ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ชีวิต

การมองความจริงของชีวิตด้วยศาสนธรรม

ความจริงตามแนวพุทธศาสนา

ความจริงของชีวิตตามแนวอริยสัจ

  • ความจริงโดยการสมมติ (สมมติสัจจะ)
  • ความจริงที่แท้จริง (ปรมัตถสัจจะ)

อริยสัจ คือ ความจริงอันประเสริฐของพระอริยเจ้ามี 4 ประการ

1. ทุกข์สัจ (Suffering)

- นิพัทธทุกข์ คือทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
- พยาธิทุกข์ คือ ทุกข์ที่เกิดจากความป่วยไข้
- สภาวทุกข์ คือ ทุกข์เกิดจากสภาพการณ์ต่าง ๆ
- สันตาปทุกข์ คือทุกข์ที่เกิดจากความเร่าร้อนภายใน เช่น ราคะ
- ปกิณณกทุกข์ คือ ทุกข์เล็กๆ น้อย ๆ เช่น ความโศรกเศร้า
- อาชีวทุกข์ คือ ทุกข์เกิดจากการทำมาหากิน
- วิบากทุกข์ คือทุกข์เกิดจากผลแห่งกรรมชั่ว
- สหคตทุกข์ คือ ทุกข์ไปตามหรือทุกข์ติดตาม เช่น ทุกขลาภ
- วิวาทมูลทุกข์ คือทุกข์เกิดจากการถกเถียงโต้แย้ง
- ทุกข์ขันธ์ คือทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีขันธ์ 5

2. ทุกขสมุทัยสัจ (The cause of suffering)

-กามตัณหา คือความอยากในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ฯ
-ภวตัณหา คือความอยากเป็นอย่างนั้นอยากเป็นอย่างนี้
-วิภวตัณหา คือ ความอยากไม่เป็นหรืออยากไม่ให้เป็นอย่างที่มันเป็นอยู่ อยากให้มันผ่านพ้นไป

3. ทุกขนิโรธสัจ (The Cessation of Suffering) คือความดับทุกข์ ได้แก่ดับตัณหาทั้ง 3 ข้างต้น เช่น

- วิราคะ คือสิ้นความกำหนัด
- วิมุตติ คือหลุดพ้น
- วิโมกข์ คือหลุดพ้น
- พุทธ คือตรัสรู้ , รู้แจ้ง
- อรหันต์ คือสิ้นกิเลส ห่างไกลกิเลส
- นิพพาน คือกิเลสสิ้น
- อนัตตา คือไม่มีตัวตน

4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (The way to the cessation of suffering)
คือทางนำไปสู่ความดับทุกข์ บางทีเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือการใช้ทางสายกลาง ได้แก่อริยมรรค มีองค์ 8 เรียกตามภาษาวิชาการว่า “อัฏฐังคิกมรรค”

ลักษณะของชีวิต 3 ประการ (ไตรลักษณ์)
ไตรลักษณ์ หรือ สามัญญลักษณะ (ลักษณะที่เสมอเหมือนกันของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง) มี 3 อย่างคือ อนิจจตา (ความไม่เที่ยง) ทุกขตา (ความทุกข์) อนัตตา (ความไม่มีตัวตน) แบ่งได้ ดังนี้

อนิจจลักษณะ 10 ประการ

- ชีวิตไม่เที่ยง (เกิดเป็นเบื้องต้นและการตายเบื้องปลาย)
- ชีวิตย่อมหวั่นไหว ด้วยพยาธิ ชรา มรณะ และโลกธรรม
- ชีวิตย่อมพังทลาย พังด้วยพยาธิ ชรา มรณะ
- ชีวิตย่อมแตกสลาย ด้วยการกระทำตนเอง คนอื่น
- ชีวิตได้ชื่อว่าไม่คงทน มีปกติตกไปได้ทุกรุ่นทุกวัน
- ชีวิตได้ชื่อว่าแปรปรวนไปเป็นธรรมดา คือชราและมรณะ
- ชีวิตชื่อว่าไม่มีแก่สาร เป็นสิ่งอ่อนแอ เหมือนไม้กระพี้
- ชีวิตได้ชื่อเสื่อม เพราะปราศจากความเจริญ/ความเสื่อม
- ชีวิตได้ชื่อว่ามีความตายเป็นธรรมดา มีเกิด แก่ เจ็บ ฯ
- ชีวิตได้ชื่อว่าเป็นสังขตะ คือเป็นเหตุปัจจัยปรุงแต่ขึ้น

ทุกข์ลักษณะ 25 ประการ

- ชื่อว่าเป็นทุกข์ - ชื่อว่าเป็นอุบาทว์
- ชื่อว่าเป็นภัย - ชื่อว่าอุปสรรค
- ชื่อว่าไม่มีที่ต้านทาน - ชื่อว่าไม่มีกำบัง
- ชื่อว่าไม่มีที่พึ่ง - ชื่อว่าเป็นจัญไร
- ชื่อว่ามีชาติ - ชื่อว่ามีชรา
- ชื่อว่าเป็นอาทีนพ - ชื่อว่ามีความเศร้าหมอง
- ชื่อว่าเป็นผู้ฆ่า - ชื่อว่าเป็นรากเง่าแห่งความลำบาก
- ชื่อว่าเป็นโรค - ชื่อว่าเป็นฝี
- ชื่อว่าเป็นลูกศร - ชื่อว่าเป็นของชั่ว
- ชื่อว่าอาพาธ - ชื่อว่ามีความคร่ำครวญ
- ชื่อว่ามีความคับแค้นใจ – ชื่อว่าเป็นไปกับอาสวะ(กิเลส)
- ชื่อว่าเป็นเหยื่อของมาร - ชื่อว่าเป็นมีความเศร้าหมอง

อนัตตลักษณะ 5 ประการ

- ชื่อว่าเป็นฝ่ายอื่น ๆ (ปรปักษ์)
- ชื่อว่าว่าง จากความยั่งยืน ความงามและความสุข
- ชื่อว่าเปล่า เพราะเป็นความว่างนั่นเอง
- ชื่อว่าสูญ เพราะว่างจากเจ้าของผู้ครอง ผู้สร้าง ฯ
- ชื่อว่ามิใช่ตน เพราะตนเองก็มิได้เป็นเจ้าของ

สิ่งที่ปิดบังไม่ให้เห็นไตรลักษณ์

1. สันตติปิดบังอนิจจลักษณะ (สันตติ = ความต่อเนื่อง)
2. อิริยาบถปิดบังทุกขลักษณะ (อิริยาบถ =การเคลื่อนไหว)
3. ฆนะปิดบังอนัตตา (ฆน = ก้อนหรือการรวมกลุ่ม)

  • อนัตตา แปลว่า สภาพที่หาความเป็นตัวตนแท้จริงไม่ได้
  • โลกธรรม มี 8 คือ ลาภ เสื่อมลาภ, ยศ เสื่อมยศ, สรรเสริญ , นินทา, สุข ทุกข์,

สายโซ่แห่งการเกิดและดับของความทุกข์และความสุข

1. ปฏิจจสมุปบาทคือการเกิดขึ้นเพราะอาศัยกันหรือธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดเพราะการอาศัยกัน
2. หัวข้อแห่งปฏิจจสมุปบาท มี 12 ข้อ คือสายเกิด/สายดับ
3. ปฏิจจสมุปบาท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัจจยาการ/อิทัปปัจจยตา (ความมีสิ่งนี้สิ่งนี้จึงมี)

สายเกิด มีวัฏจักรดังนี้

1. อวิชชา สังขาร
2. วิญญาณ
3. นามรูป
5. สฬายตนะ
6. ผัสสะ
7. เวทนา
8. ตัณหา
9. อุปทาน
10.ภพ
11.ชาติ
12. ชรา มรณะ

  • อวิชชา คือความไม่รู้
  • สังขาร คือสภาพการปรุงแต่ง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

สังขาร 3 ได้แก่

- กายสังขาร คือความจงใจทางกาย หรือ กายสัญเจตนา
- วจีสังขาร คือความจงใจทางวาจา หรือ วจีสัญเจตนา
- มโนสังขาร คือความจงใจทางใจ หรือมโนสัญเจตนา

อภิสังขาร 3 (เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม)
- ปุญญาภิสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี
- อปุญญาภิสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว
- อเนญชาภิสังขาร คือ สภาพปรุงแต่งภพอันมั่นคง



วิญญาณ คือความรู้แจ้งทางอารมณ์ มี 6 ได้แก่

- จักขุวิญญาณ คือ ทางตา
- โสตวิญญาณ คือ ทางหู
- ฆานวิญญาณ คือ ทางจมูก
- ชิวหาวิญญาณ คือ ทางลิ้น
- กายวิญญาณ คือ ทางกาย
- มโนวิญญาณ คือ ทางใจ

นามรูป แบ่งเป็น 2 คือ

  • นาม ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะและมนสิการ จัดเป็นจิต เรียกว่า นามขันธ์
  • รูป ได้แก่ รูปขันธ์ ประกอบด้วยมหาภูตรูป 4 อย่างคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอุปาทายรูป 24 อย่าง

สฬายตนะ คือ ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ ได้แก่ อายตนะภายใน 6 อย่างคือ

- จักขุ คือ ตา
- โสตะ คือ หู
- ฆานะ คือ จมูก
- ชิวหา คือ ลิ้น
- กายะ คือ กาย
- มโน คือ ใจ

ผัสสะ คือสิ่งที่มากระทบหรือประจวบกันระหว่างอายตนะภายใน(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) กับ อายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธัมมารมณ์)

เวทนา คือความเสวยทางอารมณ์ แบ่งเป็น 3 อย่างคือ

- สุขเวทนา คือ ความรู้สึกชอบ
- ทุขเวทนา คือความรู้สึกชัง
- อทุกขมสุขเวทนา คือความรู้สึกเฉย ๆ

ตัณหา คือความทะยานอยาก ได้แก่

- กามตัณหา คือความอยากในกาม
- ภวตัณหา คืออยากในภพ
- วิภวตัณหา คือความอยากพ้นจากภพใดภพหนึ่ง

อุปทาน คือความยึดมั่น แบ่งเป็น 4 คือ

- กามุปาทาน คือความยึดมั่นในกามคือรูป เสียง กลิ่น ฯ
- ทิฏฐปาทาน คือความยึดมั่นในลัทธิหรือคำสอน
- สีลพัตตุปาทาน คือความยึดมั่นในศีลและพรต
- อัตตวาทุปาทาน คือความยึดมั่นในว่าตน (อัตตา)

ภพ คือภาวะแห่งชีวิต แบ่งเป็น 3 คือ
- กามภพ คือภพของสัตว์ผู้เสวยกามคุณ
- รูปภพ คือภพของสัตว์ผู้เข้าถึงรูปฌาน คือพรหม 16 ชั้น
- อรูปภพ คือภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌานคืออรูปพรหม 4

ชาติ คือความเกิด
ชรามรณะ คือความแก่และความตาย
- ชราคือความเสื่อมแห่งอายุหรือหง่อมแห่งอินทรีย์
- มรณะ คือความสลายไปแห่งขันธ์หรืออินทรีย์

กิเลส คือสาเหตุผลักดันให้คิดปรุงแต่งกระทำการต่าง ๆ เรียกว่า กิเลสวัฏฏ์
กรรม คือการกระทำ หรือปรุงแต่งชีวิต ให้เป็นไปต่าง ๆ เรียกว่า กรรมวัฏฏ์
วิบาก คือผลแห่งการปรุงแต่งของกรรมและปัจจัยเสริมสร้างกิเลส เรียกว่า วิปากวัฏฏ์

  • วิบาก คือผลแห่งการปรุงแต่งของกรรมและปัจจัยเสริมสร้างกิเลส เรียกว่า วิปากวัฏฏ์
  • วิบาก คือผลแห่งการป** วิบาก คือผลแห่งการปรุงแต่งของกรรมและปัจจัยเสริมสร้างกิเลส เรียกว่า วิปากวัฏฏ์
  • วิบาก คือผลแวิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยใช้หลักศาสนธรรม

โลกธรรม 8 ประการคือ
1. มีลาภ
2. เสื่อมลาภ
3. มียศ
4. เสื่อมยศ
5. นินทา
6. สรรเสริญ
7. สุข
8. ทุกข์

แห่งการปรุงแต่งของกรรมและปัจจัยเสริมสร้างกิเลส เรียกว่า วิปากวัฏฏ์

มองความจริงของชีวิตด้วยหลักคริสตธรรม

1. ศาสนาคริสต์เป็นเทวนิยม พระเจ้าองค์เดียวชื่อพระยะโฮวาห์
2. พระยะโฮวาห์มีกายทิพย์จึงมองไม่เห็นมี 3 ลักษณะคือ พระบิดา พระบุตร และพระจิต เป็นองค์ เดียวเรียกว่า ตรีเอกานุภาพ
3. พระยะโฮวาห์ ทรงเป็นพระบิดาแห่งความรัก
4. พระยะโฮวาห์ เป็นผู้สร้าง รักษาและทำลายโลก
5. อาดัมเป็นมนุษยชาติคนแรกที่ทำความชั่ว บาปจึงถือกำเนิดติดตัวมาถึงมนุษย์ทั้งมวล

หลักความเชื่อสูงสุดของศาสนาคริสต์ 3 อย่างคือ

1. พระเจ้า คือพระบิดาเป็นผู้ยิ่งใหญ่มาก ทั้งเป็นผู้สร้าง ผู้รักษา และเป็นผู้ทำลายโลก
2. พระเยซู คือพระบุตรของพระเจ้าที่ทรงส่งมาเพื่อไถ่บาปให้แก่มนุษย์ บางทีเรียกว่า พระมหาไถ่ คือนำบาปออกจากมนุษย์
3. พระจิต หมายถึงดวงวิญญาณที่บริสุทธิ์ที่มีอยู่ในโลก ซึ่งหมายถึงความดีนั่นเอง

» กำเนิดชีวิตตามทัศนะของศาสนา

» กำเนิดชีวิตตามทัศนะของนักวิทยาศาสตร์

» สาระของชีวิตตามแนวพุทธธรรม

» พุทธธรรมเป็นปรัชญาชีวิต

» ชีวิตควรอยู่เพื่ออะไร

» การดำเนินชีวิตตามแนวพุทธธรรม

» สาระความจริงของชีวิตตามแนวศาสนาคริสต์

» สาระความรู้ทางแนวชีวิตตามศาสนาคริสต์

» สาระของชีวิตตามแนวศาสนาอิสลาม

» สาระความจริงของชีวิตตามแนวศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

» สาระของชีวิตตามแนวศาสนาเต๋าและขงจื้อ

» คุณค่า เป้าหมายและความสำเร็จของชีวิต

» คุณค่า เป้าหมายและความสำเร็จของชีวิต

» การมองความจริงของชีวิตด้วยศาสนธรรม

» การดำเนินชีวิตตามหลักศาสนธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย