ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
อรรถศาสตร์ของจาณักยะ
ธรรมชาติของมนุษย์
จาณักยะมีความเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นเลว
ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมมนุษย์จึงไม่เต็มใจที่จะทำหน้าที่ของตน
เว้นเสียแต่ว่ากษัตริย์คอยควบคุมลงโทษ อรรถศาสตร์
แม้จะเป็นตำราทางการเมืองที่เขียนจากแง่มุมของผู้ปกครองมากกว่าผู้ใต้ปกครอง
แต่แม้ว่าจาณักยะจะกำหนดให้กษัตริย์อยู่สูงสุดก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ปกครองตาม
ความเห็นของจาณักยะจะเป็นผู้ที่ไม่สนใจต่อความเป็นอยู่ของประชาชน
ผู้เขียนอรรถศาสตร์มีความพยายามที่จะให้ผลประโยชน์ของกษัตริย์และของประชาชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
จนกล่าวได้ว่าเราไม่อาจแยกชีวิตส่วนตัวของกษัตริย์ออกจากหน้าที่สาธารณะของกษัตริย์ได้เลย
และการชักจูงกษัตริย์ให้กษัตริย์ได้ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนอย่างเต็มกำลัง
ผู้เขียนอรรถศาสตร์ได้กล่าวถึงผลตอบแทนที่กษัตริย์จะได้รับในโลกนี้และโลกหน้าไว้ด้วย
แม้ยุทธวิธีของอรรถศาสตร์จะคล้ายคลึงกับของแมคเคียเวลลี
แต่ผู้เขียนอรรถศาสตร์ก็ไม่ได้ยกให้ผู้ปกครองอยู่เหนือกฎของศีลธรรมหรือการปฏิบัติหน้าที่ไปเสียเลย
ปัญหาของจาณักยะ คือ ทำอย่างไรจึงจะแน่ใจว่า วิธีการที่ถูกต้อง
ในทางการเมืองจะไม่ถูกนำไปใช้เอาประโยชน์กับประชาชนเสียเอง
คำตอบของอรรถศาสตร์นั้น
ใกล้เคียงกับนักคิดคลาสสิกทางตะวันตกที่เน้นการศึกษาของผู้ปกครอง
การที่จาณักยะให้ความสำคัญแก่การอบรมทางจริยธรรม
โดยเฉพาะการสร้างอุปนิสัยและการควบคุมตนเองนั้นเป็นประจักษ์พยานอย่างดีที่สุดว่า
วิธีการที่ถูกต้อง
เป็นสิ่งซึ่งโดยนัยสุดท้ายแล้วย่อมถูกควบคุมโดยเป้าหมายหลักของสังคมเป็นสำคัญ