ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ

อาเซียนเป็นภูมิภาคมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ความหลากหลาย หรือ unity in diversity จะเป็นหลักการ สำคัญในการลดความขัดแย้งต่างๆ ทั้งในระดับระหว่างประเทศ ภายในประเทศและระดับบุคคล ประเด็นความแตกต่างในอาเซียนที่ถือว่ามีความสลับซับซ้อน คือประเด็นความหลากหลายทางเพศ (sexual diversity) กลุ่มความหลากหลายทางเพศ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่นบุคคลที่มีอัตลักษณ์และความ หลากหลายทางเพศ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่ากลุ่ม LGBT (Lesbian, gay, bisexual and transgender) ในหลาย ประเทศอาเซียน กลุ่มคนดังกล่าวต้องเผชิญปัญหาการถูกกดขี่ทารุณ ต่อต้านและกีดกันจากสังคมภายนอก บางประเทศมีกฏหมายลงโทษคนรักร่วมเพศ โดยการโบยตีหรือจำคุกขั้นสูงสุดถึง 20 ปี ในบางประเทศ กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำคู่มือบ่งชี้ลักษณะอาการของคนรักร่วมเพศสำหรับผู้ปกครองหรือครูใช้เพื่อปกป้อง เด็กจากกลุ่มคนรักร่วมเพศ

ในเวทีสหประชาติ การผลักดันเพื่อคุ้มครองสิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศ มีพัฒนาการที่ดีและมีนัยสำคัญ ในปี พ.ศ. 2554 คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ รับรองข้อมติที่ 17/19 ซึ่งเห็นชอบให้มีการศึกษา กฏหมายและระเบียบต่างๆ ที่เอื้อต่อการเลือกประติบัติต่อบุคคลตามวิถีทางเพศ (sexual orientation) และ อัตลักษณ์ทางเพศ (gender identity) ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่แสดงบทบาทในเชิงรุกใน การรับรองข้อมติฉบับนี้ ทั้งนี้ อาเซียนยังไม่มีการดำเนินการร่วมกันอย่างจริงจังในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิ ของกลุ่มหลากหลายทางเพศในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งผ่านการรับรองของผู้นำอาเซียนใน การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 ปฏิญญาฯ มิได้มีมาตราระบุเรื่องการ คุ้มครองสิทธิของกลุ่มคนดังกล่าวโดยตรง มีเพียงข้อความที่กล่าวถึงสิทธิในการสร้างครอบครัวระหว่างชายกับ หญิงเท่านั้น และว่าครอบครัวเป็นหน่วยทางธรรมชาติ (natural unit) เช่นเดียวกับที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน ฉบับปี พ.ศ. 2491

นักสิทธิมนุษยชน รวมถึงภาคประชาสังคมมองว่า ครอบครัวเป็นนิยามและหน่วยทางสังคม (social unit) และ เห็นว่าสังคมปัจจุบันมีรูปแบบการสร้างครอบครัวที่แตกต่างจากสมัยก่อน กล่าวคือ การที่สตรีเลือกที่จะมีบุตร โดยเลือกที่จะไม่แต่งงาน ก็ถือว่าสตรีคนนั้นได้เลือกที่จะสร้างครอบครัวแล้ว หรือการที่บุคคลที่มีเพศเดียวกัน เลือกที่จะใช้ชีวิตร่วมกันโดยไม่แต่งงาน ก็ถือว่าเป็นการสร้างครอบครัวเช่นเดียวกัน ซึ่งการกล่าวถึงความหมาย ของการสร้างครอบครัวในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนว่าเป็นสิทธิระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น มีนัยที่ กระทบต่อสิทธิทางสังคม ซึ่งอาจหมายถึงการให้ความปลอดภัยทางสังคมแก่ครอบครัวของผู้ที่มีเพศเดียวกัน นอกจากนี้ การขาดมาตราการคุ้มครองสิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศหรือการเข้าใจที่ว่าสิทธิของ กลุ่มหลากหลายทางเพศนับเป็นกลุ่มเปราะบาง (vulnerable group) จะเป็นการเปิดช่องว่างทางกฏหมายให้มี การกระทำรุนแรง รวมถึงการเลือกประติบัติต่อกลุ่มหลากหลายทางเพศ ซึ่งในกระบวนการยกร่างปฏิญญาฉบับ นี้ ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ไทยได้พยายามที่จะเสนอ ถ้อยคำ ซึ่งเน้นการเคารพและปกป้องสิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศ รวมทั้งระบุว่าสิทธิในการสมรสเป็น สิทธิของทุกคน โดยไม่ระบุเจาะจงถึงเพศหรือกายวิภาคของผู้ที่ที่จะสมรส อย่างไรก็ดี แรงต้านจากหลาย ประเทศอาเซียนในเรื่องนี้ ทำให้ข้อเสนอของไทยไม่ได้รับการยอมรับ อย่างไรก็ดี สามารถพูดได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของความพยายามและพัฒนาการที่สำคัญในประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ไทยจะต้องผลักดันและโน้มน้าวต่อไป

การผลักดันการคุ้มครองสิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศในอาเซียนยังคงจำกัดอยู่ในภาคประชาสังคมใน กลุ่มเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินกิจกรรมในการสร้างการตระหนักรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศ การป้องกัน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องและโรคติดต่อทางเพศอื่นๆ ในกลุ่มรักร่วมเพศ ล่าสุดกลุ่มหลายหลายทางเพศในประเทศ อาเซียนได้รวมตัวกันจัดตั้ง ASEAN LGBT Forum ซึ่งเป็นกลไกหลวมๆ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างกันรวมทั้งผลักดันประเด็นเรื่องสิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศ การทำงานของกลุ่มหลากหลายทาง เพศจะต้องฝ่าฝันอุปสรรคหลายประการโดยเฉพาะการไม่ยอมรับของกลุ่มศาสนาและจากสังคมในวงกว้าง

การผลักดันจะต้องเริ่มจากการสร้างความตระหนักรู้ โดยใช้สื่อที่เหมาะสม อาทิ การใช้ภาพยนตร์ เช่น การจัด นิทรรศการภาพยนตร์ความหลากหลายทางเพศ (ASEAN LGBTIQ Film Festival) ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน-2 ธันวาคม 2555 ที่ จ. เชียงใหม่ ซึ่งภาพยนตร์จะสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนถึงวิถีชีวิตของ กลุ่มหลากหลายทางเพศ และสะท้อนถึงปัญหาที่ผู้มีความหลายหลายทางเพศจะต้องประสบในการดำรงชีวิต ซึ่งที่ผ่านมา ภาพยนตร์ไทยได้รับการยอมรับจากนานาชาติในเวทีการประกวดภาพยนตร์ต่างๆ เช่น เรื่อง Beautiful Boxer และ Out of the Box ในฝรั่งเศสและสเปน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีและสนับสนุนต่อไป

การรณรงค์และผลักดันประเด็นเรื่องสิทธิของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ควรจะเริ่มจากการวิเคราะห์เพื่อ หาประเด็นหลักที่ประสงค์จะผลักดัน ที่ผ่านมาสังคมตะวันตกจะให้ความสำคัญกับการผลักดันเรื่องสิทธิในการ สมรส ซึ่งประเด็นดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงกว้างในสังคมตะวันตก แม้ว่าจะมีวัฒนธรรมที่มีความเป็นเสรี นิยมก็ตาม ปัจจุบันมีเพียง 11 ประเทศเท่านั้นที่อนุญาตให้เพศเดียวกันสามารถสมรสได้ อาเซียนอาจจะไม่ พร้อมที่จะหารืออย่างจริงจังในเรื่องนี้ เนื่องจากหลายประเทศอาเซียนมีกฏหมายศาสนาที่มีอำนาจเหนือ กฏหมายพลเมือง ดังนั้นกลุ่มหลากหลายทางเพศอาจผลักดันการปกป้องความรุนแรงและการเลือกประติบัติ ต่อกลุ่มหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะในสถานที่ทำงาน ซึ่งจะดำเนินการได้สะดวกกว่าในช่วงระยะเวลานี้

การผลักดันการยอมรับความหลากหลายทางเพศยังเป็นเรื่องท้าทายในหลายประเทศอาเซียน การดำเนินการ โดยใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อหรือที่เรียกว่าการต่อสู้ทางการเมืองโดยวิธีทางอ้อมจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญ การสร้าง ความเข้าใจและการยอมรับในสถาบันครอบครัวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศ สามารถสร้างเกราะคุ้มกันจากการเลือกประติบัติได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งภาครัฐ และทุกภาคส่วน จะมีบทบาท สำคัญในการร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเรื่องสิทธิกลุ่มความหลากหลายทางเพศ

ภาโณตม์ ปรีชญานุต
ที่มา
: กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

» ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เอเอชอาร์ดี)

» ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» แผนงานการจัดตั้ง ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

» ปฏิญญาชะอำ หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน (2552-2558)

» ความตกลงสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในกรอบอาเซียน

» แผนปฏิบัติการประชาคมความมั่นคงอาเซียนปี 2547

» กลไกระงับข้อพิพาทในอาเซียน

» สิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องใช้เวลา

» เงินสกุลอาเซียน ความฝันที่ใกล้เป็นจริง

» 7 ปรากฏการณ์ Social Network ในอาเซียน

» คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

» ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

» ความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

» ความร่วมมือทางทะเลในกรอบอาเซียน

» การบริหารจัดการภัยพิบัติ (พลเรือน)

» คณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก

» ความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน

» ความร่วมมืออาเซียนด้านสาธารณสุข

» ASEAN-India Car Rally ครั้งที่ 2 ฉลองครบรอบ 20 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย

» การประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ ครั้งที่ 47 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม

» ประชาคมอาเซียนกับนวัตกรรม

» ความไว้เนื้อเชื่อใจ กุญแจที่ขาดหายไปในทะเลจีนใต้

» ASEAN Gay Rights บทบาทรุกหรือรับ

» จุดแข็ง-จุดอ่อน-เบื้องต้น ของประเทศต่างๆใน AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

» รายชื่อโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน

» การขับเคลื่อนโรงเรียนสู่ประชาคมอาเซียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

» อินโดนีเซียคาดเศรษฐกิจขยายตัวเร็วขึ้น,ยอดขาดดุลงบประมาณลดลงในปี 2556

» กบง.เล็งถกด่วนวันนี้ ลดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ อีกระลอกหลังค่าการตลาดลดต่ำ

» พาณิชย์ขนทัพปาล์ม-ยาง-ไม้เปิดตลาดพม่า

» เอกชนจี้รัฐแก้ภาษีซ้อนเออีซีดันเปิดสาขาแบงก์ไทยในพม่า

» 45 ปีอาเซียน

» เพลงประจำอาเซียน

» ครึ่งทางสู่ AEC ปี 2015

» ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา รุดหน้าถกแผนเศรษฐกิจ 3 ปี

» พาณิชย์จัดประชุม JTC กระชับความสัมพันธ์การค้าการลงทุน ไทย-กัมพูชา

» อาเซียน (ASEAN)

» สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

» กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)

» ประเทศสมาชิกอาเซียน

» ธงชาติอาเซี่ยน

» ไทยกับอาเซียน

» แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559)

» ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ บูรณาการอาเซียน

» อาเซียน +3

» การเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

» ปัญหาในการรวมกลุ่มและความก้าวหน้าของอาเซียน

» ความสัมพันธ์อาเซียน-ยุโรป

» สาระน่ารู้เกี่ยวกับอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย