ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

พุทธศาสนากับวัฒนธรรม

วัฒนธรรมไทยด้านการศึกษา

จากประวัติศาสตร์ชาติไทย จะเห็นได้ว่า การศึกษาเริ่มขึ้นที่วัดซึ่งเป็นศาสนสถานของพระพุทธศาสนา มีพระสงฆ์เป็นครูสอน สอนหลักธรรมของพุทธศาสนา หลักปฏิบัติตนในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะหลักเบญจศีล ซึ่งถือว่าเป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่ทำให้มนุษย์จะไม่ต้องเบียดเบียนกัน อยู่กันอย่างสันติสุข สอนกิริยามารยาท การศึกษาในสมัยสุโขทัยจะเป็นการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศาสนาเป็นส่วนใหญ่จะเห็นได้จากวรรณคดีที่สำคัญของไทย เช่น ไตรภูมิพระร่วง ลิลิตพระลอ สมุทรโฆษคำฉันท์ กำศรวลศรีปราชญ์ เป็นต้น ในสมัยอยุธยาก็เรียนหนังสือเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาเช่นกัน จะเห็นได้จากการนำใบลานใช้สำหรับจารึกตำรงทางพระพุทธศาสนาทำให้การเรียนพระพุทธศาสนาขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้คนไทยมีคุณธรรม จริยธรรม มีศีลธรรมอันดี เป็นเหตุให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข มีความรักสามัคคีกัน มีน้ำใจให้กันและกัน เพราะหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนาคอยหล่อหลอมจิตใจให้อ่อนน้อมถ่อมตน ยิ้มแย้มแจ่มใส จนประเทศไทยได้รับสมยานามว่า “สยามเมืองยิ้ม”



แม้ในยุคปัจจุบัน ก็ยังต้องให้ทุกสถานศึกษาจัดให้มีการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เพื่อให้เยาวชนได้มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นบุคคลที่พึงประสงค์ของสังคม โดยพระเดชพระคุณพระเทพโสภณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานในการจัดทำหลักสูตรรายวิชาพระพุทธศาสนาที่สอนในโรงเรียน (สถานศึกษา)

วัฒนธรรมไทยด้านการเมือง
วัฒนธรรมไทยด้านประเพณี
วัฒนธรรมไทยด้านจิตใจ
วัฒนธรรมไทยด้านภาษา
วัฒนธรรมไทยด้านการศึกษา
วัฒนธรรมไทยด้านสถาปัตยกรรม
 

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย