ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

กัมพูชา (Cambodia)

ความสัมพันธ์ ไทย – กัมพูชา

หากเรายอมรับว่า เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณ เมื่อยิ่งใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่อันที่เป็นที่ตั้งของนครวัด – นครธมในเขตแดนประเทศกัมพูชาปัจจุบัน โดยมีขอบอาณาจักรครอบคลุมไปยังพื้นที่ต่างๆ ที่มีหลักฐานเป็นปราสาทหินโบราณในลักษณะศิลปกรรมเดียวกันตั้งอยู่ ซึ่งจะว่าไปแล้ว ทางด้านตะวันออกจรดพื้นที่ชายฝั่งทะเลจีนใต้ของเวียดนาม ส่วนทางด้านตะวันตกสิ้นสุดบริเวณปราสาทเมืองสิงห์ในจังหวัดกาญจนบุรี ทางทิศเหนือไปจรดตอนใต้ของจีน และทางใต้ลัดเลาะตามด้ามขวานทองของไทยลงไปถึงบริเวณที่เคยถูกเรียกว่า อาณาจักรศรีวิชัย และตามประวัติศาสตร์ที่ระบุว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย เมื่อประมาณ 800 ปีเศษที่ผ่านมา ด้วยการแยกตัวเป็นอิสระ ในช่วงที่ความเข้มแข็งของอาณาจักร หรือบทบาทของขอมเริ่มจางลง ถือได้ว่า ไทยกับกัมพูชามีความสัมพันธ์กันมาก่อน และหลังจากที่ไทยจะแยกตัวออกมา ก็ยังคงมีความสัมพันธ์ในฐานะรัฐอิสระที่อยู่ติดกัน มีการกระทบกระทั่งและครอบครองดินแดนของกันและกันบ้างเป็นคราวๆ รวมทั้ง มีการเคลื่อนย้ายของคน ตำรา ความรู้ ประสบการณ์ระหว่างราชสำนักขอมกับราชสำนักไทย ลำดับมาเป็นช่วงๆ นับแต่สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ของไทยฝ่ายกัมพูชาก็มีการย้ายราชธานีเป็นลำดับจากมหานคร (นครวัด-นครธม) ละแวก อูโดง จนท้ายสุดมาอยู่ ณ พื้นที่ที่เป็นกรุงพนมเปญ เมืองหลวงในปัจจุบัน และต้องประคับประคองราชอาณาจักรให้ดำรงอยู่ได้ ท่ามกลางรัฐใหญ่ที่กระหนาบอยู่ 2 ข้าง ข้างตะวันตกคือ ไทย และข้างตะวันออกคือ เวียดนาม จนมาสิ้นสุดเมื่อสูญเสียเอกราชเข้าอยู่ใต้การปกครองของฝรั่งเศสวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406

ทั้งนี้ จากการเปลี่ยนแปลงในอดีตที่มีต่อเนื่องมาตลอด แม้กระทั่งหลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 ประเทศนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายประการ ประเทศไทยในฐานะประเทศข้างเคียง ย่อมได้รับผลกระทบ หรือมีส่วนร่วมและถูกกล่าวถึงในทางใดทางหนึ่งไม่มากก็น้อย สำหรับ เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในบางช่วงบางตอนที่มีการกล่าวถึงไทย ซึ่งเก็บมาจากหนังสือ A History of Cambodia , second edition แต่งโดย David Chandler (มีการแปลเป็นภาษาไทยและแปลเป็นภาษาเขมร และเป็นเล่มเดียวกับที่สมเด็จฮุน เซน กล่าวในพิธีประสาทปริญญาแก่บัณทิตที่จบการศึกษาจาก National Institute of Education เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2548 ว่า มีความถูกต้องเพียงร้อยละ 80) ที่พอจะเป็นเกร็ดให้ระลึกถึง และทราบไว้เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทย – กัมพูชา ที่ผ่านมา

 || หน้าถัดไป >>

ประวัติศาสตร์ประเทศกัมพูชา
ข้อมูลทั่วไปประเทศกัมพูชา
พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา
เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ
การไปประกอบธุรกิจของคนต่างชาติในกัมพูชา
ระบบภาษีของกัมพูชา
การส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชา
ความสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชา
การสัมปทานที่ดินเพื่อการเกษตรของกัมพูชา
The Brief History of Cambodia Monarchy
สงครามกัมพูชา (1979-1991)
ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ทั้งรักทั้งชัง
การแต่งกายกัมพูชา
เสียมเรียบ นครวัด นครธม

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย