ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
ศาสตราจารย์ Seymour Papert แห่ง Media Lab, Massachusetts Institute of
Technology, สหรัฐอเมริกา
ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้
ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง
ด้วยการนำเสนอเพื่อสร้างประสบการณ์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ
ที่สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ ทำให้ผู้เรียนเรียนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
และเปลี่ยนกรอบความคิดของครูจากเดิม ซึ่งเน้นการสอนไปเป็นการให้อิสระแก่ผู้เรียน
ได้ร่วมเรียนรู้เป็นอิสระในการเรียนโดยพึ่งพาตนเอง
สาระสำคัญของทฤษฎีแห่งการสร้างสรรด้วยปัญญา (Constructionism )
ผู้เรียนเป็นฝ่ายสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง
มิใช่ได้มาจากครูและในการสร้างความรู้นั้น
ผู้เรียนจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เช่น การสร้างสิ่งจำลอง
การสร้างสิ่งที่จับต้องสัมผัสได้ ทำให้ผู้อื่นมองเห็นได้
จะมีผลทำให้ผู้เรียนต้องใช้ความคิด มีความกระตือรือร้น
มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง อย่างเพื่อเกิดการสร้างสรรค์ความคิด
หลักการสำคัญ
- การเชื่อมโยงสิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่กำลังเรียน
- การให้โอกาสผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่มทำโครงการที่ตนเองสนใจ การสนับสนุนอย่างพอเพียงและเหมาะสมจากครูซึ่งได้รับการฝึกฝนให้มีความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง
- เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิด นำเสนอผลการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
- ให้เวลาทำโครงการอย่างต่อเนื่อง
การแสดงความคิดและผลงานของตนเองให้คนอื่นๆ รับทราบและร่วมพิจารณาให้ข้อเสนอแนะนั้น เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และการยอมรับในความแตกต่างทางความคิด และผลงานปรากฎอยู่ และได้รับการสนับสนุนให้ทำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผู้เรียนแต่ละคนก็จะมีโอกาสพัฒนาความสามารถในผลสำเร็จของตนเอง
การเรียนรู้ตามทฤษฎีสร้างสรรด้วยปัญญาเริ่มใช้ในประเทศไทยอย่างจริงจังนั้นเริ่มแต่ปี
พ.ศ. 2539 โดยมูลนิธิศึกษาพัฒน์ได้พัฒนาโครงการนำร่องคือ Lighthouse Project
เพื่อแสดงให้เห็นว่าการจัดการศึกษาที่เป็นทางเลือกใหม่สำหรับพัฒนาคนไทยให้เป็นนักคิด
นักสำรวจทดลอง และใช้เทคโนโลยีเพื่อแสดงความคิดและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
ได้อย่างคล่องแคล่ว
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้
ผู้เรียน
ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ดังนั้น
ผู้เรียนจะต้องเป็นฝ่ายริเริ่มลงมือทำโครงการซึ่งตนเองสนใจ
พร้อมกับคิดและพูดอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ได้กระทำไปแล้วให้คนอื่นๆ
รับรู้และนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการสร้างความคิด
ครู
ครูควรรู้ความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน และให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสม
และไม่น้อยเกินไปจนผู้เรียนหมดกำลังใจที่จะทำงานต่อยอมรับในความคิดแปลกใหม่ของผู้เรียนและร่วมสำรวจ
ทดลองกับผู้เรียน
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำสิ่งที่ตนเองสนใจและในระยะเวลาที่ต้องการ
ส่งเสริมให้มีการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนความคิดกันอย่างจริงจังและต่อ
ผู้ปกครอง
ปัจจุบันจำนวนบ้านเรือนที่มีคอมพิวเตอร์และ Internet เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผู้ปกครองจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในครอบครัว
โดยแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น
พยายามเรียนรู้การใช้คอมพิวเตอร์อยู่เสมอ ให้ความสนใจที่จะเรียนรู้ร่วมกับเด็กๆ
หรือเรียนรู้จากเด็กๆ ในครอบครัว
ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำหรับเรียนที่ก่อให้เกิดคุณค่าและความสุขแก่ตนเอง
และยอมรับว่าสมาชิกแต่ละคนในครอบครัวมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
แต่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดกันได้
การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
ควรสอดคล้องกับจุดประสงค์การสอน
ควรสนองความต้องหรือความสนใจของผู้เรียน
ควรเหมาะกับวุฒิภาวะ ความสามารถของผู้เรียนที่จะปฏิบัติได้
ควรสอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
ควรมีความต่อเนื่องกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่มีอยู่
ควรเรียงลำดับที่เหมาะสมจากง่ายไปยาก