สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กลุ่มและพรมแดนชาติพันธุ์

การพึ่งพิงอาศัยกันของกลุ่มชาติพันธุ์

สิ่งที่เชื่อมโยงติดแน่น ซึ่งสัมพันธ์กับหลายกลุ่มชาติพันธุ์ในการประกอบรวมกับระบบทางสังคม ขึ้นอยู่กับลักษณะที่ส่งเสริมกันของกลุ่มกับความเกี่ยวข้องในบางส่วนของคุณลักษณะทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะของพวกเขา ดังนั้นการส่งเสริมกันสามารถเพิ่มการให้การช่วยเหลือพึ่งพากัน หรือการดำรงอยู่ร่วมกัน และกำหนดขอบเขตของการเชื่อมต่อที่กล่าวถึงไปก่อนนี้ ; ขณะที่ในอาณาบริเวณที่ไม่มีการส่งเสริมกัน ที่นั่นไม่สามารถเป็นพื้นฐานสำหับการจัดกลุ่มองค์กรบนขอบเขตชาติพันธุ์ – ที่นั่นจะไม่ได้เป็นทั้งการปฏิสัมพันธ์ หรือเป็นการปฏิสัมพันธ์ที่ปราศจาการอ้างอิงถึงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์

ระบบทางสังคมแตกต่างอย่างยิ่งในขอบเขตเกี่ยวกับอัตลักษณ์พันธุ์ที่เป็นเหมือนสถานะตำแหน่งที่จำเป็น ซึ่งจำกัดตัวบุคคลในหลายๆ สถานะตำแหน่งและบทบาทหน้าที่ ซึ่งเขาอาจตอบรับเข้ากลุ่ม ที่ใดก็ตาม การจำแนกคุณค่าความหมายเกี่ยวพันกับอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ เป็นชนิดประเภทของการกระทำที่สอดคล้องกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในอีกด้านหนึ่ง ระบบพหุ-ชาติพันธุ์ที่สลับซับซ้อน ได้ทำให้ความแตกต่างทางคุณค่าความหมายและข้อจำกัดจำนวนมากที่สัมพันธ์อย่างยิ่งมีอยู่อย่างชัดเจน บนการรวมสถานะตำแหน่งและการมีส่วนร่วมทางสังคม



ในระบบดังกล่าว กลไกการรักษาพรมแดนจะต้องเป็นกลไลที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับเหตุผลต่างๆ ดังนี้

(1) ความสลับซับซ้อนถูกยึดเป็นพื้นฐานบนการมีอยู่ของความสำคัญที่ส่งเสริมความแตกต่างทางวัฒนธรรม

(2) ความแตกต่างเหล่านี้ต้องถูกทำให้เป็นมาตรฐานทั่วไปภายในกลุ่มชาติพันธุ์ ดังเช่น กลุ่มสถานะตำแหน่งหรือตัวตนทางสังคมของสมาชิกทุกคนของกลุ่มต้องถูกทำให้เหมือนๆ กันอย่างยิ่ง – ดังนั้นปฏิสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์สามารถถูกยึดถือด้วยอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ได้ และ

(3) ลักษณะพิเศษเฉพาะทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มต้องเป็นสิ่งที่มีความแน่นอนสม่ำเสมอ ดังนั้นการส่งเสริมความแตกต่างวางอยู่บนสิ่งที่ระบบเหลือไว้สามารถยืนยันในโฉมหน้าของการติดต่อใกล้ชิดระหว่างชาติพันธุ์

ที่ใดก็ตามที่มีเงื่อนไขเหล่านี้ กลุ่มชาติพันธุ์สามารถทำให้มีความแน่นอนสม่ำเสมอและการปรับเปลี่ยนการอยู่ร่วมกันกับกลุ่มอื่น: กลุ่มชาติพันธุ์อื่นในท้องถิ่นกลายเป็นส่วนของสภาพแวดล้อมธรรมชาติ; ส่วนพื้นที่ของการเชื่อมต่อจัดเตรียมขอบเขตที่สามารถหาประโยชน์ได้ ขณะเดียวกันในส่วนอื่นของการกระทำของกลุ่มอื่น ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน จากจุดตำแหน่งมุมมองของสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ

» การนิยามกลุ่มชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์เป็นเหมือนหน่วยที่มีวัฒนธรรมสัมพันธ์กัน

» กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเหมือนรูปแบบการจัดองค์กร

» พรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์

» ระบบสังคมแบบพหุ-ชาติพันธุ์

» ความเกี่ยวข้องของอัตลักษณ์และมาตรฐานเชิงคุณค่า

» การพึ่งพิงอาศัยกันของกลุ่มชาติพันธุ์

» มุมมองทางนิเวศวิทยา

» มุมมองทางประชากร

» ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์

» การยืนยันพรมแดนทางวัฒนธรรม

» อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และคุณูปการที่ปรากฎจริง

» กลุ่มชาติพันธุ์และการจัดแบ่งช่วงชั้น

» ปัญหาของความแตกต่างหลากหลาย

» ชนกลุ่มน้อย ผู้ถูกกีดกัน และคุณลักษณะในการจัดกลุ่มองค์กรของขอบนอก

» การติดต่อและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

» ความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์และวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย