ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ชีวิต
ชีวิต ตามพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 เป็นคำนาม หมายความว่าความเป็นอยู่ตรงกันข้ามกับคำว่า
"อชีวะ" หรือ "อชีวิต" คือ ความไม่มีนชีวิตหรือความตายเพราะสิ้นกาย ไออุ่น
และวิญญาณ ฉะนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตของตนเองจะทำให้เข้าใจข้อเท็จจริง คุณค่า
ความสำคัญ ความเป็นไปและความควรจะเป็นแห่งชีวิตของตนได้อย่างถูกต้อง
พระเทพวิสุทธิเมธี (พุทธทาสภิกขุ)
ได้กล่าวถึงชีวิตในมุมมองที่แตกต่างกันว่า เรื่องของชีวิตคืออะไรนี้
มันก็มีหลายแง่หลายมุม , ถ้ามองในแง่วัตถุชีวิตก็มีความหมายอย่างหนึ่ง
ถ้ามองในแง่จิตใจก็มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง ถ้ามองในแง่ธรรมะสูงสุด
มันก็มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง แต่เราก็เอาความหมายธรรมดา ๆ นี่ว่า
ชีวิตคือความที่ยังไม่ตาย ยังมีชีวิตอยู่ นี้มันคืออะไร ?
ด้วยคำถามต่อไปอีกว่าเพื่ออะไร ? เพื่อทำอะไร ? (ธรรมะสำหรับครู : 182)
จากการตอบคำถามเกี่ยวกับชีวิตตามทรรศนะของท่านพุทธทาสภิกขุทำให้เราทราบลึกลงไปอีกว่าชีวิตมีจุดหมายปลายทาง
มิใช่แต่เพียงสักว่ามีอยู่ เป็นอยู่เท่านั้น ซึ่งจุดหมายปลายทางของชีวิตดังกล่าวคือ
ความอยู่รอดซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติหรือเดินตามกฎธรรมชาติ
ความอยู่รอดดังกล่าว หมายถึง
การรักษาชีวิตของตนเองและรวมไปถึงการอยู่รอดของผู้อื่นในแวดวงเดียวกันด้วย
ดังจะเห็นได้จากพฤติกรรมของหมู่สัตว์ที่มีสัญชาตญาณในการดูแลรักษาเผ่าพันธุ์ของตนให้อยู่รอดด้วยการหาอาหารและป้องกันภัยให้แก่ลูกน้อยและบริวารของตน
ดังนั้นความอยู่รอดจึงเป็นเป้าหมายของชีวิตในระดับสากลทั้งในคน สัตว์ และพืช
»
กำเนิดชีวิตตามทัศนะของศาสนา» กำเนิดชีวิตตามทัศนะของนักวิทยาศาสตร์
» การดำเนินชีวิตตามแนวพุทธธรรม
» สาระความจริงของชีวิตตามแนวศาสนาคริสต์
» สาระความรู้ทางแนวชีวิตตามศาสนาคริสต์
» สาระของชีวิตตามแนวศาสนาอิสลาม
» สาระความจริงของชีวิตตามแนวศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
» สาระของชีวิตตามแนวศาสนาเต๋าและขงจื้อ
» คุณค่า เป้าหมายและความสำเร็จของชีวิต
» คุณค่า เป้าหมายและความสำเร็จของชีวิต
» การมองความจริงของชีวิตด้วยศาสนธรรม