สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กลุ่มและพรมแดนชาติพันธุ์

ชนกลุ่มน้อย ผู้ถูกกีดกัน และคุณลักษณะในการจัดกลุ่มองค์กรของขอบนอก

ในระบบสังคมบางแห่ง กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน แม้ว่าไม่ใช่ลักษณะส่วนใหญ่ของโครงสร้างถูกวางอยู่บนความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ สิ่งเหล่านี้ถูกอ้างถึงโดยทั่วไปเหมือนกับสังคมกับชนกลุ่มน้อย และการวิเคราะห์ตำแหน่งสถานะ (situation) ชนกลุ่มน้อยเกี่ยวกับตัวแปรพิเศษเฉพาะของความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ ฉันคิดว่าในกรณีมากที่สุดนั้น เช่น สถานการณ์ที่ได้มาเกี่ยวข้องราวกับเป็นผลลัพธ์ของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ภายนอก; ความแตกต่างทางวัฒนธรรมไม่ได้กระโจนขึ้นจากบริบทการจัดระเบียบองค์กรท้องถิ่น – ค่อนข้างมาก ก่อนการสถาปนาขึ้น การเปรียบเทียบทางวัฒนธรรมถูกนำไปเชื่อมโยงกับระบบทางสังคมก่อนสถานปนาขึ้น และถูกทำให้เกี่ยวข้องกับชีวิตที่มีความหลากหลายในวิถีทาง

รูปแบบสุดโต่งจากตำแหน่งชนกลุ่มน้อย ที่กำลังยกตัวอย่างบางแห่ง แต่ไม่ใช่คุณลักษณะทั้งหมดของชนกลุ่มน้อย เป็นกลุ่มผู้ถูกกีดกันที่ถูกกระทำการปฏิเสธ โดยประชากรกลุ่มใหญ่ (เจ้าบ้าน) เนื่องจากพฤติกรรมหรือประณาม (condemn) ที่มีลักษณะเฉพาะ ทั้งที่บ่อยครั้งก็มีประโยชน์ในลักษณะเฉพาะและวิถีทางที่ปฏิบัติบางอย่าง กลุ่มผู้ถูกกีดกันของยุโรปเมื่อไม่กี่ศตวรรษมานี้ (เพชรฆาต, ผู้ประกอบธุรกิจม้าแข่ง และ – หนังสัตว์, ผู้เก็บอุจจาระไปทิ้งตอนกลางคืน, ยิปซี เป็นต้น) แสดงให้เห็นคุณลักษณะอย่างมากที่สุด: เหมือนกับผู้ทำลายข้อห้าม (taboo) พื้นฐานที่พวกเขาถูกปฏิเสธโดยสังคมสส่วนมาก อัตลักษณ์ของพวกเขา กำหนดยัดเยียดการบ่งชี้ที่ตั้งอยู่บนตำแหน่งสถานะ (situation) ทางสังคม ซึ่งให้ขอบเขตกำหนดเล็กๆ สำหรับการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในประชากรกลุ่มใหญ่ และในเวลาเดียวกันสถานภาพ (status) ที่พิเศษดังกล่าว ได้แสดงภาพแทน (represent) ความไร้คุณสมบัติที่ไม่อาจเลี่ยงได้ และได้ขัดขวางพวกเขาจากการนำเอาสถานภาพปกติธรรมดาไปเกี่ยวข้องกับการนิยามความหมายอื่นๆ ของตำแหน่งสถานะ (situation) ในการปฏิสัมพันธ์ ถึงแม้ว่าเกราะป้องกันที่มีพลังอำนาจสูงเหล่านี้ ซึ่งกลุ่มดังกล่าวไม่ดูเหมือนว่ามีการพัฒนาที่ซับซ้อนภายใน ดังที่จะนำเราไปพิจารณาพวกเขาเหมือนกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์ได้; เพียงแค่ยิปซีต่างด้าวทางวัฒนธรรมที่ก่อตั้งขึ้นเป็นเหมือนกลุ่มหนึ่งที่ชัดเจนเท่านั้นเอง

พรมแดนของกลุ่มที่ไม่ได้การยอมรับ ถูกธำรงรักษาอย่างเข็มแข็งที่สุดโดยการแบ่งแยกประชากรเจ้าบ้านส่วนใหญ่และพวกเขาถูกกดขี่บังคับบ่อยๆ ในการใช้ประโยชน์ของเครื่องหมายที่เห็นได้ชัดง่ายๆ ที่จะประกาศอัตลักษณ์ของพวกเขา (ทั้งนี้เนื่องจากอัตลักษณ์นี้เป็นรากฐานเสมอสำหรับการดำรงชีพที่ไม่มั่นคงอย่างยิ่ง ซึ่งนอกเหนือการสื่อสารดังกล่าวนั้น ก็อาจจะรองรับ (serve) ผู้ถูกกีดออกจากผลประโยชน์ที่แข่งขันของปัจเจกบุคคลด้วยในบางครั้ง) ในขณะที่ผู้ถูกกีดกันพยายามที่จะข้ามผ่านไปยังสังคมที่กว่าใหญ่กว่า ที่วัฒนธรรมของประชากรส่วนใหญ่ได้ถูกรับรู้เข้าใจเป็นอย่างดี; ดังนั้นปัญหาจึงถูกลดทอนไปยังคำถามหนึ่งของการหลบหนีการตีตราของการไร้คุณสมบัติ โดยการแยกตัวกับชุมชนผู้ถูกกีดกันและปลอมแปลงจุดกำเนิดอื่น

ตำแหน่งสถานะ (situation) คนกลุ่มน้อยจำนวนมากได้ตามรอยของการปฏิเสธที่แข็งขันนี้ โดยประชากรเจ้าบ้านส่วนใหญ่ แต่คุณลักษณะทั่วไปของตำแหน่งสถานะ คนกลุ่มน้อยทั้งหมดตกอยู่ในการจัดระเบียบองค์กรของกิจกรรม (activity) และการปฏิสัมพันธ์: ในระบบสังคมโดยรวม ขอบเขต (sector) ทั้งหมดของการกระทำถูกจัดระเบียบโดยสถานภาพที่เปิดต่อสมาชิกของคนกลุ่มใหญ่ ขณะที่ระบบสถานภาพของคนกลุ่มน้อยมีความสัมพันธ์กันเพียงความสัมพันธ์ภายในและเพียงแค่ในบางขอบเขตของกิจกรรมเท่านั้น และไม่ได้จัดเตรียมพื้นฐานสำหรับการกระทำในขอบเขตอื่นๆ ที่ประเมินค่า (valued) ในวัฒนธรรมกลุ่มน้อยอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นจึงมีความแตกต่างระหว่างคุณค่าและความสะดวกที่จัดระเบียบขึ้น: การตีค่าเป้าหมายถูกจัดระเบียบภายนอกพื้นที่ (field) โดยวัฒนธรรมและการจำแนกของคนกลุ่มน้อย แม้ว่าระบบดังกล่าวจะมีหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกของกลุ่มในประเภทนี้ที่แตกต่างกัน ไม่ได้โผล่ขึ้นจากความสมบูรณ์พร้อมของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์; มันเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ภายในกรอบการทำงานของอำนาจควบคุม ซึ่งคนกลุ่มใหญ่เป็นเจ้าของสถานภาพและการก่อตั้งขึ้น ขณะที่อัตลักษณ์สมาชิกคนกลุ่มน้อยดังกล่าวไม่ได้ให้พื้นฐานสำหรับการกระทำ แม้ว่ามันอาจจะเปลี่ยนแปลงระดับ (degree) ภาพตัวแทนที่ไร้คุณสมบัติในการรับเอาสถานภาพที่ปฏิบัติการได้เกิดผลมาใช้ บทความของ Eidheim ได้ให้การวิเคราะห์ที่ชัดเจนของสถานการณ์ลักษณะนี้ ดังที่มันได้เกิดขึ้นในชนเร่รอนตามชายฝั่งสแกนดิเนเวีย

แต่ในแนวทางที่แตกต่างไป สิ่งหนึ่งที่อาจจะกล่าวได้ว่าในระบบพหุ-ชาติพันธุ์ดังกล่าวนั้น คุณลักษณะพิเศษทางวัฒนธรรมที่เปรียบเทียบกันของกลุ่มที่เป็นส่วนประกอบที่ถูกกำหนดอยู่ในขอบเขตของชีวิตที่ไม่เชื่อมต่อกัน สำหรับคนกลุ่มน้อยขอบเขตเหล่านี้ก่อตั้งขึ้นเบื้องหลัง (back stage) ซึ่งลักษณะพิเศษเฉพาะนั้นถูกประทับตราในส่วน (term) ของอิทธิพลวัฒนธรรมของคนกลุ่มใหญ่ที่สามารถถูกทำให้จับต้องได้ด้วยการดำเนินการอย่างซ่อนเร้น

ปัจจุบันนี้ สถานการณ์ของชนเร่ร่อนกลุ่มน้อยได้ถูกนำไปเกี่ยวข้องโดยสภาพแวดล้อมภายนอกไม่นานมานี้ ก่อนหน้านี้ บริบทความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของการปฏิสัมพันธ์อยู่ในสถานการณ์ท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์สองกลุ่มกับภูมิปัญญาที่พอเพียงของวัฒนธรรมแต่ละกลุ่มดำรงรักษากำหนดขอบเขตอย่างสัมพันธ์กัน สัมพันธภาพเชิงสัญลักษณ์ในบางส่วนตั้งอยู่ในอัตลักษณ์โดยเฉพาะของพวกเขา ในขณะเดียวกับที่การบูรณาการอย่างเต็มที่ของสังคมชาวนอร์เวย์กำลังนำเอาริมขอบตอนเหนือไปสู่ระบบเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งอัตราการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง ประชากรของนอร์เวย์ภาคเหนือจึงเปลี่ยนมาพึ่งพิงอยู่บนระบบของสังคมวงกว้างที่เป็นสถาบันมากยิ่งขึ้น และชีวิตทางสังคมท่ามกลางชาวนอร์เวย์เจียนในนอร์เวย์ภาคเหนือถูกจัดระเบียบองค์กรที่ปฏิบัติตามและได้รับประโยชน์ภายในระบบที่ใหญ่กว่าเดิมมากขึ้นด้วย ระบบนี้ไม่เคยมี จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งทำให้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ได้ไปสู่การพิจารณาในโครงสร้างของมัน และจนกระทั่งทศวรรษที่ผ่านมา แทบจะไม่มีพื้นที่ใดในนอร์เวย์ที่กลุ่มหนึ่งสามารถเข้ามีส่วนร่วมได้เหมือนชนเร่ร่อนชาวแลปป์

ชาวแลปป์เหมือนกับพลเมืองชาวนอร์เวย์ แต่ในอีกด้านก็เป็นอิสระในการมี่ส่วนร่วมอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าภายใต้ความไร้คุณสมบัติที่มีสองส่วนของความเป็นท้องถิ่นที่ริมขอบและอำนาจครอบงำที่ไม่เพียงพอของภาษาและวัฒนธรรมชาวนอร์เวย์ สถานการณ์นี้ก็มีในที่อื่นๆ ในเขตแดนภายในแผ่นดินของ Finnmark ซึ่งได้ให้ขอบจำกัด (scope) สำหรับผู้ที่ปรับเปลี่ยนคล้ายชาวแลปป์กับโปรแกรมทางการเมืองที่ตั้งอยู่บนความคิดของพหุนิยมทางชาติพันธุ์ (ตัวอย่างใน Eidheim 1967) แต่พวกเขาเคยได้ไม่เป็นไปตามแบบชาวแลปป์ริมฝั่งทะเลที่อภิปรายบริเวณนี้โดย Eidheim สำหรับชาวแลปป์เหล่านี้ ค่อนข้างเกี่ยวพันกับสถานภาพและแบบแผนธรรมเนียมที่คล้ายชาวแลปป์ลดน้อยลงในส่วนตัด (sector) แบ่งจากขอบเขตต่อมา (Eidheim 1967) ขณะที่ความไม่เพียงพอที่เกี่ยวข้องกันของการแสดงออกในระบบที่กว้างขวางที่สุดได้นำไปเกี่ยวข้องกับการจำกัดและวิกฤตการณ์ของอัตลักษณ์

» การนิยามกลุ่มชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์เป็นเหมือนหน่วยที่มีวัฒนธรรมสัมพันธ์กัน

» กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเหมือนรูปแบบการจัดองค์กร

» พรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์

» ระบบสังคมแบบพหุ-ชาติพันธุ์

» ความเกี่ยวข้องของอัตลักษณ์และมาตรฐานเชิงคุณค่า

» การพึ่งพิงอาศัยกันของกลุ่มชาติพันธุ์

» มุมมองทางนิเวศวิทยา

» มุมมองทางประชากร

» ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์

» การยืนยันพรมแดนทางวัฒนธรรม

» อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และคุณูปการที่ปรากฎจริง

» กลุ่มชาติพันธุ์และการจัดแบ่งช่วงชั้น

» ปัญหาของความแตกต่างหลากหลาย

» ชนกลุ่มน้อย ผู้ถูกกีดกัน และคุณลักษณะในการจัดกลุ่มองค์กรของขอบนอก

» การติดต่อและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

» ความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์และวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย