สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กลุ่มและพรมแดนชาติพันธุ์

กลุ่มชาติพันธุ์และการจัดแบ่งช่วงชั้น

ในที่ใดก็ตามที่กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งได้ควบคุมเครื่องมือ/ปัจจัย (means) ของหน่วยการผลิตโดยอีกกลุ่ม ความสัมพันธ์ของความไม่เท่าเทียมและการแบ่งช่วงชั้นจะได้รับการยอมรับ ดังเช่นชาวเฟอร์และชาวแบ็กการ่าไม่ได้ใช้ระบบจัดแบ่งชั้น (stratify) เพราะว่าพวกเขาใช้ตำแหน่งหรือช่องทาง (niches) ที่แตกต่างกันและมีวิธีเข้าถึงสิทธิของพวกเขาอย่างเป็นอิสระต่อกัน ในขณะเดียวกันในบางส่วนของพื้นที่ (area) ชาวปาทาน พบการแบ่งช่วงชั้นแบบหนึ่งอยู่บนการควบคุมที่ดิน ซึ่งชาวปาทานเป็นเจ้าของที่ดินและกลุ่มอื่นเป็นเหมือนแรงงานทาสในการเพาะปลูก ในส่วน (terms) ทั่วไปแล้ว สิ่งหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าการแบ่งชั้นระบบพหุ-ชาติพันธุ์ดำรงอยู่ ในขณะที่กลุ่มถูกทำให้มีคุณลักษณะโดยการควบคุมความแตกต่างของทรัพย์สินที่เกิดประโยชน์ได้โดยกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดในระบบ วัฒนธรรมขององค์ประกอบกลุ่มชาติพันธุ์ในแต่ละระบบถูกผนวกรวมในวิถีทางพิเศษเฉพาะดังกล่าว: พวกเขาร่วมแบ่งคุณค่าการวางตำแหน่งและมาตรการชี้วัด (scale) ที่แน่นอนทั่วไปบนพื้นฐาน ซึ่งพวกเขาสามารถเข้าถึงยังการชี้ขาดของการแบ่งลำดับชั้น

จากการสังเกต ระบบของการจัดแบ่งช่วงชั้นไม่ได้สืบทอดการดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ Leach (1967) อภิปรายพิสูจน์ให้เห็นว่าการแบ่งชนชั้น (class) ทางสังคมถูกจำแนกแยกแยะโดยวัฒนธรรมย่อย (sub-culture) ที่แตกต่างกัน โดยแท้จริงแล้ว สิ่งนี้นั้นเป็นคุณลักษณะพิเศษพื้นฐานยิ่งกว่าระเบียบการปกครองตามลำดับชั้น อย่างไรก็ตาม ในระบบจำนวนมากของการแบ่งช่วงชั้น เราไม่กำลังแบ่งแยกไปกับขอบเขตตำแหน่งฐานะ (status) ทั้งหมด: การจัดแบ่งช่วงชั้นถูกตั้งอยู่บนฐานความคิดง่ายๆ ของมาตรการชี้วัดและการยอมรับในระดับการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางของ ‘ผู้คนซึ่งเป็นเหมือนกับพวกเรามากๆ’ ในทางตรงข้ามกัน สิ่งเหล่านั้นเลือกได้มากกว่าและเป็นธรรมดามากกว่า ในระบบดังกล่าวนั้น ความแตกต่างทางวัฒนธรรม, ทุกสิ่งที่พวกเขาเป็น ,ระดับขั้น (grade) ที่เกี่ยวข้องต่อกัน และไม่มีอะไรที่เหมือนการจัดกลุ่มองค์กรทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ปรากฎขึ้น: อย่างที่สอง ระบบส่วนมากที่สุดของการจัดแบ่งช่วงชั้นยินยอม หรือโดยแท้จริงแล้วกำหนดการสืบทอดพื้นฐานการเลื่อนชั้น (mobility) บนการประเมินค่าโดยมาตรการชี้วัดที่ระบุบ่งชี้ลำดับชั้น ดังเช่น ความล้มเหลวที่คนชั้นกลางในส่วน ‘B’ ของลำดับชั้นได้ทำให้คุณ ‘C’ เกิดขึ้นมา เป็นต้น

กลุ่มชาติพันธุ์ไม่ได้เปิดไปสู่ความเข้าใจในลักษณะนี้: การให้เหตุผลในส่วนของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ตั้งอยู่อีกด้านและมีกฎเกณฑ์ที่จำกัดกว่า สิ่งนี้ถูกอธิบายตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดโดย การวิเคราะห์ของ Knutsson ในชาวกาลล่า (Galla) ในบริบทสังคมเอธิโอเปีย (หน้า 86) -- ระบบทางสังคมที่กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด ถูกจัดแบ่งชั้นกับการยอมรับต่อตำแหน่งแห่งที่ (positions) ของพวกเขาในสิทธิประโยชน์กับความไร้คุณสมบัติทางกฎหมายภายในรัฐ อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของข้าหลวงผู้ปกครองไม่ได้ทำให้ชาวแอมฮาร่า (Amhara) ของชาวกาลล่าเกิดขึ้น และทั้งไม่ได้ทำให้เกิดความเหินห่างเหมือนกับคนนอกกฎหมายต้องสูญเสียอัตลักษณ์ชาวกาลล่า

จากมุมมองนี้ ระบบวรรณะของชาวอินเดีย จะปรากฎเป็นกรณีพิเศษของระบบการแบ่งแยกชั้นพหุ-ชาติพันธุ์แบบหนึ่ง พรมแดนของวรรณะถูกระบุชี้โดยเกณฑ์ทางชาติพันธุ์: เช่น ความล้มเหลวของปัจเจกชนในการปฏิบัติที่นำไปสู่การเนรเทศขับ และไม่ได้นำไปในทางต่ำลง ด้วยกระบวนการใดก็ตาม ระบบแบ่งลำดับชั้นได้รวมกลุ่มชาติพันธุ์ขึ้นใหม่ ที่แสดงให้เห็นในการทำให้ชนเผ่าต่างๆ กลายเป็นผู้ใช้ภาษาสันสกฤต: การยอมรับของพวกเขามาตรการชี้วัดคุณค่าเชิงวิพากษ์ของพวกเขา ซึ่งบ่งชี้ตำแหน่งแห่งที่ (position) ของพวกเขาในลำดับชั้นของความบริสุทธิ์และความเป็นมลทินทางพิธีกรรม ซึ่งเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงของคุณค่าที่จำเป็นสำหรับผู้คน (people) ที่จะกลายเป็นวรรณหนึ่งในอินเดียเท่านั้น การวิเคราะห์กระบวนการที่แตกต่างของการดำรงรักษาพรมแดนเกี่ยวโยงกับ ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณะที่แตกต่างกัน และตัวแปรเชิงภูมิภาคของระบบวรรณะที่อาจแตกต่างกัน ซึ่งฉันเชื่อว่าคุณลักษณะของระบบนี้ส่วนใหญ่ทำให้เข้าใจได้

การอภิปรายก่อนหน้านี้ ได้ทำให้เห็นคุณลักษณะทั่วไปที่ค่อนข้างผิดปกติของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ราวกับเป็นตำแหน่งสถานะ (status) : การให้เหตุผลไม่ได้อยู่บนเงื่อนไขการจำกัดควบคุมคุณสมบัติเฉพาะแต่อย่างใด แต่มองอยู่บนเกณฑ์ (criteria) ของจุดกำเนิดและการผูกมัด; ด้วยเหตุที่การปฏิบัติตัวในตำแหน่งสถานะที่แสดงพฤติกรรมพื้นๆธรรมดาจากภายในหน้าที่ที่ต้องการจะทำให้อัตลักษณ์เป็นจริง ซึ่งระบบมากมายได้กำหนดเรียกร้องคุณสมบัติดังกล่าว โดยทางตรงกันข้าม ผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางราชการได้ถูกจัดไว้กับคุณสมบัติเหล่านั้นที่ถูกเรียกร้อง ต่อการปฏิบัติตัวของบทบาทหน้าที่; ขณะที่ตำแหน่งทางเครือญาติที่เชื่อโดยปราศจากการอ้างอิงต่อคุณสมบัติของบุคคลที่คล้ายคลึงกันไม่ได้อยู่บนเงื่อนไขการปฏิบัติตัว – คุณยังคงเป็นพ่อ แม้กระทั่งหากว่าคุณล้มเหลวที่จะเลี้ยงดูลูกของคุณ

ดังนั้น ขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์ถูกทำให้สัมพันธ์กันในระบบการจัดแบ่งชั้น สิ่งนี้เรียกร้องการปรากฎของกระบวนการพิเศษที่ดำรงรักษาการควบคุมคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ในการทำแผนผัง: ข้อสรุป (premise) พื้นฐานของการจัดองค์กรกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นสิ่งที่ A ใดก็ตามสามารถแสดงบทบาทหน้าที่ใน 1, 2 และ 3 ถ้าหากว่าผู้กระทำยอมรับบนพื้นฐานนี้ ข้อสรุปก็กำลังสนองต่อตัวเอง นอกจากกระทำในบทบาทหน้าที่เรียกร้อง (require) คุณสมบัติเหล่านี้ ซึ่งถูกแบ่งสรรในแบบแผนที่ไม่ลงรอยกัน หากว่าคุณสมบัติเหล่านี้ถูกยอมรับหรือสูญเสียในวิถีปฏิบัติที่เป็นอิสระในการเป็น A รวมไปถึงการค้นหาและหลีกเลี่ยง โดยปราศจากการอ้างอิงต่ออัตลักษณ์ของพวกเขาว่าคล้ายกับ A ข้อสรุปจะถูกพิสูจน์ว่าไม่จริง: A บางส่วน ไม่สามารถกระทำ (act) ในบทบาทที่คาดหวังได้ ระบบของการจัดแบ่งช่วงชั้นถูกดำรงรักษามากที่สุด โดยการแก้ปัญหานั้น ดังกรณีที่บุคคลไม่อยู่ห่างจาก A

ในกรณีของอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ การแก้ปัญหาตั้งอยู่ทางตรงกันข้าม คือ การยอมรับว่าไม่ว่า A ใดก็ตามไม่ห่างไกลเกินกว่าความสามารถ หรือจะกระทำบทบาทหน้าที่ใน 1 และ 2 ได้ การยืนยันการจัดแบ่งชั้นระบบพหุ-ชาติพันธุ์เช่นนี้ จำเป็นต้องปรากฎปัจจัยที่ทำให้เกิดและดำรงรักษาการสนับสนุนส่งเสริมความแตกต่างทางการจำแนกแยกแยะของคุณสมบัติ: การควบคุมสถานะตำแหน่ง (state) ดังเช่น ในบางระบบพหุลักษณ์สมัยใหม่และพวกเชื้อชาตินิยม; กำหนดเครื่องหมายความแตกต่างในการประเมินคุณค่าที่พยายามเจาะเปิดช่องทางของผู้กระทำในทิศทางที่แตกต่าง ดังเช่น ในระบบเดียวกับการถือครองปนเปกัน; หรือความแตกต่างในวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดเครื่องหมายความแตกต่างในการจัดองค์กรทางการเมือง, การจัดองค์กรทางเศรษฐกิจ หรือความชำนาญส่วนบุคคล

» การนิยามกลุ่มชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์เป็นเหมือนหน่วยที่มีวัฒนธรรมสัมพันธ์กัน

» กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเหมือนรูปแบบการจัดองค์กร

» พรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์

» ระบบสังคมแบบพหุ-ชาติพันธุ์

» ความเกี่ยวข้องของอัตลักษณ์และมาตรฐานเชิงคุณค่า

» การพึ่งพิงอาศัยกันของกลุ่มชาติพันธุ์

» มุมมองทางนิเวศวิทยา

» มุมมองทางประชากร

» ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์

» การยืนยันพรมแดนทางวัฒนธรรม

» อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และคุณูปการที่ปรากฎจริง

» กลุ่มชาติพันธุ์และการจัดแบ่งช่วงชั้น

» ปัญหาของความแตกต่างหลากหลาย

» ชนกลุ่มน้อย ผู้ถูกกีดกัน และคุณลักษณะในการจัดกลุ่มองค์กรของขอบนอก

» การติดต่อและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

» ความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์และวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย