สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเหมือนรูปแบบการจัดองค์กร
โดยความจดจ่ออยู่บนสิ่งที่เป็นจริงในทางสังคม
กลุ่มชาติพันธุ์ถูกมองราวกับว่าเป็นรูปแบบ (forms) ของการจัดองค์กรทางสังคม
การวิเคราะห์คุณลักษณะดังกล่าวนั้นกลายเป็นชุดข้อมูล (item)
คุณลักษณะพิเศษของการให้เหตุผลตัวเองและโดยคน (กลุ่ม) อื่น
การให้เหตุผลในการจัดประเภทแบบหนึ่ง เป็นการให้เหตุผลชาติพันธุ์
เมื่อมันจัดประเภทผู้คนในเงื่อนไข (term) พื้นฐานของเขา
ส่วนใหญ่ที่สุดก็โดยอัตลักษณ์ทั่วไป ซึ่งกำหนดเหตุผลพื้นฐานที่เชื่อเอา
โดยจุดกำเนิดและพื้นเพความเป็นมาของเขา
ไปถึงขอบเขตที่ผู้กระทำใช้อัตลักษณ์ในการจำแนกพวกเขาเองกับคนอื่น
เพื่อเป้าหมายของการปฏิสัมพันธ์ ที่พวกเขาก่อรูปร่างกลุ่มชาติพันธุ์ขึ้นในการรับรู้
(sense) ทางการจัดองค์กรนี้
มันเป็นความสำคัญในการรับรู้เข้าใจว่า
แม้การจำแนกทางชาติพันธุ์ได้ยึดเอาความแตกต่างทางชาติพันธุ์ไปสู่การอธิบาย
แต่เราไม่สามารถทึกทักเอาง่ายๆได้ว่าความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างหน่วยทางชาติพันธุ์กับความคล้ายคลึงและแตกต่างทางวัฒนธรรม
คุณลักษณะที่ถูกยึดเอาไปสู่การพิจารณาไม่ใช่ผลรวมของความแตกต่างเชิง วัตถุวิสัย
แต่เพียงด้วยสิ่งที่ผู้กระทำเหล่านั้นพิจารณาตัวพวกเขาเองราวกับมีความหมายสำคัญเท่านั้น
ไม่เพียงทำเครื่องหมายที่ต่างออกไปทางนิเวศ และความแตกต่างเพิ่มเกินจริง
;คุณลักษณะทางวัฒนธรรมบางอย่างถูกใช้โดยผู้กระทำราวกับสัญญาณและตราสัญลักษณ์ของความแตกต่าง
ซึ่งผู้อื่นถูกเพิกเฉย
และบางความสัมพันธ์ความแตกต่างอย่างสุดขั้วถูกลดน้อยลงและไม่ยอมรับ
เนื้อหาทางวัฒนธรรมของการแยกขั้วตรงข้ามทางชาติพันธุ์จะดูเหมือนที่เป็นการวิเคราะห์ของสองระบบ
(i) สัญญาณหรือสัญญะที่มองเห็นได้
คุณลักษณะที่ทำให้แตกต่างกันที่ผู้คนมอง/ค้นหาและแสดงออกไปสู่อัตลักษณ์ที่แสดงให้เห็น
ซึ่งบ่อยครั้งคุณลักษณะดังกล่าว ดังเช่น ชุดแต่งกาย, ภาษา, รูปทรงของบ้าน,
หรือวิถีชีวิตทั่วไป และ (ii) การจัดวางค่านิยมพื้นฐาน เช่น
เกณฑ์ของศีลธรรมและคุณความดี โดยสิ่งที่แสดงออกได้ถูกตัดสิน
เนื่องจากความสัมพันธ์แนบแน่นต่อการจำแนกชาติพันธุ์เกี่ยวข้องกับการดำรงกลุ่มที่แน่นอนของตัวบุคคล
ซึ่งมีอัตลักษณ์พื้นฐาน
และมันยังเกี่ยวพันกับการยืนยันต่อการถูกตัดสินและต่อการตัดสินตนเองด้วย
โดยเกณฑ์เหล่านั้นเป็นส่วนที่สัมพันธ์สอดคล้องกับอัตลักษณ์นั้น
ไม่ใช่ทั้งกลุ่มประเภทของ เนื้อหา ทางวัฒนธรรมเหล่านี้
เชื่อตามจากการรายการที่พรรณาคุณลักษณะทางวัฒนธรรม หรือความแตกต่างทางวัฒนธรรม;
อย่างหนึ่งที่ไม่สามารถคาดเดาจากหลักเกณฑ์แรก
ที่คุณลักษณะจะถูกเน้นย้ำและทำให้สัมพันธ์สอดคล้องเข้าเป็นกลุ่มองค์กรโดยตัวผู้กระทำ
กล่าวอีกอย่างการจำแนกทางชาติพันธุ์
ได้จัดเตรียมคุณสมบัติทางระเบียบองค์กรที่อาจจะถูกกำหนดให้ปริมาณ/จำนวนและรูปทรง
(forms) ของเนื้อหาต่างไปในระบบทางสังคม-วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
พวกเขาอาจจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์โดดเด่นในทางพฤติกรรม แต่พวกเขาต้องการที่จะไม่เป็น;
พวกเขาอาจจะแผ่ขยายชีวิตทางสังคมทั้งหมด
หรือพวกเขาอาจสัมพันธ์เกี่ยวข้องเพียงในบางส่วนของการกระทำที่จำกัด
นั่นเป็นดังการกรอบกำหนดที่เห็นได้ง่ายสำหรับงานชาติพันธุ์วรรณาและการบรรยายเปรียบเทียบของรูปร่างที่แตกต่างของการจัดระเบียบกลุ่มองค์กรชาติพันธุ์
จุดเน้นสำคัญอยู่บนการอธิบายเหมือนกับว่าลักษณะเชิงวิพากษ์ของกลุ่มชาติพันธุ์
ด้วยการแก้ปัญหา สองมโนทัศน์ที่ยุ่งยากที่ได้อภิปรายไปก่อนหน้านี้
- เมื่อนิยาม เหมือนดังที่อธิบายกับกลุ่มที่คัดสรรเฉพาะ ธรรมชาติในการต่อเนื่องของหน่วยชาติพันธุ์ดำรงอยู่ชัดเจน: มันอาศัยอยู่บนการดำรงรักษาพรมแดนหนึ่งเอาไว้ คุณลักษณะทางธรรมชาติที่พรมแดนเครื่องหมายอาจจะเปลี่ยนแปลง และคุณลักษณะพิเศษทางวัฒนธรรมของสมาชิกอาจจะคล้ายคลึงกับถูกแปรสภาพ โดยแท้จริงแล้ว แม้กระทั่งรูปร่างทางการจัดระเบียบองค์กรของกลุ่มก็อาจจะเปลี่ยนได้ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงของการสืบเนื่องต่อการสร้างสองขั้วระหว่างสมาชิกและคนภายนอก ยินยอมให้เรากำหนดธรรมชาติของความสืบต่อเนื่องและสำรวจการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและเนื้อหาทางวัฒนธรรม
- ปัจจัยความสัมพันธ์ทางสังคมเพียงอย่างเดียว ที่นำมาเป็นตัวตัดสินวินิจฉัยสำหรับความเป็นสมาชิก ซึ่งมองไม่เห็นความแตกต่างเชิงรูปธรรมและถูกทำให้เกิดขึ้นโดยปัจจัยอื่นๆ มันไม่สร้างความแตกต่าง ว่าเหตุใดสมาชิกที่แตกต่างกันอาจจะอยู่ในพฤติกรรมที่มองเห็นได้ของพวกเขา --- ถ้าพวกเขาพูดว่าพวกเขาเป็น A ในทางตรงกันข้ามกับกลุ่มอื่นที่มาจากแหล่งเดียวกันเป็น B พวกเขากำลังจะถูกปฏิบัติและก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นของพวกเขาเองถูกตีความและตัดสินว่าเป็นของ A และไม่เหมือนกับของ B กล่าวอีกอย่าง พวกเขาประกาศพอใจยอมรับต่อการร่วมแบ่งวัฒนธรรมของ A ผลลัพธ์ของสิ่งนี้เป็นเหมือนการเปรียบเทียบต่อปัจจัยอื่นที่ส่งอิทธิพลต่อพฤติกรรมตามความเป็นจริง และสามารถทำให้เห็นในการสำรวจได้
» กลุ่มชาติพันธุ์เป็นเหมือนหน่วยที่มีวัฒนธรรมสัมพันธ์กัน
» กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเหมือนรูปแบบการจัดองค์กร
» ความเกี่ยวข้องของอัตลักษณ์และมาตรฐานเชิงคุณค่า
» การพึ่งพิงอาศัยกันของกลุ่มชาติพันธุ์
» ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์
» อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และคุณูปการที่ปรากฎจริง
» กลุ่มชาติพันธุ์และการจัดแบ่งช่วงชั้น
» ชนกลุ่มน้อย ผู้ถูกกีดกัน และคุณลักษณะในการจัดกลุ่มองค์กรของขอบนอก
» การติดต่อและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม
» ความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์