สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การนิยามกลุ่มชาติพันธุ์
ประเด็นกลุ่มชาติพันธุ์เป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปในงานวรรณกรรมทางมานุษยวิทยา (Narroll
1964) เพื่ออธิบายประชากร ซึ่ง -
1. เป็นตัวตนที่ไม่เปลี่ยนแปลงในทางกายภาพทั่วไป
2.
ร่วมแบ่งคุณค่าความหมายทางวัฒนธรรมขั้นพื้นฐานที่ทำให้เป็นจริงในเอกภาพที่ปรากฏชัดในรูปแบบทางวัฒนธรรม
3. สร้างขอบเขตของการติดต่อและปฏิสัมพันธ์
4. มีความเป็นสมาชิก ซึ่งบ่งชี้นิยามตัวเองและถูกบ่งชี้นิยามโดยผู้อื่น
เหมือนกับว่าสามารถจำแนกแบ่งประเภทที่ประกอบกันขึ้นมา จากประเภทอื่นๆ
ในระเบียบแบบแผนเดียวกัน
แบบอย่างความคิดนี้
การนิยามไม่ได้เปลี่ยนไปตราบจนปัจจุบันในเนื้อหาจากทฤษฏีบทตามแบบแผนที่เชื้อชาติหนึ่ง
= วัฒนธรรมหนึ่ง = ภาษาหนึ่งและสังคมหนึ่ง = หน่วย ซึ่งปฏิเสธ
หรือแยกแยะความแตกต่างได้ ตรงกันข้ามกับผู้อื่น จนกระทั่งในการดัดแปลงรูปแบบของมัน
มันอยู่ใกล้ชิดเพียงพอต่อสภาพชาติพันธุ์วรรณนาเชิงประจักษ์จำนวนมาก
ที่น้อยที่สุดราวกับพวกเขาปรากฏขึ้นและเคยถูกรายงาน
ดังที่ความหมายนี้สืบต่อเนื่องไปยังการรองรับเป้าประสงค์ของนักมานุษยวิทยามากที่สุด
ข้อถกเถียงของฉันไม่มากเท่ากับเนื้อหาหลักของคุณลักษณะเฉพาะนี้
แม้ว่าดังที่ฉันจะแสดงให้เห็นว่า เราสามารถได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนจุดเน้นบางจุด ;
การถกเถียงหลักๆ ของฉัน
อยู่ที่แต่ละกฎเกณฑ์ที่ขัดขวางเราจากการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์และตำแหน่งพื้นที่ของพวกเขาในสังคมวัฒนธรรมมนุษย์
สิ่งนี้เป็นเพราะมันได้ร้องขอต่อปัญหาข้อสงสัยในการพิเคราะห์ทั้งหมด ;
ขณะที่พาให้เข้าใจว่าได้ให้ตัวอย่างความคิดที่กลับไปสู่รูปแบบเชิงประจักษ์
มันแสดงมุมมองที่มีนัยของการคิดเอาไว้ล่วงหน้าของสิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญในพันธุกรรม
, โครงสร้างและหน้าของแต่ละกลุ่ม
โดยมากที่สุด การพิเคราะห์มักยินยอมให้เราสมมุติเอาว่า
การดำรงรักษาพรมแดนไม่เป็นปัญหาอะไรและพาเดินตามไปจากการแยกออกมา
ซึ่งลงแยกรายการที่แสดงนัยถึงลักษณะพิเศษเฉพาะ เช่น ความแตกต่างทางเชื้อชาติ(สีผิว)
, ความแตกต่างทางวัฒนธรรม , การแบ่งแยกทางสังคมและการกั้นขวางของภาษา
ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและจัดกลุ่มขึ้นเป็นปฏิปักษ์กัน
สิ่งเหล่านี้เหมือนว่าขอบเขตจำกัดของปัจจัยที่เราใช้อธิบายความหลากหลายทางวัฒนธรรม
เราถูกนำไปสู่จินตนาการที่แต่ละกลุ่มพัฒนารูปร่างทางวัฒนธรรมและสังคมในการแยกออกจากความสัมพันธ์
ซึ่งส่วนใหญ่ในผลตอบสนองต่อปัจจัยทางนิเวศวิทยาท้องถิ่น
ด้วยประวัติศาสตร์ของการปรับตัว โดยสิ่งประดิษฐ์และการเลือกหยิบยืม
ประวัติศาสตร์นี้ได้ก่อให้เกิดโลกของการแบ่งแยกผู้คน ทุกสิ่งกับวัฒนธรรมของเขา
การอธิบายพรรณนาที่เหมือนกับตัวของมันเองอยู่บนเกาะที่โดดเดี่ยว
» กลุ่มชาติพันธุ์เป็นเหมือนหน่วยที่มีวัฒนธรรมสัมพันธ์กัน
» กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเหมือนรูปแบบการจัดองค์กร
» ความเกี่ยวข้องของอัตลักษณ์และมาตรฐานเชิงคุณค่า
» การพึ่งพิงอาศัยกันของกลุ่มชาติพันธุ์
» ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์
» อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และคุณูปการที่ปรากฎจริง
» กลุ่มชาติพันธุ์และการจัดแบ่งช่วงชั้น
» ชนกลุ่มน้อย ผู้ถูกกีดกัน และคุณลักษณะในการจัดกลุ่มองค์กรของขอบนอก
» การติดต่อและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม
» ความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์