ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

อินโดนีเซีย (Indonesia)

อักษรโบราณของอินโดนีเซีย

อักษรปัลลวะ

อักษรปัลลวะในอินโดนีเซียแบ่งเป็น 2 รุ่น คือรุ่นแรก และรุ่นหลัง ตัวอย่างจารึกอักษรปัลลวะรุ่นแรกนี้ พบที่ยูปา (Yupa) ในเขตกุไต (Kutai) อักษรจารึกมีรูปร่างสวยงาม เส้นอักษรยาว ตรง และตั้งฉากทำมุมพอดี โดยรวมของอักษรจะค่อนข้างกลม และโค้งสวย ตัว ม (ma) จะเขียนเป็นตัวเล็กอยู่ในระดับต่ำกว่าอักษรตัวอื่นๆ และตัว ต (ta) มีรูปร่างเป็นขดคล้ายก้นหอย ซึ่งเป็นรูปแบบที่เก่า และใกล้เคียงมากกับอักษรที่ใช้ในอาณาจักร อิกษวากุ (Iksavakus) แห่งอันธะระ ประเทศ (Andhara Pradesh), อักษรที่สถูปเจดีย์นาคารชุนโกณฑะ (Nagarjunakonda), จารึกของพระเจ้าภัทรวรมัน (Badravarman) ใน โช ดินห์ (Cho Dinh) ที่มีอายุอยู่ในช่วง ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 จารึกแห่งโช ดินห์ นี้มีความคล้ายคลึงอย่างมากกับจารึกของรุวันวะลิสะยะ (Ruvanvalisaya) แห่งอเมระธะปุระ (Ameradhapura) ประเทศศรีลังกา (Srilangka) ที่สร้างโดยพระเจ้าพุทธะ สาสะ (Buddhasasa) ในปี ค.ศ. 337 – 365

ภาพ จารึกพบที่ยูปา (จากเว็บไซต์ http://en.wikipedia.org) ส่วนอักษรปัลลวะรุ่นหลังนั้น มีการคลี่คลายค่อนข้างมาก เกิดระบบ “same height” หรือการเขียน อักษรให้มีความสูงเสมอกัน จากที่มีการศึกษาเรื่องพัฒนาการทางอักษรทั้งในอินเดียใต้ และเอเชียใต้ เชื่อว่า อักษรลักษณะนี้น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 – 9 มีทั้งรูปแบบที่เป็นตัวอักษร และที่เป็นลายเส้น สวยงาม

ภาพ จารึกลายเส้นจาก Tuk Mas ใกล้กับ Magelang

<< ย้อนกลับ || หน้าถัดไป >>

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ข้อมูลทั่วไปอินโดนีเซีย
ประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย
ขนบธรรมเนียมประเพณี
การเมืองและการปกครอง
เรื่องเล่าจากอินโดนีเซีย
อักษรโบราณของอินโดนีเซีย
การแต่งกายอินโดนีเซีย

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย