ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

สงครามศาสนา

ศาสนาซิกข์กับสงคราม

คุรุนานักราชาแห่งฟากีร์ ต่อฮินดูท่านเป็นคุรุ ต่อมุสลิมเป็นปีร์ท่านคุรุนานักเองนั้นท่านเป็นฮินดู และศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้จากปราชญ์อิสลาม และในการสั่งสอนศาสนาไปทั่วอินเดียและนอกอินเดียนั้นท่านก็สอนทั้งฮินดูและอิสลามจนคนทั้งสองศาสนานั้นเคารพนับถือท่านอย่างมาก สมัยนั้นเกิดการรบราฆ่าฟันกันระหว่างชาวมุสลิม (ผู้ถือศาสนาอิสลาม) กับชาวฮินดู เป็นสงครามศาสนาที่ยืดเยื้อมานานแล้ว คุรุนานักจึงแสวงหาทางสันติแก่ทั้งสองฝ่าย ท่านเลือกเอาสาระสำคัญจากสองศาสนามาสอนประชาชน ให้ทั้งสองฝ่ายเลิกถือศาสนาอย่างมงาย ให้ทำตัวเป็น "ศิษย์" ที่ดีของศาสนาของตน ด้วยเหตุนี้ จึงมีคนออกจากศาสนาเก่าทั้งสองมาสมัครเป็นศิษย์มากขึ้น และผลที่สุดก็กลายเป็นศาสนาซิกข์มาจนทุกวันนี้, บางทีเขียน ซิก หรือ สิกข์.  

สาวกใกล้ชิด2คนของท่านคนหนึ่งเป็นมุสลิมคนหนึ่งเป็นฮินดู จนกระทั่งเมื่อท่านสิ้นชีพ ทั้งคนมุสลิมและฮินดูต่างก็ปรารถนาจะเอาศพท่านไปประกอบพิธีกรรมตามลัทธิของตน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านมิได้ประกาศตั้งศาสนาใหม่เป็นเอกเทศแต่อย่างใด

ส่วนผู้ที่ประกาศแยกตัวออกจากอิสลามและฮินดูนั้นเป็นท่านคุรุในลำดับที่5 คุรุอรชุน คำประกาศแยกตัวของท่านปรากฏเป็นหลักฐานดังนี้

  • ข้าพเจ้าไม่บำเพ็ญทุกกิริยาแบบฮินดู และถือบวชแบบอิสลาม -ข้าพเจ้ารับใช้พระผู้เป็นเจ้าพระองค์เดียวผู้เป็นสรณะของข้าพเจ้า
  • ข้าพเจ้ามีนายองค์เดียว ผู้ซึ่งเป็นพระอัลเลาะฮ์ด้วย
  • ข้าพเจ้าแยกตนจากฮินดูและอิสลาม
  • ข้าพเจ้าไม่ร่วมกระทำบูชากับฮินดู และไม่ไปเมกกะกับอิสลาม
  • ข้าพเจ้าจะรับใช้พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวไม่มีนายอื่น
  • ข้าพเจ้าจะไม่เคารพรูปเคารพ และจะไม่สวดอ้อนวอนแบบอิสลาม
  • ข้าพเจ้าจะมอบจิตของข้าพเจ้าไว้ที่ปรมาตมันองค์เดียว เพราะพวกเราไม่ใช่ทั้งฮินดูและอิสลาม

นี่คือหลักฐานที่เป็นทั้งคำปฎิญาณและคำประกาศที่แสดงถึงการแยกตัวออกจากศาฮินดูอย่างชัดเจน

ความรุ่งโรจน์ของชาวซิกข์

อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆของชาวซิกข์ได้ทำให้จาฮังกิรจักรพรรดิ์แห่งราชวงศ์มุกอล(โมกุล)ต้องสกัดกั้นการเจริญเติบโตของศาสนาใหม่นี้ จาฮังกิรได้ประหารคุรุอารยันเทพใน ค.ศ.1606 หลังจากนั้น ความเป็นผู้นำของคุรุคนที่เจ็ดและแปด (คุรุฮาร์รัย ระหว่าง ค.ศ.1644 – 1661 และคุรุฮาร์ กริชาน ระหว่าง ค.ศ.1661 - 1664) ก็ไม่มีอะไรโดดเด่นเพราะคุรุทั้งสองจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรงกับผู้ปกครองแห่งราชวงศ์มุกอล แต่คุรุเทฆ บาฮาดูร์ซึ่งเป็นคุรุผู้สืบทอดต่อจากนั้นระหว่าง ค.ศ.1664 –1675 ได้ถูกฆ่าหลังจากตั้งตัวแทนไปยังจักรพรรดิ์โอรังเซบเพื่อต่อต้านการกดขี่ข่มเหงทางศาสนาต่อบัณฑิต (ครู)ที่แคชเมียร์เมื่ออาณาจักรแห่งราชวงศ์มุกอลล่มสลายและอิทธิพลของอาฟกันตกต่ำในแคว้นปัญจาบ ศตวรรษที่ 18 ก็เป็นช่วงเวลาแห่ความรุ่งโรจน์ทางการเมืองของชาวซิกข์ในแคว้นนั้น เพราะชาวซิกข์ซึ่งเคยเป็นชนกลุ่มน้อยได้ขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองในแคว้นปัญจาบ

ปฏิบัติการดวงดาวสีฟ้า

ในช่วงปี ค.ศ.1980 พวกคลั่งลัทธิและผู้ก่อการร้ายได้สร้างเรื่องที่นำความเสื่อมเสียมาให้ชุมชุนชาวซิกข์ กล่าวคือ นักรบชาวซิกข์ได้เข้าไปมีส่วนในการต่อสู้นองเลือดเพื่อแยกดินแดนเป็นชาติซิกข์อิสระ (คอลิสถาน) ในรัฐตอนเหนือของแคว้นปัญจาบซึ่งชาวซิกข์มีอิทธิพลอยู่   

อย่างไรก็ตาม   เนื่องจากการรณรงค์ เพื่อความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของชาวซิกข์ไม่สามารถบรรลุถึงข้อตกลงทางการเมืองกับทางศูนย์กลางได้พวกที่เป็นนักรบอาสาสมัครซึ่งนำโดยสันติ์ จาร์เนล ซิงห์   พินทรันวาลี  ก็ได้เรียกร้องให้มีการปฏิบัติการโดยตรงซึ่งยังผลให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในปัญจาบ

ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ.1984 กองทัพอินเดียได้เริ่มปฏิบัติการภายใต้ชื่อ“ดาวดาวสีฟ้า”โดยเข้าไปในวิหารทองคำเพื่อที่จะขับไล่สันต์ จาร์เนล ซิงห์ พินทรันวาลีและพวกที่เข้าไปหลบอยู่ข้างในการปะทะกันครั้งนั้นได้ทำให้นักรบชาวซิกข์เสียชีวิตประมาณ 1,000 คน ดูเหมือนว่าบรรดาผู้ที่เข้าไปสร้างมลทินให้วิหารทองคำก็ต้องเสียชีวิตพวกตนไปเช่นกันไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้นไหนก็ตาม ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.1984 องค์รักษ์ชาวซิกข์สองคนของนางอินทิรา คานธี ได้ลอบสังหารนางเพราะนางเป็นคนที่สั่งให้ทหารเข้าไปเหยียบย่ำวิหารทองคำหลังการลอบสังหารนางอินทิรา พวกซิกข์ก็ถูกตอบโต้โดยการถูกตามสังหารหมู่ทันทีและได้มีความรุนแรงเกิดขึ้นในเดลฮีและส่วนอื่นๆของประเทศ ชาวซิกข์ประมาณ 3,000 คนได้ถูกฆ่าในการจราจลต่อต้านชาวซิกข์และกว่าแคว้นปัญจาบจะเกิดความสงบเหมือนเดิมได้ก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร

ความสัมพันธ์กับมุสลิม

มัสญิดเก่าแก่อายุ 400 ปีแห่งหนึ่งในตำบลกูร์ดาสปูร์ในแคว้นปัญจาบได้ถูกพวกซิกข์ยึดไว้เป็นเวลา 55 ปี พวกซิกข์ยึดมัสญิดแห่งนี้ไว้หลังจากที่มุสลิมออกจากพื้นที่ไประหว่างสงครามกู้เอกราชของปากีสถานใน ค.ศ.1947 และพวกซิกข์ได้ใช้มัสญิดแห่งนี้เก็บคัมภีร์ทางศาสนาของตนไว้และใช้ทำพิธีเทศนาประจำวัน คณะกรรมการทรัพย์สินสาธารณกุศลแห่งแคว้นปัญจาบได้ติดต่อและขอร้องพวกซิกข์ให้คืนมัสญิดดังกล่าว หลังจากที่มีการพบปะและเจรจาต่อรองกันหลายครั้ง ในที่สุด พวกซิกข์ก็ตกลงที่จะส่งมัสญิดแห่งนั้นคืนให้แก่มุสลิมในเดือนมีนาคม ค.ศ.2002 มัสญิดทางประวัติศาสตร์แห่งนี้จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมและจะต้องใช้เวลาในการรักษามันไว้ในรูปแบบเดิมเพื่อที่มุสลิมจะได้เข้าไปละมาด

ชาวซิกข์ในอินเดียและต่างประเทศ

ในปัญจาบมีชาวซิกข์ประมาณ 12 ล้านคนและอีกกว่า 3 ล้านในรัฐและดินแดนที่ติดกับอินเดีย   ในเบงกอลตะวันตก ในมัธยประเทศและในมหารัชตระก็มีชุมชนชาวซิกข์เล็กๆหลายแห่ง ชาวซิกข์อีกส่วนหนึ่งประมาณ 1 ล้านคนได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ แคนาดาและสหรัฐ นอกจากนี้ก็มีชุมชนเล็กๆในประเทศยุโรปแทบทุกประเทศ ในตะวันออกกลาง เอเซียตะวันออก อาฟริกาและออสเตรเลีย

ความพยายามสะสมกำลังและแผ่ขยายอำนาจให้เจริญขึ้นเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อล่วงมาถึงคุรุลำดับที่ ๓. คุรุอมาร์ ทาส (Amardas พ.ศ.๒๐๙๕ - ๒๑๑๗) เริ่มขยายตัวในลักษณะของการจัดตั้งทางการเมือง โดยอาศัยเงาของบทบาททางศาสนาเป็นเครื่องพราง คือได้มีการจัดตั้ง มัญชะ (Manjas) ขึ้น22แห่ง แต่ละมัญชะอยู่ภายใต้การปกครองของซิกข์ผู้ใจบุญ มัญชะเหล่านี้จะเป็นที่ที่พวกซิกข์มาชุมนุมกันเพื่อบูชาและเป็นที่ที่จะส่งพวกเผยแพร่ศาสนาออกไปปฎิบัติการ กล่าวได้ว่ามัญชะนี้ก็คือฐานปฎิบัติการ หรือฐานทัพนั่นเอง

ซึ่งต่อมาเมื่อท่านคุรุอรชุนประกาศแยกตัวออกจากฮินดูและอิสลาม ฝ่ายอิสลามซึ่งถืออำนาจรัฐอย่างเด็ดขาดในตอนนั้นในนามแห่งราชวงศ์โมกุลซึ่งครองอำนาจเหนืออินเดียทั้งหมด จึงคิดจะตัดไฟตั้งแต่ต้นลมโดยการตั้งข้อหาคุรุอรชุนว่าร่วมเป็นกบฎกับเจ้าชายคุสเรา (Khusrau) ซึ่งมีผลให้ต้องโทษประหารชีวิต จึงเป็นที่มาของสงครามกลางเมือง ต่อมาในสมัยของคุรุ หริโควินทะท่านมีความเชื่อฟังคำสั่งสุดท้ายของท่านคุรุอรชุน จึงได้เรียกระดมกำลังทหาร ในระหว่างที่ท่านเป็นคุรุอยู่นั้น ได้มีการปะทะกับกองทัพโมกุลรายครั้งทั้งยังมีการปะทะกับราชาของเผ่าต่างๆที่เชิงเขาหิมาลัยอีกด้วย คุรุได้กลายเป็นผู้นำทั้งในด้านการทหารและจิตใจ

ต่อจากคุรุหริโควินทะก็มีคุรุผู้สืบสันติเป็นลำดับที่๗ที่๘อีก๒ท่าน จนถึงคุรุลำดับที่๙คุรุ เทคพาหาทูร์ จักรพรรดิโอรังเซบแห่งราชวงศ์โมกุลมองเห็นท่านเป็นภัยร้ายกาจที่ต้องกำจัด จึงเกาะกุมตัวจากแคว้นอัสสัมไปสู่ราชสำนัก ยื่นคำขาดว่าจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามหรือจะตาย ปรากฏว่าท่านยอมตายดีกว่าเปลี่ยนศาสนา โอรังเซบจึงยื่นความตายให้แก่ท่าน

เมื่อคุรุถูกฆ่าโดยปราศจากความผิดใดๆแบบนี้คุรุ โควินทสิงห์ ซึ่งขึ้นครองตำแหน่งคุรุต่อจากบิดาจึง ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่าสงคราม จนกระทั่งชาวซิกข์ปรากฎรูปลักษณ์ของนักรบติดตัวเป็นประจำมาจนกระทั่งบัดนี้

คุรุโควินทสิงห์ เป็นผู้ริเริ่มลัทธิศีลจุ่ม (Baptismal Rite) ขึ้นในลัทธิซิกข์ เป็นผู้ริเริ่มประกอบพิธีให้ผู้มาเป็นสานุศิษย์ ด้วยวิธีประพรมน้ำมนต์ และวิธีให้ดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีดาบคมแช่ไว้ เป็นเครื่องหมายว่าผู้ดื่มน้ำต้องเป็นผู้กล้าหาญ  น้ำดังกล่าวนี้เรียกว่า "น้ำอมฤต" ผู้ได้ดื่มเท่ากับถึงความบริสุทธิ์ พร้อมที่จะออกรบเพื่อจรรโลงชาติศาสนา  

ประวัติประกอบเรื่องลัทธิพิธี "ศีลจุ่ม" มีอยู่ว่า กษัตริย์มุสลิมผู้เรืองอำนาจคือ โอรังเซฟ ได้เข้ามาครอบครองอินเดีย ข่มขู่ชาติศาสนาอื่น ไม่มีนักรบอินเดียเหล่าใดจะปราบปรามโอรังเซฟได้ คุรุโควินทสิงห์ จึงฝึกศิษย์ขึ้นหมู่หนึ่ง ทำสัตย์ปฎิญาณจะต่อสู้กับศัตรู ซึ่งมีกำลังมากกว่า โดยให้ตักน้ำจากแม่น้ำหม้อหนึ่ง เทน้ำนั้นลงในภาชนะใหญ่ใบหนึ่ง แล้วเอาดาบประจำตัวของท่านคุรุมากวนน้ำ บริกรรมมนต์อันเป็นศาสโนวาทของคุรุ แต่เก่าก่อนเรียกน้ำนั้นว่า น้ำอมฤต แล้วรดน้ำอมฤตลงบนศีรษะของศิษย์ และให้จิบน้ำสามครั้ง นับเป็นการรับศีลอกาลี (ไม่มีกาล - เป็นนิรันดร อันเป็นสรรพนามของพระเจ้า) ที่บัญญัติขึ้นใหม่

มหาตมะคานธี คือผู้มองโลกอย่างเป็นกลางที่สุด...เขาเชื่อในพระเจ้าทุกพระองค์ และ อ่านคัมภีร์มาแล้วทุกศาสนาคานธีเคยกล่าวไว้ว่า ศาสนาทุกๆศาสนามีอยู่จริงพระเจ้าทุกๆพระองค์มีอยู่จริง...ทุกๆศาสนาล้วนแล้วแต่เป็นความจริงทั้งสิ้นผู้ใดจะนับถือศาสนาใด ก็ควรนำเอาหลักของศาสนานั้นๆมาปรับให้เข้ากับการดำเนินชีวิตควรหันหน้าเข้าหาพระเจ้า มีความสำนึกในพระเจ้าของตน และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนารวมถึงไม่จำเป็นต้องโน้มน้าวให้ใครมาอยู่ในศาสนาของตน เพราะแต่ละคนย่อมมีชะตาที่เข้ากับแต่ละศาสนาไม่เหมือนกันถ้าทำได้ดังนี้ ความสุขในแต่ละศาสนาก็จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน และสงครามทางศาสนาก็คงจะไม่อุบัติขึ้นแน่นอน..

เนื่องจากวันที่ 30 Jan. เป็นวันที่มหาตะมะ คานธีถูกยิงเสียชีวิต จากชาวฮินดู ขวาจัดที่เชื่อว่า คานธีเป็นคนที่สนับสนุนให้อังกฤษแบ่งอินเดียเป็น สองส่วนคือ อินเดีย และปากีสถาน โดยยึดจากจำนวนประชากรที่นับถือศาสนา ส่งผลให้ชาวอิสลามที่อยู่ในอินเดีย ต้องอพยพย้ายไปอยู่ที่ปากีสถาน เช่นเดียวกับชาวฮินดู หรือซิกห์ ก้อต้องย้ายไปอยู่ในอินเดีย แล้วทำให้เกิดสงครามกลางเมืองฆ่ากันเอง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นก้อยังร่วมกันเรียกร้องอิสระภาพเพื่อแผ่นดินตนเองจากอังกฤษ โดยไม่ต้องเกิดการตาย โดยวิธี อหิงสา เมื่อเรียกร้องอิสระภาพได้แล้ว กลายเป็นว่าต้องมาฆ่ากันเอง ซึ่งคานธี เคยเขียนบทความจากเหตุการ์ณครั้งนี้ว่า " ข้าพเจ้าเป็นทั้งชาวฮินดู คริสเตียน มุสลิม ยิว พุทธ และผู้นับถือขงจื้อ ศาสนาเป็นเพียงถนนต่างเส้นทาง ที่มุ่งไปยังจุดหมายเดียวกัน"

อ่านต่อ >>>

สงครามครูเสด
สงครามอินเดีย-ปากีสถาน
ศาสนาซิกข์กับสงคราม
สงครามศาสนา ในประเทศเลบานอน
สงครามสายเลือดในไอร์แลนด์เหนือ
หนทางสู่สันติสุข

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย