ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
การเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส
การรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของชนชาติไทย
ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมาจนถึงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ได้แสดงให้เห็นถึงอดีตอันรุ่งโรจน์และการสูญเสียดินแดนและเอกราชในช่วงต่างๆ
ตั้งแต่สมัยที่อพยพถอยร่นลงมาจากเทือก เขาอัลไตมายังจีนตอนใต้
จนถูกจีนรุกรานโจมตีถอยร่นมาสามารถสร้างอาณาจักรไทยที่เป็นอิสระในดินแดนที่เรียกว่าสยาม
หรือสุวรรณภูมิ
และมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเวลาต่อเนื่องกันมาหลายร้อยปี
ซึ่งทำให้คนชาติไทยกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วไป ตั้งแต่ในตอนใต้ของจีน
จนถึงแหลมอินโดจีน อาทิ ดังที่พระยาอนุมานราชธน
เขียนถึงประวัติความเป็นมาของชนชาติไทย ไว้ใน พ.ศ.2483 ว่า
ไทยพวกแรกที่ยกลงมาในแหลมอินโดจีน ถ้าถือเอาตำนานพื้นเมืองมาเป็นหลัก
ก็คงได้แก่พวกไทยใหญ่ พวกนี้คงอพยพลงมาตามแนวลุ่มน้ำเมาและน้ำคง
แล้วต่อมาก็มีไทยพวกอื่นยกแยกลงมาตามลำน้ำโขง ผ่านเข้าไปในดินแดนสิบสองปันนา
และแดนสิบสองจุไทย (แดนนี้เป็นที่อยู่ของพวกผู้ไทย ซึ่งเป็นไทยสาขาหนึ่ง
ชาวหลวงพระบางเรียกผู้ไทยว่า ลาวเก่า
(คือพวกอ้ายลาวเดิม)แสดงว่าพวกผู้ไทยมาอยู่ในแคว้นนี้ก่อน พวกไทยน้อยยกตามมาที่หลัง
พวกทรงดำอยู่ทางจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี ก็คือพวกผู้ไทยดำ)พวกหลังนี้เรียกว่า
ไทยน้อย ซึ่งต่อมาบางพวกได้เข้ามาอยู่ในแดนลานนาไทย
แล้วในที่สุดขยายแดนลงมาในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เรื่อยลงมาถึงแหลมมลายูโดยลำดับ
จนมาเป็นประเทศไทยอยู่บัดนี้
อดีตอันรุ่งโรจน์
และการสูญเสียของชนชาติไทยอันมีประวัติศาสตร์สืบเนื่องมายาวนานเหล่านี้
ถูกนำมาใช้เพื่อหลอมรวมคนเชื้อชาติไทยให้มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยความผูกพันธ์ทางเชื้อชาติเป็นสำคัญ
ซึ่งอาจเห็นได้อย่างชัดเจนจากการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามให้เป็นประเทศไทย
โดยนอกจากจะทำให้ชื่อประเทศตรงกับชื่อเชื้อชาติของพลเมือง (ส่วนใหญ่) แล้ว
ยังเป็นการเพิ่มพูนความรักประเทศ ระลึกถึงความเป็นไทย และ
เป็นการปลูกความสามัคคีระหว่างชาวไทยในประเทศนี้กับชาวไทยที่กระจัดกระจายอยู่ในประเทศอื่นให้มีความรักใคร่กันยิ่งขึ้น
นอกจากนั้นแล้ว
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์แห่งการสูญเสียดินแดนให้กับการล่าอาณานิคมของจักรวรรดินิยมตะวันตกเป็นเหตุการณ์ที่ยังฝังอยู่ในความรู้สึกคนร่วมสมัยจำนวนไม่น้อย
โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไทยต้องสูญเสียดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและดินแดนอื่นๆให้กับฝรั่งเศสที่คุกคามสยาม
ถึงขั้นนำเอาเรือปืนบุกแล่นฝูาปฺอมปืนที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาประชิดถึงตัวพระราชวังได้
และทำให้รัฐบาลสยามต้องยินยอม เสียดินแดน
บางส่วนเพื่อแลกกับเอกราชและอำนาจอธิปไตยของสยามเอาไว้
สยามจำเป็นต้องยกดินแดนให้กับฝรั่งเศสรวม 5 ครั้งด้วยกันคือ
- ใน พ.ศ.2410 เสียพื้นที่ที่เป็นเขมรส่วนใหญ่ และเกาะ 6 เกาะ
- เสียแคว้นสิบสองจุไทย
- เสียฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
- เสียฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงข้ามหลวงพระบาง และตรงข้ามปากเซ
- เสียจังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ และต้องเสียดินแดนที่เรียกว่าหัวเมืองเงี้ยวและหัวเมืองตะวันออก รวมทั้งรัฐไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิสให้อังกฤษ ใน พ.ศ.2435 และ พ.ศ.2451 ตามลำดับ
สำนึกแห่งอดีตของคนทั่วไป นอกจากจะรับรู้ถึงอดีตอันยิ่งใหญ่ของชนชาติไทย
ยังได้รับอิทธิพลจากละครอิงประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ
ที่กล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดในการเรียกร้องดินแดนที่เคยสูญเสียไปคืนมา
เช่น เรื่องราชมนู (พ.ศ.2480) ที่กล่าวถึงชาวเขมรว่าเป็นคนไทยเช่นเดียวกัน
เพียงแต่เข้าไปอยู่ในดินแดนของขอมโบราณจึงเรียกว่าชาวเขมรต่อมา
หรือเรื่องเจ้าหญิงแสนหวี (พ.ศ.2481) ที่กล่าวถึงการมีเชื่อชาติ
และวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างชาวไทยใหญ่ (ในแคว้นฉานพม่า) และชาวไทยน้อย
ซึ่งก็คือไทยสยาม ถึงแม้ว่าจะแยกจากกันแต่ก็คงเป็นไทยเหมือนกัน
ในส่วนของการดำเนินการทางเกี่ยวกับดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น
เกิดจากในปี พ.ศ.2482 ก่อนที่จะเกิดสงครามในยุโรป
ฝรั่งเศสได้ยื่นเสนอขอทำสัญญาไม่รุกรานกับไทย
ส่วนรัฐบาลไทยได้ขอให้ฝรั่งเศสนำเอาปัญหาชายแดนด้านแม่น้ำโขงขึ้นมาพิจารณาปรับปรุงเส้นเขตแดน
ให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติทางกฏหมายระหว่างประเทศแต่ยังไม่มีการเจรจาตกลงกันจนกระทั่ง
เดือนมิถุนายน พ.ศ.2483 เมื่อฝรั่งเศสเป็นฝูายพ่ายแพ้ต่อเยอรมนี
ฝรั่งเศสจึงได้มาขอร้องให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบันในกติกาไม่รุกราน
อันจะทำให้กติกาสัญญานี้มีผลบังคับใช้ในทันที
รัฐบาลไทยเกรงว่าอินโดจีนของฝรั่งเศสอาจจะต้องเสียให้กับญี่ปุูน
ซึ่งเริ่มเข้ามามีอิทธิพลและย้ายกองทหารเข้ามาประจำการในอินโดจีนแล้วในวันที่ 11
กันยายน พ.ศ.2483 รัฐบาลไทยจึงถือโอกาสยื่นข้อเสนอ 3 ประการ
เพื่อแลกกับคำขอของรัฐบาลฝรั่งเศส คือ
- วางแนวเส้นเขตแดนตามลำแม่น้ำโขงให้เป็นไปตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศ
- ปรับปรุงเขตแดนให้เป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้ถือว่าแม่น้ำโขงเป็นเขตแดนระหว่างไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศส ตั้งแต่ทิศเหนือจดทิศใต้ จนถึงเขตแดนกัมพูชา และให้ไทยได้รับดินแดนทางฝั่งขวาตรงข้ามหลวงพระบางและปากเซกลับคืนมา และ
- ขอให้ฝรั่งเศสรับรองว่า ถ้าอินโดจีนมีการเปลี่ยนแปลงสูญเสียอำนาจอธิปไตยของฝรั่งเศสไป ฝรั่งเศสจะคืนอาณาเขตลาวและกัมพูชาให้แก่ไทย
ปรากฏว่าข้อเสนอของไทยได้รับการปฏิเสธจากฝรั่งเศส ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2483
โดยฝรั่งเศสยืนยันจะขอทำกติกาสัญญาไม่รุกรานกับไทย
และให้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันกันเท่านั้น
ความล้มเหลวในการเจรจากับฝรั่งเศส
ทำให้รัฐบาลทำการรณรงค์เรื่องการเรียกร้องดินแดนคืนในหมู่ประชาชน
อันจะเป็นเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลสามารถใช้กำลังทหารเข้าไปต่อสู้เพื่อนำดินแดนคืนมาได้
ก่อนที่สงครามอินโดจีนจะเริ่มขึ้นประมาณ 6 เดือน คณะผู้จัดรายการสนทนานายมั่น -
นายคง ได้รับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรี
พลตรีหลวงพิบูลสงครามให้โฆษณาหยั่งเสียงประชาชนดูว่า
เห็นด้วยหรือไม่ที่รัฐบาลจะเรียกร้องเอาดินแดนที่เสียไปกลับคืนมา
การโฆษณา ในเรื่องนี้ สังข์ พัธโนทัย บันทึกไว้ว่า
ย่อมไม่มีอะไรดีเท่ากับหยิบยกเอาพฤติการณ์ของฝรั่งเศส
ที่ทำแก่ประชาชนคนไทยในสมัยที่พวกผิวขาวกำลังแผ่จักรวรรดิในเอเชียขึ้นมาเล่าให้ประชาชนฟัง
โดยเฉพาะพฤติการณ์ของ ม. ปาวี และ กรณีที่ฝรั่งเศสปิดอ่าวไทย เมื่อ ร.ศ.112
พอนายมั่น - นายคงโฆษณาเรื่องนี้ได้พักเดียว
ก็ได้เห็นการเดินขบวนขนาดใหญ่ของประชาชน
และนักศึกษาผ่านหน้ากรมโฆษณาการไม่เว้นแต่ละวัน
ทำให้คณะเราเกิดกำลังใจที่จะดำเนินการโฆษณาการปลุกใจให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ดินแดนดังกล่าวที่ไทยต้องการเรียกร้องให้ได้คืนมานั้น รับรู้กันในสมัยจอมพล
ป. พิบูลสงครามว่าไม่ได้เป็นเพียงดินแดนที่เคยอยู่ในการปกครองของราชอาณาจักรไทย
แต่เป็นดินแดนของคนชาติไทย ที่ถูกปกครองโดยชาติอื่น กล่าวคือ
ดินแดนเหล่านั้นเป็นดินแดนของเราจริงๆ ไม่ใช่เมืองขึ้นไม่ใช่อาณานิคม
ไม่ใช่ต่างแดน แต่เป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติไทย เลือดไทย ซึ่งเป็นหน่อเนื้อเชื้อไข
มีชีวิตจิตต์ใจ และมีวัฒนธรรมอันเดียวกับพวกเรา รวมความว่า
เป็นเลือดเนื้อของเราแท้ๆ ชนชาติที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อเดียวกับเรามีจำนวน 4 ล้านคน
ต้องเสียอิสสรภาพ ต้องตกอยู่ในอำนาจบังคับและความกดขี่ข่มเหงอย่างทารุณ
ดังนั้น
ความต้องการที่จะได้ดินแดนคืนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเกียรติยศของชาติ ที่ไม่สามารถ
ทนดูเพื่อนร่วมชาติของตน ตกอยู่ในความบังคับกดขี่ของชาติอื่น
นโยบายการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศสของรัฐบาล
ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง
เห็นได้จากการเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืน
จากการริเริ่มของนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และนักเรียนเตรียมปริญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2483
จำนวนประมาณ 3,000 คน โดยขบวนที่ประกอบด้วยธงไตรรงค์
และแผ่นปฺายเขียนคำแสดงความต้องการได้ดินแดนคืนเช่น ไทยยอมตาย
เมื่อไม่ได้ดินแดนคืน หรือ เราต้องรบ ถ้าไม่ได้คืน
ร่วมกับเสียงตะโกนของผู้เดินขบวนได้เคลื่อนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาหยุดที่หนัาศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม
นายกรัฐมนตรีได้มาให้โอวาทแก่ผู้ทำการเดินขบวน และย้ำว่า
ไทยต้องการเรียกร้องสิ่งที่เป็นของตนคืนมาเท่านั้น
ซึ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ไทยกำลังเรียกร้องนั้นก็เป็นพี่น้องเลือดเนื้อชาวไทยด้วยกัน
การเดินขบวนครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ได้มีการเดินขบวนขึ้นและในตอนบ่ายวันเดียวกันนั้นเองก็ได้มีการเดินขบวนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองรวมทั้งนักเรียนเตรียมปริญญาขึ้นอีกครั้งหนึ่งด้วย
หลังจากวันที่ 8
ตุลาคมเป็นต้นมาก็ได้มีการเคลื่อนไหวเดินขบวนของกลุ่มองค์กรต่างๆ อีกมากมาย เช่น
นักเรียนพยาบาลผดุงครรภ์แห่งโรงพยาบาบศิริราช
นักเรียนและครูโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
และโรงเรียนอำนวยศิลป์หรือนักเรียนฝึกหัดครูในเขตกรุงเทพฯ 14 โรงเรียน
รวมทั้งมีการเดินขบวนครั้งใหญ่ของประชาชนในพระนคร ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2483
จำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน
ซึ่งการเดินขบวนสนับสนุนรัฐบาลนี้ได้ขยายไปยังจังหวัดต่างๆ อีกด้วย
การเคลื่อนไหวของประชาชนได้กลายเป็นมติมหาชนที่สามารถทำให้รัฐบาลใช้ความรุนแรงนำดินแดนที่เสียไปกลับคืนมา
คือการต่อสู้ด้วยกำลังทหาร
บรรยากาศทางการเมืองที่สร้างความตึงเครียดให้กับฝูายไทยกับฝรั่งเศส
นำไปสู่การปะทะกันตามชายแดน และกลายเป็นการรบที่รุนแรงขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 28
พฤศจิกายน พ.ศ.2483 หลังจากการที่ฝรั่งเศสเข้ามาทิ้งระเบิดที่นครพนม
แต่ก็เป็นการรบแบบที่ไม่มีการประกาศสงคราม จนถึงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2484
(มีการเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินใหม่ โดยเริ่มนับวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่
และทำให้ปี พ.ศ.2483 หมดลงในเดือนธันวาคม โดยมีเพียง 9 เดือน)
ทหารฝรั่งเศสได้เข้าบุกโจมตีอำเภออรัญประเทศอย่างรุนแรง
รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศสงครามกับฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 มกราคม
พ.ศ.2484 สังข์ พัธโนทัย เล่าถึงเหตุการณ์ช่วงนี้ว่า
เมื่อนายมั่น - นายคง โปรปะกันดา (propaganda) มา 6 เดือนเต็ม
ทัพไทยซึ่งขวัญดีก็พร้อมกันยาตราทัพเข้ารบกับฝรั่งเศสอินโดจีนทั้งทัพเรือบกและอากาศในแนวรบอันยาวเหยียดกำลังของเราเหนือฝรั่งเศสและทหารของเราซึ่งมีเสื้อยันต์พรักพร้อมก็รบอย่างห้าวหาญ
ฝรั่งเศสต่อสู้อย่างเหนียวแน่นแต่ทนความกล้าหาญของทหารไทยไม่ได้ต้องล่าถอยไปในแนวรบทุกด้าน
การรบระหว่างไทยกับฝรั่งเศสดำเนินไปประมาณเกือบ 1 เดือน
กองทัพไทยสามารถบุกเข้ายึดดินแดนกลับคืนมาได้บางส่วน รายการสนทนานายมั่น - นายคง
คอยรายงานความเคลื่อนไหวของสงครามอินโดจีนที่ไทยเป็นฝูายได้เปรียบทุกระยะ อาทิ
ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ.2484 รายงานกล่าวว่า
แม้แต่ข่าวที่ฮานอยเองก็สารภาพว่า ไทยได้อาณาเขตต์ส่วนมากของกัมพูชาแล้ว
ทหารอินโดจีนฝรั่งเศสต่อต้านทหารไทยไม่ไหว เราุจับธงไชยเฉลิมพลฝรั่งเศสได้
จับเชลยศึกทั้งผิวขาวผิวดำ
และได้อาวุธยุทธภัณฑ์ขนกับหลายคันรถุ.เวลานี้ความมีชัยเป็นของเราแล้ว
ธงไตรรงค์ของไทยได้ปลิวสะบัดในอินโดจีน ถูกต้องตามพิธีการตั้งแต่วันที่ 17
มกราคมเดือนนี้แล้ว
และประชาชนดินแดนที่ยึดได้ต่างก็มาต้อนรับธงไตรรงค์ของเราอย่างเอิกเกริก
ไม่เหมือนครั้งกระโน้น เมื่อเวลาชักธงชาติของเราลง ชักธงฝรั่งเศสขึ้นแทน
ประชาชนต่างก็เงียบสงบและเหงาทุกหนทุกแห่งุ
ดังนั้น ในสงครามอินโดจีน ธงไตรรงค์ที่ชักขึ้นในดินแดนของฝรั่งเศส
จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการได้ดินแดนคืนกลับมาเป็นของสยามอีกครั้งหนึ่ง
อันเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง นายมั่น - นายคง กล่าวต่อไปว่า
ุธงไตรรงค์ของเราได้ชักขึ้นแล้วในอินโดจี
เราจะไม่ยอมปลดลงเป็นอันขาดตราบใดที่เราดำรงชาติไทยอยู่ ธงของเรา ดินแดนของเรา
พี่น้องเลือดเนื้อไทยของเรา ทั้งสามอย่างนี้เรารักเสมอชีวิต
อยู่ที่ไหนต้องอยู่พร้อมกันสามประการ จะยอมให้ขาดไปอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้
บัดนี้พี่น้องชาวอินโดจีนของเราตามดินแดนที่เรายึดได้นั้นมีพร้อมแล้ว ทั้งธงไทย
ดินแดนไทย พลเมืองไทย เพราะฉะนั้นต่อไปนี้
ก็มีโอกาสที่จะได้ช่วยกันสร้างสมความเจริญก้าวหน้าโดยไม่มีอุปสรรคจากภายนอกอะไรมาขัดขวางุ
สงครามในอินโดจีนจึงเป็นการเพิ่มความสำคัญและความรู้สึกรักและหวงแหนในธงไตรรงค์ในเกิดขึ้นในประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่การสู้รบจะถึงจุดแตกหัก รู้ผลแพ้ชนะ
ญี่ปุูนก็ได้เสนอตัวเข้ามาเป็นคนกลางไกล่เกลี่ย ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสให้ยุติการรบ
ซึ่งในที่สุดทั้งไทยและฝรั่งเศสก็ตกลงยินยอมให้มีการเจรจาทำความตกลงระงับข้อพิพาท
โดยกระทำกันที่กรุงโตเกียว ประเทศเทศญี่ปุูน
ผลของการเจรจาเป็นไปตามสัญญาอนุสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2484 ตามอนุสัญญาฉบับนี้
ประเทศไทยได้ดินแดนกลับคืนและได้ยกดินแดนดังกล่าวขึ้นเป็นจังหวัดของไทย คือ
1) ยกแคว้นหลวงพระบาง บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำโขง ขึ้นเป็นจังหวัดลานช้าง
2) ยกแคว้นนครจัมปาศักดิ์ ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ขึ้นเป็นจังหวัดจำปาศักดิ์
3)
ยกท้องที่เมืองเสียมราฐ ขึ้นเป็นจังหวัดพิบูลสงคราม และ
4) ยกท้องที่เมืองพระตะบอง ขึ้นเป็นจังหวัดพระตะบอง
อาจกล่าวได้ว่า จุดสูงสุดในเชิงสัญลักษณ์ของชัยชนะในสงครามอินโดจีน
ก็คือการที่ไทยสามารถนำเอาธงชาติไทยกลับไปปักปลิวสะบัดอยู่ในดินแดนที่ได้กลับคืนมา
ใน พ.ศ.2484 กล่าวคือ หลังจากที่ไทยต้องยกดินแดนบริเวณ มณทลบูรพา
ในกัมพูชาให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.2450 พระยาคธาธรธรณินทร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์
ต่อมาได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระยาอภัยภูเบศร์) ผู้สำเร็จราชการมณฑลบูรพา
ต้องอพยพครอบครัวเดินทางกลับกรุงเทพฯ
และต้องอัญเชิญธงช้างซึ่งเป็นธงชาติสยามสมัยนั้นกลับคืนสู่ประเทศด้วย
พระยาคธาธรธรณินทร์ ก็คือบิดาของหลวงโกวิทอภัยวงศ์ หรือพันตรีควง อภัยวงศ์
(ตอนอพยพกลับกรุงเทพฯ นั้น พันตรีควง เพิ่งอายุได้เพียง 5 ขวบ)
และหลังจากการเจรจาได้ดินแดนเมืองพระตะบองกลับคืนมาแล้ว พันตรีควง อภัยวงศ์
ได้รับแต่งตั่งเป็นประธานกรรมการรับมอบดินแดนทางด้านบูรพา ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ
คือ พันเอกหลวงวีระ วัฒนโยธิน พันเอกหลวงยอดอาวุธ พันเอกหลวงราญปฏิเวธ
หม่อมเจ้าวงศานุวัฒน์ เทวกุล พันตรีพูล มาใช้เวทย์ นายอุดม บุญยประกอบ และนายสง่า
นิลกำแหง ก่อนเดินทางไปรับมอบดินแดนคืน พ.ต.ควง อภัยวงศ์ ประธานคณะกรรมการ
ได้กล่าวคำอำลานายกรัฐมนตรี เพื่อจะไปรับมอบดินแดนคืนจากฝรั่งเศสในวันที่ 27
กรกฎาคม พ.ศ.2484 ว่า
ตนรู้สึกขอบใจนายกรัฐมนตรีที่ให้ความไว้วางใจและให้เกียรติแต่งตั้งตนเป็นประธานอำนวยการในคราวนี่
เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับตนอย่างลึกซึ้ง กล่าวคือ
ุเมื่อ 34 ปีมาแล้ว
ท่านบิดาของกระผมได้เป็นผู้อัญเชิญธงไทยกลับสู่ประเทศไทยด้วยอาการอันนองน้ำตา
และในวาระนี้ กระผมผู้เป็นบุตรได้มีโอกาสเชิญธงไทยกลับสู่ถิ่นเดิม
ซึ่งกระผมรู้สึกว่า นอกจากจะเป็นการสนองเกียรติประเทศชาติ และรัฐบาลแล้ว
ยังเป็นการสนองความปราถนาอันแรงกล้าของท่านบิดาอีกด้วย
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ได้กล่าวตอบรับคำของคุณของประธานรับมอบดินแดนในโอกาสนี้ ว่า
ข้าพเจ้าขอมอบธงช้างอันเป็นธงไทยเดิม
ซึ่งท่านเจ้าคุณบิดาของท่านรัฐมนตรีได้นำกลับคืนมาสู่ประเทศไทยเมื่อ 34 ปีที่แล้วมา
พร้อมกับธงไตรรงค์อันเป็นธงไทยประจำชาติของเราในปรัตยุบันนี้ให้แก่ท่านและให้แก่จังหวัดต่างๆ
ในเวลาเดียวกันนี้ เพื่อนำไปประดิษฐานในดินแดนใหม่ของเรา
เป็นประจักษ์พยานว่าพวกเราได้สร้างความเป็นปึกแผ่นแน่นหนาให้แก่มวลพี่น้องชาวไทยในดินแดนเดิม
ซึ่งได้รับโอนมาใหม่นั้น
และเป็นเครื่องหมายแห่งความกว้างใหญ่ไพศาลของชาติไทยในปรัตยุบันนี้
ต่อมาในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2484
นายกรัฐมนตรีก็ได้กล่าวให้โอวาทแก่บรรดาทหารที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ในการรับมอบดินแดนแห่งราชอาณาจักรเดิมของไทยว่า
เมื่อพี่น้องทหารทั้งหลายได้เข้าสู่ดินแดนใหม่แห่งราชอาณาจักรเดิมของไทยนี้แล้ว
ท่านจะได้พบธงช้างกับธงไตรรงค์คู่กัน ชักขึ้นประดิษฐาน ณ สถานที่ราชการต่างๆ
ขอให้พี่น้องทหารทั้งหลายจงมีความอิ่มเอิบใจและให้ระลึกไว้ว่า
การที่ธงไทยทั้งเก่าและใหม่ได้ปรากฏขึ้นในดินแดนเหล่านั้น
ก็ด้วยความเสียสละแห่งเลือดเนื้อและชีวิตของเรา
เราได้นำชีวิตและเลือดเนื้ออันเป็นของสุดสงวนไปซื้อมาไทยแก่มวลพี่น้องชาวไทยทั้งชาติ
นับได้ว่าเราได้ปฏิบัติหน้าที่ของชายชาติทหารสำเร็จครบถ้วนแล้วทุกประการุ
นอกจากนั้น ชาวเมืองพระตะบองก็ยังได้จัดหาธงไตรรงค์กันอย่างซ่อนเร้น
(เนื่องจากฝรั่งเศสยังปกครองอยู่) เพื่อที่จะต้อนรับคณะที่จะเข้ามารับมอบดินแดน
ซึ่งในเช้าวันที่ 25 กรกฎาคม
ชาวเมืองต่างก็ชักธงไตรรงค์กันอย่างพร้อมเพรียงซึ่งเป็นที่น่าปีติยินดีสำหรับคณะผู้รับมอบดินแดน
และเมื่อพันตรีควง อภัยวงศ์
ได้นำธงช้างอันเป็นธงชาติสยามเดิมไปชักขึ้นที่หน้ามุขตึกที่พักซึ่งเป็นที่ทำการของคณะกรรมการรับมอบดินแดนในวันที่
26 กรกฎาคมนั้น มีไม่น้อยคนที่ยืนดูด้วยน้ำตาคลอ
ต่อมาช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น
ญี่ปุูนได้ขอเดินทัพผ่านประเทศไทยไปยังพม่า
และเพื่อเข้าไปตีโอบล้อมประเทศจีนขึ้นไปจากทางภาคใต้อีกทางหนึ่ง(ตอนนั้นญี่ปุูนได้บุกเข้าจีนทางภาคเหนือ
โดยมีฐานที่มั่นอยู่ในประเทศแมนจูเรีย ซึ่งมีรัฐบาลของจักรพรรดิปูยีเป็นรัฐบาลหุ่น
และเป็นผลให้พรรคก๊กมิ่นตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ยุติสงครามกลางเมืองและหันมาร่วมมือกันต่อสู่ต่อต้านการรุกราน
ส่วนสาเหตุที่ไทยรุกเข้าไปในแคว้นไทยใหญ่นั้น
นอกจากจะเป็นไปตามกติกาสัญญาพันธมิตรไมตรีที่มีร่วมกันระหว่างไทยกับญี่ปุูนแล้ว
เมืองเชียงตุงเองก็เคยตกเป็นดินแดนของไทยมาก่อน โดยนายมั่น - นายคง กล่าวว่า
เมืองเชียงตุงที่เรายึดได้เมื่อวันที่ 26 เดือนนี้
อันที่จริงก็เป็นดินแดนเดิมของอาณาจักรไทยนั่นเอง
เช่นเดียวกับที่นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ได้กล่าวถึงการเข้ายึดสหรัฐไทยใหญ่ ว่า
กองทัพไทยของเราก็ได้ไปทำการเปิดจิตไจของพี่น้องชาวไทย
ในสหรัถไทยไหย่ให้ได้รับรสมีความเบิกบานแห่งเสรีภาพ
และอิสสระภาพพ้นจากความเปนทาสคืนกลับสู่ความเปนไทยร่วมกันไนราชอาณาจักไทย
ต่อมาในวันที่ 2 มกราคม 2486 รายการของนายมั่น - นายคง
ก็ได้กล่าวถึงการมีชัยชนะอย่างสมบูรณ์เหนือดินแดนสหรัฐไทยใหญ่ โดยกล่าวถึงบทความของ
ท่านสามัคคีไทย (จอมพล ป. พิบูลสงคราม)
ที่ได้กระจายเสียงทางวิทยุไปแล้โดยมีเนื้อหาว่า สามัคคีไทย เห็นว่า
ในสัปดาห์นี้เป็น สัปดาห์แห่งโชคชัย
เพราะกองทัพไทยสามารถมีชัยชนะอย่างสมบูรณ์ที่สหรัฐไทยใหญ่นั่นเอง โดยนายมั่น -
นายคงได้กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า
วันที่ 7 มกราคม ถึงวันที่ 2ถ มกราคม
เป็นสัปดาหะแห่งชัยชนะของสกุลไทยหย่างแท้จริง
เพราะเปนสัปดาหะที่กองทัพไทยนำชัยชนะมาเปนพุทธบูชาุและนำพี่น้องไนครอบครัวไทยมาร่วมสกุลไทย
ซึ่งเปนสกุลของพ่อแม่ร่วมกันของพวกเรามาแต่ดั้งเดิม
นอกจากนั้นแล้ว นายมั่น - นายคง ยังกล่าวอีกว่า
ไตรรงค์ทงชาติไทยของเราคราวนี้มีชีวิตจิตไจเพิ่มยิ่งขึ้น ซึ่ง ท่านสามัคคีไทย
ได้กล่าวไว้ว่า ไตรรงค์ธงชาติไทย มีชีวิตขึ้นได้เพราะรบ กินหยู่ วัธนธัม
เมื่อกองทัพไทยรบชนะเช่นนี้แล้ว
ไตรรงค์ทงชาติไทยก็ต้องมีชีวิตสดไสยิ่งขึ้นหย่างแน่นอน
ยิ่งมือนักรบผู้กล้าหานของเราถือไปสบัดอยู่ตามชายแดนถิ่นไทยเดิมของพ่อแม่ในสหรัถไทยไหย่ทั่วทุกหนแห่งด้วยแล้ว
ทงชาติไทยก็มีชีวิตสดใสยิ่งขึ้นในมือของเผ่าสกุลไทยเอง
ไทยในยูนนานก็ได้เห็นทงชาติไทยของเขาอีกวาระหนึ่ง
นอกจากนั้น เหตุการณ์ช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลารอยต่อทางประวัติศาสตร์
ที่จะเชื่อมระหว่างปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ และ
เปนหัวต่อสำคันที่จะเชื่อมโยงไทยภายใต้ความควบคุมของพุทธศาสนาในลุ่มน้ำเจ้าพระยากับไทยในแคว้นยูนนานให้สนิทชิดเชื้อกันยิ่งขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น นายมั่น - นายคง
ยังกล่าวแทนถึงความรู้สึกของผู้คนที่อยู่ทางเชียงรุ่ง ด้วยว่า
ความรู้สึดเช่นนี้เราหยู่ทางนี้น่ากลัวจะหาคำพูดไห้เพียงพอไม่ได้
ต้องหยู่ทางเชียงรุ่งเอง และเห็นทงไตรรงค์รำไรอยู่ข้างหน้า แล้วจึงจะเล่าถูก
ทำไมพี่น้องชาวเชียงรุ่งของเราจะไม่ยินดีล่ะ เมื่อทงไตรรงค์เป็นทงของสกุลไทย
เป็นทงของไทยยูนนานุ
ก่อนจบรายการ นายมั่น - นายคง กล่าวบทกล่อมขวัญลูกไทย (เด็กเกิดในวันที่ 1
มกราคม พ.ศ.2486) มีเนื้อหายืนยันความเห็นที่กล่าวไปแล้วว่า
ลูกเอ๋ย ลูกไทย เกิดมาในสมัยไทยรุ่งเรือง ธงชาติไทยแกว่งไกวไนเชียงตุง
แล้วเลยพุ่งตรงไปไนยูนนาน พ่อเอาเลือดทาไว้เพื่อไตรรงค์ ขยายวงศ์สกุลไทยให้ไพศาลุ
ดังนั้น ธงไตรรงค์ในตอนนี้
ได้รับการสร้างความหมายโดยรัฐว่าไม่ได้เป็นเพียงแค่ธงชาติของประชาชนพลเมืองในชาติไทย
และในประเทศไทยเท่านั้น
แต่ยังจะเป็นได้ถึงธงชาติของปวงผู้คนที่มีเชื้อสายอยู่ในสกุลไทย
กล่าวคือเป็นธงชาติของบรรดาคนเชื้อชาติไทยทั้งหมด
ซึ่งรัฐไทยจะต้องนำทัพไปยึดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง กับรัฐไทยในขณะนั้น
กล่าวได้ว่า
นี่เป็นจุดสูงสุดของการรณรงค์เกี่ยวกับสำนึกความเป็นชาติที่หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างความเป็นชาติกับความเป็นธงชาติของธงไตรรงค์ซึ่งใช้ออกไปอย่างกว้างขวางครอบคลุมไปถึงคนเชื้อชาติไทยในดินแดนต่างๆ
ที่อยู่นอกรัฐไทยให้รวมเข้ามาใช้ธงไตรรงค์ร่วมกัน รวมทั้งยังอธิบายด้วยว่า
คนเหล่านั้นอยากจะเข้ามาร่วมวงศ์ไพบูลย์อยู่ภายใต้ธงไตรรงค์ร่วมกับชาติไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
และยังไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลยหลังจากนั้น
ส่วนการดำเนินการโฆษณารณรงค์เรื่องการเคารพธงชาติในสมัยจอมพล ป.
พิบูลสงคราม ถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี
การเคารพธงชาติได้กลายเป็นหลักปฏิบัติที่มีระเบียบแบบแผน
และเป็นสิ่งที่ประชาชนถือว่าเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
และในขณะที่นโยบายทางวัฒนธรรมหลาย อย่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.
พิบูลสงคราม ได้ถูกยกเลิกไป เช่น การห้ามกินหมาก การบังคับให้สวมหมวกออกจากบ้าน ฯลฯ
แต่เรื่องการเคารพธงชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป.
พิบูลสงครามและยังคงปฏิบัติต่อมา แม้ว่าในปลาย พ.ศ.2487 รัฐบาลควง อภัยวงศ์ ได้ออก
ระเบียบการชักธงชาติ พุทธศักราช 2488 ขึ้นใหม่ (ประกาศวันที่ 29 ธันวาคม
พ.ศ.2487) แต่ก็ยังมีเนื้อความคล้ายคลึงกับระเบียบการชักธงชาติที่ออกใน พ.ศ.2483
สังข์ พัธโนทัย ได้เขียนบันทึกไว้ในระหว่างที่ถูกจับขังคุกขณะรอการสอบสวน
ในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรสงครามหลังการสิ้นสุดของรัฐบาลจอมพล ป.
พิบูลสงคราม และสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2488 ได้กล่าวถึงการเคารพธงชาติในคุกว่า
ุวันพุธได้ยินเสียง ผบก. (ผู้บัญชาการเรือนจำ)
สั่งเคารพธงชาติอยู่ที่ระเบียงและได้ยินเสียงแตรวงบรรเลงอยู่ไกลๆ
ลุกจากที่นอนขึ้นมายืนตรงอยู่จนสิ้นเสียงเพลงแล้ว ผบก. อธิบายว่า
ที่นี่มีการทำพิธีชักธงชาติทุกวัน ชักนึกกระหยิ่มใจว่าไม่เสียแรงที่ นายมั่น
จ้ำจี้จ้ำไชพูดอยู่หลายหน ผลอันนี้ยังคงเหลืออยู่
จนตัวผู้พูดเองมาได้รับคำชี้แจงเรื่องการเคารพรธงชาติอยู่ในกรงเหล็ก
ดูก็ไม่เลวเลยุ
ส่วนจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ถูกจับกุมด้วยนั้น สังข์ พัธโนทัย
บันทึกไว้ว่า ุเช้าๆ เย็นๆที่โรงพักนี้ เขามีการทำพิธีชักธงชาติขึ้นและลงตามเคย
ท่านจอมพลทำความเคารพธงชาติอย่างเข้มแข็งทุกครั้ง
ครั้งหนึ่งทำความเคารพแล้วหันหน้ามาทางฉัน พูดเบาๆ ว่า
นี่เป็นงานชิ้นหนึ่งที่เราทำกันไวุ้
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
รัฐบาลพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา และรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ได้ให้ความสำคัญต่อธงไตรรงค์มากกว่าที่เคยเป็นมา
มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจความหมายของธงไตรรงค์ว่าเป็นสัญลักษณ์แทนเอกราช
และอธิปไตยของสยาม ทั้งเป็นสัญลักษณ์ที่ก่อให้เกิดความรักชาติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธงไตรรงค์
ได้เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ต้องปฏิบัติด้วยความเคารพ
เสมือนเคารพต่อชาติตนเองรวมทั้งมีการกำหนดระเบียบปฏิบัติต่างๆ
เพื่อแสดงถึงเกียรติยศของธงชาติ
และกำหนดให้เกิดพิธีการเคารพธงชาติขึ้นเป็นประจำทุกวัน
อันเป็นประเพณีปฏิบัติที่สืบต่อมาจนทุกวันนี้
อ้างอิง : ธงชาติไทย - ชนิดา พรหมพยัคฆ์ เผือกสม