ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

มาเลเซีย (Malaysia)

การประมงไทยในมาเลเซีย

อุตสาหกรรมประมงของมาเลเซียโดยเฉพาะที่รัฐซาราวักยังขาดโครงการพื้นฐาน รวมถึง อุตสาหกรรมต่อเนื่อง มาเลเซียจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้มีการทำประมงน้ำลึก โดยได้อนุญาตให้ บริษัทเอกชนมาเลเซียสามารถเช่าเรือประมงต่างชาติ (Chartering) เพื่อทำการประมงในน่านน้ำรัฐซาราวัก โดยกำหนดให้ทำการประมงห่างจากฝั่งตั้งแต่ 30 ไมล์ทะเลออกไป และส่งเสริมให้มีการร่วมทุนในการ พัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล โดยต้องการผู้เชี่ยวชาญ และเงินทุนจากต่างประเทศ

ขณะนี้มีเรือประมงไทยได้ถูกเช่าเข้าไปทำการประมงในซาราวัค ตั้งแต่ปี 2541 แม้ว่าปริมาณและมูลค่าของปลาที่จับได้จะด้อยกว่าการทำ ประมงในอินโดนีเซียและพม่า แต่ผู้ประกอบการก็มีความมั่นใจในด้าน กฎระเบียบ และความมั่นคง และการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่มาเลเซีย ขณะนี้ ยังมีเรือเช่าอยู่ในซาราวักจำนวน 150 ลำ

รัฐซาบาร์เป็นอีกพื้นที่หนึ่งของมาเลเซียที่มีศักยภาพในการทำประมง โดยเฉพาะการทำการ ประมงน้ำลึก และการเพาะเลี้ยงสัตว์ทะเล ซาบาร์อนุญาตให้บริษัทเอกชนมาเลเซียเช่าเรือประมงต่างชาติ เข้ามาทำการประมงในน่านน้ำของรัฐได้ และส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยงกุ้ง ปลาทะเล สาหร่ายทะเล เพื่อการส่งออก การเช่าเรือประมงนั้นมีเงื่อนไข เช่นเดียวกับรัฐซาราวัก แต่การขายผลิตภัณฑ์ทางทะเลไปต่างประเทศจะต้องเสีย ภาษี ขาออกร้อยละ 1-5 ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันยังไม่มีนัก ลงทุนไทยเข้าไปลงทุนที่รัฐซาบาร์เนื่องจากอยู่ห่างจากประเทศไทย แต่บริษัท แปรรูปอาหารทะเลของรัฐซาบาร์ได้ส่งออกหมึก และอาหารทะเลให้บริษัทแปร รูปอาหารทะเลของไทยที่จังหวัดสงขลา

ถึงแม้ว่าการประมงร่วมไทยและมาเลเซียในรัฐซาราวักต้องดำเนินการผ่านทางรัฐต่อรัฐ แต่ ในทางปฏิบัติประเทศมาเลเซียได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในมาเลเซียสามารถเช่าเรือประมงไทยเข้า ไปทำการประมงในน่านน้ำของฝั่งมาลายูได้ด้วย โดยเป็นการดำเนินการระหว่างเอกชนกับเอกชน ซึ่ง เงื่อนไขการเช่าและการทำการประมงเหมือนกับกรณีการทำประมงในซาราวัก ในขณะนั้มีเรือประมงไทย ถูกเช่าไปทำการประมงในฝั่งมาลายูทั้งสิ้น 170 ลำ โดยเมื่อจับปลาได้แล้วตามระเบียบจะต้องนำสัตว์น้ำ ไปขึ้นท่าที่โต๊ะบาหลีและขนส่งกลับทางรถยนต์ แต่ในทางปฏิบัติ เรือประมงไทยส่วนใหญ่จะนำสัตว์น้ำ กลับประเทศไทยโดยตรง

โครงการเช่าเรือประมงไทยไปทำการประมงในประเทศมาเลเซียทั้งสองเขตน่านน้ำจะสิ้นสุดใน ปี 2549 และรัฐบาลมาเลเซียคงทบทวนวิธีการร่วมมือในรูปแบบอื่นๆ ต่อไป

  • การประมงทะเลในอินโดนีเซียถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากความมั่นคงทาง กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ของมาเลเซีย
  • ถ้ามาเลเซียให้มีการเช่าเรือประมงไทยต่อไปก็จะเป็นโอกาสที่ดีในการทำธุรกิจให้เรือเช่า ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียสนับสนุนให้มีการทำประมงน้ำลึกและอนุญาตให้เช่าเรือต่างประเทศได้
  • เนื่องจากมาเลเซียมีทรัพยากร แต่ไทยมีศักยภาพและเทคโนโลยีในการทำประมง ดังนั้นถ้ามี การเจรจาในเรื่องการร่วมลงทุนด้านการประมง น่าจะเป็นผลดีต่อชาวประมงไทย ในการ เข้าไปทำประมงที่มาเลเซีย

สหพันธรัฐมาเลเซีย
ประวัติความเป็นมาและการก่อตั้งประเทศ
การเมืองการปกครอง
รู้จักมาเลเซีย
พระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซีย
ข้อมูลการค้าไทย-มาเลเซีย
สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย
ชาวไทยเชื้อสายมลายูในภาคใต้ของไทยและชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตัน
การแต่งกายมาเลเซีย
การประมงไทยในมาเลเซีย

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย