สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กลุ่มและพรมแดนชาติพันธุ์

ความเกี่ยวข้องของอัตลักษณ์และมาตรฐานเชิงคุณค่า

การวิเคราะห์ลักษณะการปฏิสัมพันธ์และการจัดระเบียบองค์กรในความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ ได้ขาดความสนใจต่อปัญหาของการดำรงรักษาพรมแดน สิ่งดังกล่าวนี้บางทีเป็นเพราะว่านักมานุษยวิทยาใช้เหตุผลจากความคิดที่ผิดของต้นแบบสถานการณ์ระหว่างชาติพันธุ์ ดั้งเดิม สิ่งหนึ่งมีแนวโน้มที่จะคิดในส่วน (Terms) ของผู้คนที่แตกต่างกัน ด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และการมาด้วยกัน และการให้ความช่วยเหลือระหว่างกันของพวกเขาเอง โดยแพร่หลายมากในการตั้งอาณานิคม ไปจนถึงการทำให้ความคิดนึกเรียกร้องโดยพื้นฐานต่อการอยู่ร่วมกันของความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์ ซึ่งฉันได้สนอว่าเรามักจะถามตัวเองว่าสิ่งที่ถูกให้ความสำคัญต่อการทำให้ความแตกต่างทางชาติพันธุ์เกิดขึ้นในบริเวณหนึ่งๆ ความต้องการเรียกร้องกลุ่มองค์กรเป็นสิ่งที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งอย่างแรก กระบวนการจำแนกประเภทกลุ่มประชากรในกลุ่มประเภทสถานะตำแหน่งที่เลือกสรรเฉพาะและที่จำเป็น อย่างที่สองการยอมรับเกณฑ์พื้นฐานที่นำเกณฑ์มาตราฐานไปใช้ต่อกลุ่มประเภทกลุ่มหนึ่ง กลุ่มดังกล่าวจึงสามารถถูกทำให้แตกต่างจากอีกกลุ่มหนึ่งที่นำไปปรับใช้ได้ แม้ว่าลำพังสิ่งเหล่านี้ไม่ได้อธิบายว่าทำไมจึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมจึงเกิดขึ้น และมันไม่ทำให้เราการมองเห็นว่าพวกเขายืนยัน(พรมแดน) อย่างไร แต่ละกลุ่มประเภทสามารถถูกโยงเข้ากับการแบ่งแยกขอบเขตคุณค่ามาตรฐานความแตกต่างอย่างยิ่งระหว่างการวางตำแหน่งให้อยู่ในขอบเขตที่คุณค่าความหมายเหล่านี้เป็น และยิ่งจำกัดมากกว่าบนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ทำให้พวกเขากำหนด: สถานภาพและตำแหน่งในระบบทางสังคมโดยรวม ซึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ไม่สอดรับกับการวางตำแหน่งให้อยู่ในขอบเขตคุณค่าความหมายที่ต้องถูกยับยั้งขัดขวาง เพราะพฤติกรรมดังกล่าวในส่วนของเขาจะถูกกีดกันปฏิเสธ นอกจากนี้ เนื่องจากอัตลักษณ์ถูกส่งความหมายเหมือนกับว่าได้รับมาใช้ ซึ่งรูปร่างใหม่ของพฤติกรรมจะโน้มไปสู่การแบ่งแยกสองส่วน: ส่วนหนึ่งจะคาดหมายว่าหน้าที่จำกัดต่อการปฏิบัติในวิถีทางหนึ่ง ดังที่บุคคลจะถูกทำให้ลังเลใจที่จะกระทำในวิถีทางใหม่จากความกลัวเกรงว่าพฤติกรรมดังกล่าวอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมสำหรับตัวบุคคลหนึ่งในส่วนของอัตลักษณ์ของพวกเขา และทันทีที่จัดประเภทลักษณะการกระทำเหมือนกับว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มหนึ่งหรืออีกกลุ่มหนึ่งในคุณลักษณะพิเศษทางชาติพันธุ์ จริงๆ แล้ว การแบ่งแยกสองขั้วในการทำงานของเพศชายกับเพศหญิงดูเหมือนปรากฎแพร่หลายในบางสังคม ดังนั้นด้วยการดำรงอยู่ของการจำแนกแยกแยะพื้นฐานชาติพันธุ์จะดูเหมือนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งที่แสดงความแตกต่างทางวัฒนธรรม

ในระบบดังกล่าว การกีดกันลงโทษได้ก่อให้เกิดการยึดติดแน่นกับคุณค่าความหมายเฉพาะกลุ่ม ไม่เพียงปฏิบัติโดยผู้ที่ร่วมแบ่งในอัตลักษณ์เหล่านั้นเท่านั้น ยังกล่าวได้อีกว่า สถานะตำแหน่งที่จำเป็นอื่นๆ ที่สามารถเปรียบเทียบได้ว่า: ดังเช่น ทั้งคำดูถูกทางเพศว่าเพศชายที่เป็นหญิง และชนชั้นทั้งหมดลงโทษชนชั้นล่างผู้อ้างสิทธิในการออกเสียง และดังที่สมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในสังคมพหุ-ชาติพันธุ์กระทำต่อการดำรงรักษาความแตกต่างและการแบ่งสองขั้ว อัตลักษณ์ทางสังคมที่ใดก็ตามที่ถูกจัดระเบียบและคัดสรรโดยหลักการพื้นฐานดังกล่าว ซึ่งจะโน้มเอียงไปสู่การทำให้เกิดช่องทางผ่านและการสร้างมาตราฐานของปฏิสัมพันธ์และการเกิดขึ้นของพรมแดน ซึ่งดำรงรักษาและทำให้เกิดความแตกต่างหลากหลายทางชาติพันธุ์ภายในขอบเขตกว้างยิ่งขึ้น ที่ประกอบรวมอยู่ในระบบทางสังคมนั้น

» การนิยามกลุ่มชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์เป็นเหมือนหน่วยที่มีวัฒนธรรมสัมพันธ์กัน

» กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเหมือนรูปแบบการจัดองค์กร

» พรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์

» ระบบสังคมแบบพหุ-ชาติพันธุ์

» ความเกี่ยวข้องของอัตลักษณ์และมาตรฐานเชิงคุณค่า

» การพึ่งพิงอาศัยกันของกลุ่มชาติพันธุ์

» มุมมองทางนิเวศวิทยา

» มุมมองทางประชากร

» ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์

» การยืนยันพรมแดนทางวัฒนธรรม

» อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และคุณูปการที่ปรากฎจริง

» กลุ่มชาติพันธุ์และการจัดแบ่งช่วงชั้น

» ปัญหาของความแตกต่างหลากหลาย

» ชนกลุ่มน้อย ผู้ถูกกีดกัน และคุณลักษณะในการจัดกลุ่มองค์กรของขอบนอก

» การติดต่อและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

» ความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์และวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย