามเกียรติ์

ฉบับร้อยแก้ว

ความเป็นมาของเรื่องรามเกียรติ์

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ เป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อใช้เล่นละคร จึงมิได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ทั้งเรื่อง ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละครได้เท่านั้น บางตอนทรงนิพนธ์ใหม่ทั้งเรื่อง ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละครได้เท่านั้น บางตอนทรงพระราชนิพนธ์เอง บางตอนก็โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ตรวจชำระและจัดพิมพ์ในงานพระราชกุศลฉลองพระตำหนักจิตรดารโหฐาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ และทรงพระราชนิพนธ์คำนำไว้ว่าเป็นหนังสือที่อ่านไม่เบื่อ เป็นภาษาไทยที่ดี และเป็นหนังสือสำคัญของชาติ

รามเกียรติ์ มีที่มาจากเรื่อง รามยณะ ที่ฤๅษีวาลมิกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ มาแล้ว และได้แพร่หลาย จากอินเดียไปยังประเทศใกล้เคียง และได้มีการเพิ่มเติมรายละเอียด ผิดแผกแตกต่างออกไปจากต้นฉบับเดิมไปไม่น้อย รามยณะเป็นปางหนึ่งในสิบปางของการอวตารมาปราบยุคเข็ญของพระนารายณ์ ที่มีชื่อว่า รามาวตาร

สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อใช้เล่นละคร จึงมิได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ทั้งเรื่อง ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละครได้เท่านั้น บางตอนทรงนิพนธ์ใหม่ทั้งเรื่อง ทรงเลือกเฉพาะตอนที่จะนำมาแสดงละครได้เท่านั้น บางตอนทรงพระราชนิพนธ์เอง บางตอนก็โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา ตรวจชำระและจัดพิมพ์ในงานพระราชกุศลฉลองพระตำหนักจิตรดารโหฐาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ และทรงพระราชนิพนธ์คำนำไว้ว่าเป็นหนังสือที่อ่านไม่เบื่อ เป็นภาษาไทยที่ดี และเป็นหนังสือสำคัญของชาติ

จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยดัดแปลงจากพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เพื่อใช้ในการเล่นโขน ซึ่งจะมีอยู่เพียงบางตอนที่คัดเลือกไว้เท่านั้น เช่น ตอนนางลอย ตอนหักคอช้างเอราวัณ ตอนสีดาลุยไฟ เป็นต้น รามเกียรติ์เป็นวรรณคดีที่สำคัญของไทย เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เนื้อเรื่องและสำนวนกลอน ในเรื่องรามเกียรติ์มีความไพเราะ มีคติสอนและแง่คิดในด้านต่าง ๆ อยู่เป็นอันมาก สอดแทรกเอาไว้ตลอดทั้งเรื่อง ตามหลักนิยมของอินเดียในเนื้อเรื่อง และหลักนิยมของไทยในสำนวนกลอน

<< สารบัญ || หน้าถัดไป >>

ภาพตัวละครบางส่วนจาก เรื่องรามเกียรติ์

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย