ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

สงครามศาสนา

สงครามศาสนา ในประเทศเลบานอน

สงครามเลบานอน คือสงครามระหว่าง คริสเตียน กับมุสลิม แต่มิได้เกิดขึ้นเมื่อ  10 – 20 ปี มานี้เท่านั้น แต่หากมีประวัติ สืบเชื้อสายมานับร้อย ๆ ปี เลยทีเดียว โดยสาเหตุบ่งชี้ก็มีอยู่ถึง2 อย่างซึ่งมีอยู่แต่ในเฉพาะประเทศเลบานอนเท่านั้น

  • ประการแรก คือ เส้นสีเขียว(Greenline) เป็นเส้นที่แบ่งเขตกรุงเบรุต ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเลบานอนออกเป็น สองซีก คือ ซีก ตะวันออก เป็นของชาว คริสเตียน และ ซีกตะวันตก เป็นของชาวมุสลิม
  • ประการที่สองคือ ระบบรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นตัวแทนของปวงชน ที่นับถือศาสนาเป็นหลัก จำนวน 66 คน เป็นผู้แทนจากนิกายศาสนาต่าง ๆ ดังนี้
  • คริสเตียนนิกาย มาโรไนท์ ซึ่งเป็นกลุ่มศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในเลบานอน  20 ที่นั่ง
  • มุสลิม นิกายสุหนี่      14 ที่นั่ง -มุสลิม นิกาย ชิอ่ะห์ 12 ที่นั่ง
  • คริสเตียน นิกาน กรีกออร์โธดอกซ์   7 ที่นั่ง
  • มุสลิม นิกายดรูสส์   4 ที่นั่ง
  • คริสเตียนนิกาย กรีกคาทอริก  4 ที่นั่ง
  • คริสเตียน นิกายอาร์เมเนียน ออร์โธดอกซ์  3 ที่นั่ง
  • คริสเตียน นิกายอาร์เมเนียน คาทอลิก 1 ที่นั่ง
  • ชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ  1 ที่นั่ง

โดยหลักเกณฑ์นี้เป็นตัวการให้เกิดความวิวาท บาดหมางระหว่างศาสนาโดยตรง เพราะว่าจำนวนโควตาที่กล่าวมานั้น ฝ่ายคริสเตียน มีเสียงในส4า ถึง 35 เสียง แต่ ฝ่ายมุสลิม มีอยู่พียง 30 เสียงเท่านั้น

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสงครามเลบานอน

สงครามเลบานอน นั้น เป็นสงครามระหว่าง คริสเตียน นิกายมาโรไนท์ กับมุสลิม นิกายดรูส์โดยจุดเริ่มต้น คือมีนักปราชญ์ใหญ่ทางกฏหมายชาวเลบานอนได้ไปแต่งงานกับสาวชาวซีเรีย และมีบุตรคนหนึ่งซึ่งภายหลังบุตรนั้นได้ครองราชบัลลังค์ และตั้งราชวงค์ขึ้น ซึ่งบุคคลผู้นี้เลื่อมใสศาสนาคริสต์อย่างมาก

เมื่อพระเจ้าแผ่นดิน นับถือคริสต์ ก็เป็นธรรมดาที่ข้าแผ่นดินทั้งหลายก็ต้องเป็นคริสต์กันไปด้วย เป็นอันว่าชาวเลบานอน ตั้งแต่ คริสตศตวรรษ ที่4 นั้นได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของศริสตศาสนาโดยทั่ว ส่วเรื่องที่เป็นสาเหตุให้มีสงครามจนถึงทุกวันนี้ มันเริ่มก่อตัวในศริสตศตวรรษ ที่7 คือ มนุษย์ได้พบเห็นศาสนาเกิดใหม่ อีกศาสนาหนึ่ง ซึ่งเป็นศาสนาที่มีความฉกาจฉกรรจ์อยู่ในเนื้อหาสาระ อย่างชัดเจน เป็นศาสนาที่ยึดอุดมการณ์ว่า ดาบคือกุญแจสวรรค์ นั่นได้แก่ ศาสนา อิสลาม ในช่วงระหว่าง คริสตศักราช 630  ถึง 640  กองทัพมุสลิม ได้ควงกุญแจอันคมกริบ เข้ายึด ซีเรีย และเลบานอน โดยยึดซีเรียไปเป็นดินแดนมุสลิม และสถาปนากรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรีย เป็นศูนย์กลางมุสลิม แต่มีชาวคริสเตียนในเลบานอนส่วนหนึ่งไม่ยอม โดยพวกเขาพากันอพยพขึ้นไปทางเหนือ ปักหลักสู้มาจนถึงทุกวันนี้ ชาวคริสต์กลุ่มนี้เป็นต้นตระกูลของนิกาย มาโรไนท์ โดยคำว่ามาโรไนท์ นั้นมาจากชื่อของหัวหน้าชาวคริตส์ที่เป็นผู้นำในการอพยพ ท่านผู้นั้นชื่อ จอห์น มารอน (John Maron) และท่านผู้นี้ก็อยู่ในฐานะเทพบิดรของชาวเลบานอน

พวกมุสลิมที่เป็นคู่แค้นกับ คริสเตียนมาโรไนท์ คือ มุสลิม นิกาย ดรูสส์ โดยแยกมาจากนิกายมาอิลลี ซึ่งเป็นพวกที่นิยมความรุนแรง ตอนที่นิกายดรูสส์แตกหน่อออกมาเป็นนิกายมาอิลลี สาเหตุมาจาก พระเจ้า ฟาติมิด ที่ 6 พระนามว่า อัลฮากิม ได้ประกาศพระองค์ว่า ทรงเป็นองค์ อวตาร องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้าที่ทรงมาอุบัติในโลกมนุษย์นี้ และการประกาศเช่นนี้ก็หมายถึงการแย่งยึดอำนาจสูงสุด จากที่เคยประกาศมาก่อนซึ่งมีสาวกนับถืออยู่มากมายแล้วนั่นเอง

มุสลิมนิกายนี้ไม่มีในเมืองไทย และไม่มีแพร่ไปในถิ่นต่าง ๆ ประมาณการผู้ที่นับถือนิกายนี้ คือ 320000 คน 88% อยู่ในซีเรีย และลักษณะพิเศษของมุสลิมนิกายนี้ คือ มีบทบัญญัติประจำชีวิตของตนเอง 7 ประการ ซึ่งต่างจาก บทบัญญัติประจำวันของมุสลิมทั่วไปซึ่งมี 5 ประการ คือ “

  1. ยึดมั่นในทอฮิด คือศรัทธามั่นคงในลัทธิถือพระเจ้าองค์เดียว และเชื่อว่า อัล- ฮากิน      เป็นองค์อวตารสุดท้ายของพระเป็นเจ้า
  2. ปฏิเสธคำสอนที่ไม่ใช่ของดรูสส์ ทั้งหมด
  3. หลีกเว้นความชั่วทั้งหลาย
  4. ไม่ว่าพระเป็นเจ้าจะให้คุณให้โทษอย่างไรยอมรับโดยไม่ปริปาก
  5. ยอมมอบกายถวายชีวิตแด่ พระเจ้า
  6. เพียบพร้อมไปด้วยความสัตย์และความจริง
  7. ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และผนึกกำลังเป็นอันหนี่งอันเดียวกันระหว่างพวกดรูสส์ ”

ที่กล่าวมาสารานุกรมบางฉบับเรียกพวกนี้ว่า มุสลิมนอกรีต คือมีความผิดแปลกไปในส่วนที่เป็นหัวใจของศาสนา รวมถึงระบบชีวิตในสังคม ในเรื่องการเผยแผ่ศาสนา ก็จะจำกัดอยู่ในวงของพวกดรูสส์ด้วยกันเท่านั้น กลายเป็นสังคมปิดคนในไม่ให้ออก คนนอกไม่ให้เข้า

ดังนั้นการทำสงครามในเลบานอนจึงมิได้เป็นการผนึกกำลังของมุสลิมทั้งมวล แต่เป็นการทำสงครามแบบธุระใครธุระมัน เกิดการเข่นฆ่ากันเองเพื่อความเป็นใหญ่

เหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในสงครามเลบานอน เกิดในปี คริสตศักราช 1860  เกิดการสู้รบระว่าง คริสเตียน กับมุสลิม โดยมีเจ้าภาพหนุนหลัง ทั้งคู่ คือ ฝรั่งเศสหนุนหลังคริสเตียน และอังกฤษ กับตุรกี หนุนหลังมุสลิม ในสงครามครั้งนี้ชาวคริสเตียน เสียชีวิต ประมาณ 11,000 และอดตายอีก ราว  4,000 คน ส่วนพวกดรูสส์ ก็เสียชีวิตไปไม่น้อยเช่นกัน ฝ่ายฝรั่งเศส เห็นมุสลิมโจมตีฝ่ายคริสเตียน อย่างหนัก จึงแสดงตัวอย่างเปิดเผย โดยเอากำลังรบจากประเทศของตนมาจากยุโรป

ผลคือ ปราบมุสลิมนิกายดรูสส์ลงได้ในเวลาไม่นาน และกำจัดอิทธิพลของอังกฤษและตุรกี ออกไป ปิดท้ายด้วยการยึดครองประเทศเลบานอน ทำให้ เลบานอน ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของโรมันคาทอลิกโดยมีสภาลวงตาเพื่อไม่ให้มีความเอนเอียงในการปกครอง คือมีที่ปรึกษาแผ่นดิน 12 คน ซึ่งเลือกมาจากกลุ่มศาสนาต่างๆ

จนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสได้ปล่อยประเทศเลบานอนเป็นเอกราช แทนที่จะเป็นผลดี กลับเป็นผลร้าย คือความวุ่นวายทางศาสนาที่เป็นปัญหาเดิม กลับก่อตัวอีกครั้ง จนต้องตรารัฐธรรมนูญปกครองบ้านเมืองในแบบเก่า คือรัฐสภาประกอบไปด้วยสมาชิกที่เลือกตั้งมาจากกลุ่มศาสนา เหมือนที่เคยเป็นมา อันเป็นหลักเกณฑ์บ่งบอกเป้าหมาย ที่จะให้ชาวมุสลิม นั้นตกเป็นเบี้ยล่างจนทุกวันนี้

อ่านต่อ >>>

สงครามครูเสด
สงครามอินเดีย-ปากีสถาน
ศาสนาซิกข์กับสงคราม
สงครามศาสนา ในประเทศเลบานอน
สงครามสายเลือดในไอร์แลนด์เหนือ
หนทางสู่สันติสุข

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย