ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
กัมพูชา (Cambodia)
การสัมปทานที่ดินเพื่อการเกษตรของกัมพูชา
กฎหมายที่ดินปี ค.ศ 2001 ของกัมพูชา มาตรา 16 บัญญัติให้ที่ดินของสาธารณะประโยชน์ของรัฐ (State public property) เมื่อพ้นสภาพจากการใช้เพื่อประโยชน์ของสาธารณะ สามารถแปลงที่ดินนั้นๆ เป็นที่ดินเพื่อใช้เป็นประโยชน์ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐได้ตามกฎหมายว่าด้วยการโอนที่ดินสาธารณะของรัฐเป็นที่ดินของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ (When State public properties lose their public interest use, they can be listed as private properties of the state by law on transferring of state public property to state private property)
และในมาตรา 17 ของกฎหมายดังกล่าวบัญญัติว่า เมื่อที่ดินอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานใด หน่วยงานนั้นๆ มีสิทธิโดยชอบที่จะขาย แลก แจก หรือโอนสิทธิ์ รวมทั้งการให้เช่าและการสัมปทานที่ดินดังกล่าวต้องปฏิบัติตามระเบียบและวิธีการที่กำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้องและกฤษฎีกาย่อย (sub-decree) เพื่อการนั้น
คณะรัฐมนตรีกัมพูชา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2548 (ค.ศ. 2005) จึงได้ประชุมและมีมติเห็นชอบให้ออกกฤษฎีกาย่อยเพื่อกำหนดหลักการ ขบวนการ กลไก และการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดวิธีการและการให้สัมปทานที่ดินสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และทบทวนการให้สัมปทานที่ดินเพื่อการดังกล่าว ที่ได้ลงนามก่อนวันที่ 27 ธันวาคม 2548 ซึ่งวันที่ประกาศใช้กฤษฎีกาย่อยฉบับนี้ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในกฎหมายที่ดิน ปี 2001 ที่บัญญัติให้การให้สัมปทานที่ดินของส่วนราชการ (the private property of the State and of public legal entities) เป็นพื้นที่สูงสุดไม่เกิน 10,000 เฮกตาร์ หรือ 62,500 ไร่ และเป็นระยะเวลาสัมปทานแต่ละครั้งไม่เกิน 99 ปี ทั้งนี้ กฤษฎีกาย่อยเลขที่ 146 อนกร.บก ว่าด้วย การสัมปทานที่ดินเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของกัมพูชา ได้ให้หลักการสำคัญสรุปได้ดังนี้
- กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมง
จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการลงนามสัญญาสัมปทานที่ดินเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร
เฉพาะโครงการที่มีมูลค่าการลงทุนตั้งแต่ 10,000,000,000 (หนึ่งหมื่นล้าน) เรียล
(100 ล้านบาท) ขึ้นไป หรือโครงการที่ต้องใช้ที่ดินที่มีขนาดตั้งแต่ 1,000
(หนึ่งพัน) เฮกตาร์ (6,250 ไร่) ขึ้นไป
ขณะที่จังหวัดหรือกรุงจะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการลงนามสัญญาสัมปทานโครงการที่มีมูลค่าการลงทุนน้อยกว่า
100 ล้านบาท และใช้ที่ดินน้อยกว่า 6,250 ไร่ ที่โครงการนั้นๆ
ตั้งอยู่ในเขตปกครองของตน
- การสัมปทานที่ดินเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรจำแนกเป็น 2 ลักษณะคือ
(1)
โครงการที่ริเริ่มโดยรัฐและมีการเชิญชวนเอกชนให้เข้าแข่งขันเสนอผลประโยชน์เพื่อรับสัมปทาน
กับ (2) โครงการที่เอกชนคิดขึ้นและเสนอขอรับสัมปทานจากรัฐ
-
ให้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ได้มีบทบัญญัติไว้
ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการพิจารณาความเป็นไปได้ ศึกษา ประเมินผล สรุป
และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสัมปทานที่ดินเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร
ทั้งที่เป็นการริเริ่มโดยส่วนราชการเพื่อดำเนินการเชิญชวนต่อไป
หรือที่เป็นการเสนอสัมปทานโดยเอกชน โดยมีผู้แทนจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้
และการประมง เป็นประธาน พร้อมกับกรรมการจากหน่วยงานอื่นอีก 7 คน
- ในกรณีของสัมปทานที่ดินที่มีอยู่เดิมจะมีการติดตามและตรวจสอบว่า
ได้ดำเนินการไปแล้วหรือไม่ เพียงใด ภายใน 120 วัน
นับแต่การจัดตั้งสำนักงานเลขานุการตาม 3
โดยจะให้หน่วยงานท้องถิ่นทุกแห่งที่ได้ลงนามในสัญญาสัมปทานและผู้ได้รับสัมปทาน
แจ้งรายละเอียดให้สำนักงานฯ ภายใน 6 เดือน
และจะได้สรุปเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาทบทวนสัญญาสัมปทานที่มีอยู่เดิม
โดยเฉพาะที่ดินตามสัญญาสัมปทานเดิมที่เกินกว่า 10,000 เฮกตาร์ โดยพิจารณาจาก
(1) การดำเนินการของผู้ได้รับสัมปทาน การลงทุนที่ผ่านมา และที่จะทำต่อไป
(2) รายได้และค่าใช้ที่ดินตามสัญญาที่ภาครัฐได้รับ
(3) ความสมัครใจในการคืนที่ดินสัมปทานส่วนที่เกิน 10,000 เฮกตาร์ และ
(4) การจัดระเบียบสัมปทานที่ดินเดิมให้เป็นไปตามกฤษฎีกาย่อยฉบับนี้
ทั้งนี้ ภายหลังจากสำนักงานเลขานุการตาม 3 รายงานฉบับแรกต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว จะต้องรายงานผลความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินงานสัญญาสัมปทานเดิมและสัญญาสัมปทานตามกฤษฎีกาย่อยนี้ทุก 6 เดือน
ลำดับชั้นของกฎหมายในราชอาณาจักรกัมพูชา
- รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
- ฉบับ (Chbab) เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติตามกระบวนการ
- รัฐสภา (สภาผู้แทนและวุฒิสภา) และลงนามโดยพระมหากษัตริย์ หรือผู้ทำหน้าที่ประมุขของประเทศเทียบได้กับพระราชบัญญัติของไทย
- ราชกิจ (Reach Kret) เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ
- ลงพระนามเพื่อใช้บังคับเช่นการอภัยโทษ การแต่งตั้งฐานันดร
- กฤษฎีกาย่อย (Anu-Kret) เป็นกฎหมายที่ฝ่ายบริหารออกโดยอาศัยมติคณะรัฐมนตรี และลงนามโดยนายกรัฐมนตรี เป็นการออกกฎหมายตามกฎหมายแม่เช่น รัฐธรรมนูญ และ หรือฉบับ ซึ่งเทียบได้กับพระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวงของไทย
- ประกาศ (Prakas) ออกโดยรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีร่วม ของกระทรวงที่ เกี่ยวข้อง เพื่อบังคับใช้โดยมีฐานอำนาจจากรัฐธรรมนูญ ฉบับ หรือ กฤษฎีกาย่อย ซึ่งเทียบได้กับประกาศ ระเบียบ คำสั่ง หรือขัอบังคับของรัฐมนตรีที่รักษาการตามกฎหมายไทย
- หนังสือเวียน (Sarachor) เป็นเครื่องมือที่กระทรวง หรือหน่วยงานออกเพื่อชี้แจง หรืออธิบายข้อกำหนดของกฎหมายเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติต่างๆ และไม่มีอำนาจบังคับตามกฎหมายเช่นเดียวกับคำชี้แจงของหน่วยราชการ
ที่มา : United Nation Office of the High Commissioner for Human Rights in Cambodia, September 2005
ประวัติศาสตร์ประเทศกัมพูชา
ข้อมูลทั่วไปประเทศกัมพูชา
พระพุทธศาสนาในประเทศกัมพูชา
เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ
การไปประกอบธุรกิจของคนต่างชาติในกัมพูชา
ระบบภาษีของกัมพูชา
การส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชา
ความสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชา
การสัมปทานที่ดินเพื่อการเกษตรของกัมพูชา
The Brief History of Cambodia Monarchy
สงครามกัมพูชา (1979-1991)
ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ทั้งรักทั้งชัง
การแต่งกายกัมพูชา
เสียมเรียบ
นครวัด นครธม