สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
มานุษยวิทยา
ประโยชน์ของวิชามานุษยวิทยา
การศึกษาวิชามานุษยวิทยาช่วยให้เข้าใจการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ที่ต่างกันไปในชนกลุ่มต่างๆ
รวมทั้งเข้าใจการถ่ายทอดทางสังคมที่เกิดจากการเรียนรู้
มานุษยวิทยาเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมในการปรับตัวของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคม
วิชานี้ทำให้เรามองความคิดที่มีกันอยู่ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อย่างวิพากษ์วิจารณ์
นักมานุษยวิทยาช่วยลดความนิยมในชาติพันธุ์ของตัวหรือลดอคติ (Ethnocentrism)
ของมนุษย์ในสังคมต่างๆ คือการมองโลกโดยผ่านเลนซ์แคบๆของวัฒนธรรมตัว
หรือผ่านสถานภาพทางสังคมของตัวเอง
มนุษย์ทั่วโลกมีอคติมักมองสิ่งต่างๆตามความคิดที่เป็นแบบฉบับในวัฒนธรรมของตัว
มีค่านิยมตามที่ถูกสอนให้เห็นคุณค่า
มองความหมายของชีวิตในเป้าหมายที่นิยามโดยวัฒนธรรมของตัว
แต่อคติเป็นมากว่าความคิดและการมองปรากฎการณ์ต่างๆมันยังเป็นแนวทางของการปฏิบัติหรือการกระทำที่ใช้ตัดสินวัฒนธรรมอื่นๆโดยใช้มาตรฐานของวัฒนธรรมตัว
ปวงชนทุกสังคมในโลกมองวัฒนธรรมของตัวดีกว่าเหนือกว่าของสังคมอื่นๆ
และประชากรในสังคมจำนวนมากจะมองคนในวัฒนธรรมอื่นว่าเป็นมนุษย์น้อยกว่าตัว
แม้ว่าทุกสังคมจะมีอคติ แต่อคติของคนในสังคมตะวันตก
ควรได้รับความสนใจจากนักวิชาการในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทยเป็นพิเศษ
เพราะมันมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อประชากรไทยและประชากรในประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา
ที่เป็นสังคมขนาดเล็กมีเทคโนโลยีระดับปานกลางหรือระดับต่ำ
สถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่การเผยแพร่อารยธรรมตะวันตกได้ทำให้ชาวตะวันตกมีความเชื่ออย่างแรงว่า
สังคมของเขาถูกต้องดีกว่าเหนือกว่าสังคมกำลังพัฒนาทั้งหมด
พวกชาวตะวันตกจึงอยู่ในฐานะที่ควรใส่ความคิด ความเชื่อ
ค่านิยมของตัวรวมทั้งพฤติกรรมเข้าไปในสังคมอื่นที่ด้อยกว่า
เพราะเชื่อว่าตะวันตกมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่ากลุ่มอื่นๆ ปวงชนในประเทศกำลังพัฒนา
เรียนรู้ที่จะต้องการสินค้าต่างๆจากสังคมตะวันตกอย่างรวดเร็ว พวกเขายอมรับ ตู้เย็น
พัดลม ทีวี หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องซักผ้าและสิ่งอื่นๆอย่างเต็มใจ
การกลายเป็นอุตสาหกรรม (Industrialization) และการกลายเป็นเมือง (Urbanization)
ปรากฏการณ์ทางสังคมที่กำลังเกิดขึ้นในโลกที่ 3
หรือในสังคมกำลังพัฒนาทั้งหลายนั้นกำลังมีผลกระทบทั้งในแง่บวกและแง่ลบต่อประชากรในประเทศกำลังพัฒนาเหล่านั้นอย่างมหาศาลในปัจจุบันนี้
ในระดับของประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน
ประชากรในเมืองมักคิดว่าค่านิยมความเชื่อเทคโนโลยีของตัวดีกว่าเหนือกว่าค่านิยมของคนในชนบท
คนเมืองมักมองคนชนบทว่าน่าสงสารด้อยพัฒนา ขาดปัจจัยต่างๆที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
และมักจะใส่ความคิดความเชื่อทางเทคโนโลยีของตัวรวมทั้งการปฎิบัติต่างๆลงไปในสังคมชนบท
โดยที่มีการกระทำดังกล่าวอย่างเป็นทางการ
คือการที่รัฐบาลถือว่ามีอำนาจอันชอบธรรมที่จะพัฒนาชนบทโดยการใส่โครงการพัฒนาต่างๆลงไปในชุมชนชนบท
» ความเป็นมาของวิชามานุษยวิทยา
» ความหมายและขอบข่ายของวิชามานุษยวิทยา
» สาขาย่อยของวิชามานุษยวิทยาและตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
» ชาติพันธุ์วิทยาหรือมานุษยวิทยาวัฒนธรรม
» การศึกษามานุษยวิทยาในประเทศไทยและสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
» แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยา