สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กลุ่มและพรมแดนชาติพันธุ์

อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และคุณูปการที่ปรากฎจริง

ปัจจัยการดำรงรักษาพรมแดนต่างๆ ในชาวเฟอร์ไม่ทำให้เข้าใจการอภิปรายนี้โดยตรง Haaland (หน้า 65) เสนอว่าการประเมินค่าชีวิตคนเร่ร่อน โดยมาตรฐานชาวเฟอร์และค้นหาความสมดุลย์ระหว่างข้อดีและข้อด้อยไม่อาจสรุปได้ ในการสืบค้นให้สามารถเปรียบเทียบกรณีนี้ได้ เราต้องการที่จะมองที่ปัจจัยทั้งหมดโดยทั่วไปมากกว่าผลสะท้อนพฤติกรรมในปัญหาคำถาม ข้อมูลดิบที่ได้มาจากบริบททางชาติพันธุ์ที่แตกต่างโดยรวม และด้วยปริมาณของปัจจัยที่หลากหลายไปพร้อมกัน

ความสัมพันธ์ของปัจเจกต่อแหล่งที่ให้ผลโดดเด่นราวกับข้อแตกต่างสำคัญระหว่างสองภูมิภาค ในตะวันออกกลาง วิธีในการผลิตถูกยึดถือเหมือนเป็นคุณสมบัติส่วนตัวหรือเป็นของกลุ่ม โดยแบบแผนปฏิบัติ ที่สามารถบ่งชี้และถ่ายทอดกรรมสิทธิ์ได้ มนุษย์สามารถได้รับสิ่งเหล่านั้นผ่านการดำเนินงานที่เฉพาะเจาะจงและจำกัด ดังเช่น การซื้อหรือเช่า; กระทั่งในการช่วงชิงสิทธิอันชอบธรรมที่ถูกรับมาเป็นมาตรฐานที่กำหนดความถูกต้องชอบธรรม ในอีกด้านหนึ่ง ชาวดาเฟอร์ ดังเช่นในส่วนมากของเขตซูดานิค (Sudanic) ซึ่งการประสบผลเหนือแบบแผนธรรมเนียมได้ทำให้มีความแตกต่างกัน ผืนดินสำหรับการเพาะปลูกถูกจัดแบ่งตามความต้องการของสมาชิกในชุมชนท้องถิ่นหนึ่งๆ การแบ่งจำแนกระหว่างผู้เป็นเจ้าของกับผู้เพาะปลูก ดังที่มีความสำคัญในโครงสร้างทางสังคมของชุมชนตะวันออกกลางส่วนใหญ่ไม่สามารถถูกจำแนกได้ เพราะความเป็นเจ้าของไม่เกี่ยวกับสิทธิที่สามารถแบ่งแยกกันโดยสมบูรณ์และถ่ายโอนกันได้ การเข้าถึงวิธีการผลิตในหมู่บ้านชาวเฟอร์เป็นเพียงเงื่อนไขดังกล่าวที่ตั้งอยู่บนการมีส่วนรวมในชุมชนหมู่บ้านเท่านั้น – เช่น อยู่บนอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ชาวเฟอร์ สิทธิในการเลี้ยงสัตว์ก็อย่างเดียวกัน ไม่ได้แบ่งสรรและทำให้เป็นกรรมสิทธิ์ขาด แม้กระทั่งในระหว่างชนเผ่าแบ๊กการ่าด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามกลุ่มและชนเผ่าต่างๆมีแนวโน้มที่จะใช้เส้นทางและพื้นที่เดียวกันในทุกๆ ปี และอาจจะในช่วงที่ทดลองเส้นทางเฉพาะกิจที่อยู่นอกทางคนอื่นจากบริเวณที่พวกเขาต้องการใช้ ซึ่งพวกเขาผสมผสานกันอย่างเป็นปกติและไม่มีการบ่งชี้กำหนดและสิทธิพิเศษโดยโดยสิ้นเชิง การเข้าถึงสิทธิการเลี้ยงสัตว์เป็นไปโดยอัติโนมัติในการปฏิบัติทางเกษตรกรรมและสืบทอดการดำรงอยู่ของชาวแบ็กการ่า

โดยทั้งหมด กลไลของการดำรงรักษาพรมแดนในชาวดาเฟอร์ ค่อนข้างเป็นปกติทั่วไป ดังที่ : มนุษย์ได้เข้าถึงวิธีการผลิตเชิงวิพากษ์ (critical) โดยความได้เปรียบของการทำงานหาเลี้ยงชีพโดยเฉพาะ; สิ่งนี้กำหนดรูปแบบ (style) ทั้งหมดของชีวิตและลักษณะพิเศษทั้งหมดเหล่านี้ได้ถูกจัดภายใต้ป้ายฉลากทางชาติพันธุ์ “เฟอร์” และ “แบ็กการ่า” ในตะวันออกกลาง อีกด้านหนึ่ง มนุษย์สามารถได้รับวิธีควบคุมการผลิตสูงขึ้น ด้วยการดำเนินกิจการ (ธุรกิจ) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำอื่นๆ ของพวกเขา; อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไม่ได้ถูกผลกระทบในกรณีดังกล่าว และการเปิดหนทางนี้ ก็เพื่อความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้นคนเร่ร่อน ชาวไร่ชาวนาและคนเมือง ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันในตะวันออกกลาง; ในที่ใดก็ตามที่ยืนยันพรมแดนชาติพันธุ์ ซึ่งพวกเขาพึ่งพิงอยู่บนระบบกลไกที่แยบยลและพิเศษเฉพาะมากกว่า ซึ่งเกี่ยวข้องอย่างสำคัญกับลักษณะที่ไม่อาจรวมกันที่แน่ชัดของสถานะตำแหน่ง (status) กับบทบาทหน้าที่ (role)

» การนิยามกลุ่มชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์เป็นเหมือนหน่วยที่มีวัฒนธรรมสัมพันธ์กัน

» กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเหมือนรูปแบบการจัดองค์กร

» พรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์

» ระบบสังคมแบบพหุ-ชาติพันธุ์

» ความเกี่ยวข้องของอัตลักษณ์และมาตรฐานเชิงคุณค่า

» การพึ่งพิงอาศัยกันของกลุ่มชาติพันธุ์

» มุมมองทางนิเวศวิทยา

» มุมมองทางประชากร

» ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์

» การยืนยันพรมแดนทางวัฒนธรรม

» อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และคุณูปการที่ปรากฎจริง

» กลุ่มชาติพันธุ์และการจัดแบ่งช่วงชั้น

» ปัญหาของความแตกต่างหลากหลาย

» ชนกลุ่มน้อย ผู้ถูกกีดกัน และคุณลักษณะในการจัดกลุ่มองค์กรของขอบนอก

» การติดต่อและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

» ความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์และวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย