สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กลุ่มและพรมแดนชาติพันธุ์

ความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์

ปัจจัยสมัยใหม่เหล่านี้ ในส่วนของการจัดระเบียบองค์กรพหุ-ชาติพันธุ์ในโลกของการบริหารราชการ, การพัฒนาการติดต่อสื่อสาร และกระบวนการกลายเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้า แน่นอนว่า ภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่แตกต่างอย่างถึงราก ซึ่งปัจจัยที่พินิจพิเคราะห์ในการบ่งชี้ความหมายและการธำรงรักษาพรมแดนชาติพันธุ์จะถูกทำให้แตกต่างกัน ในการยึดหลักของพวกเขาเองอยู่บนข้อจำกัดและข้อมูลปัจจุบัน ซึ่งเราได้พบกับความยุ่งยากในการกล่าวโดยทั่วไปเกี่ยวกับกระบวนการทางชาติพันธุ์ เนื่องจากตัวแปรส่วนใหญ่ อาจจะไม่ได้รับความสนใจเพราะว่าพวกเขาไม่ได้แสดงออกในกรณีแบบที่เราแบ่งจำแนก นั้นอาจทำให้เกิดความสับสนอยู่บ้างที่นักมานุษยวิทยาสังคมมีแนวโน้มที่จะพิจารณาไปทางสถานะ (situation) พิเศษเฉพาะของพื้นที่อาณานิคมและการบริหารปกครองจากภายนอก ซึ่งมีรูปแบบฉากหลังมากที่สุดในเรื่องเดียวเฉพาะที่มีอิทธิพล ราวกับว่าเรื่องนี้ได้แสดงภาพของเงื่อนไข ณ เวลาและสถานที่นั้นได้มากที่สุด สิ่งนี้อาจจะมีอคติในการตีความทั้งในส่วนของระบบก่อนอาณานิคมและส่วนของปัจจุบันที่รูปร่าง (form) ปรากฎขึ้นมา ความพยายามในบทความเหล่านี้ได้ครอบคลุมกรณีแตกต่างหลายๆแห่งที่ไม่พอเพียงลำพังจะปกป้องต้านทานอคติดังกล่าว และความต้องการประเด็นที่ค้นพบโดยตรง

ระบอบอาณานิคมเป็นสภาพสุดขั้วโดยแท้จริงในขอบเขตที่การบริหารและกฎระเบียบของมันถูกแยกออกจากชีวิตทางสังคมรากฐานของท้องถิ่น ภายใต้ระบอบดักล่าว ปัจเจกยึดถือสิทธิธรรมแน่ชัดในการปกป้องอย่างไม่แตกต่างกัน เพราะว่าประชากรขนาดใหญ่รวมกันเป็นกลุ่มและเป็นส่วนบริเวณแผ่ยื่นห่างออกไปของสัมพันธภาพทางสังคมและการจัดตั้งที่เป็นของพวกเขาเอง สิ่งนี้อนุญาตให้ความใกล้ชิดทางกายภาพและเปิดโอกาสต่อการติดต่อระหว่างผู้คนของกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งไม่มีอยู่ในส่วนของการแบ่งร่วมความเข้าใจระหว่างพวกเขา และดังนั้นผู้ที่หนีออกไปจากการบังคับจึงเป็นปฏิบัติปกติอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ ในสถานการณ์ดังกล่าว การปฏิสัมพันธ์สามารถพัฒนาและแพร่หลายขึ้น—โดยแท้จริงแล้ว รูปแบบของการปฏิสัมพันธ์เหล่านั้นเพียงแค่ถูกยับยั้งโดยตรงโดยปัจจัยอื่นๆ จะถูกทำให้ไม่ปรากฎและยังคงขอบเขตพื้นที่ของการไม่เชื่อมต่อเอาไว้ ด้วยเหตุนี้พรมแดนชาติพันธุ์ในสถานการณ์ดังกล่าว จึงแสดงให้เห็นถึงการจัดระเบียบองค์กรที่เห็นได้ในความสัมพันธ์ทางสังคมที่แตกต่างกันรอบด้านและคุณค่าความหมาย (value) ที่เติมเต็มเข้ามา และความแตกต่างทางวัฒนธรรมมักจะถูกลดทอนลงกับช่วงเวลา และเข้าถึงการเรียกร้องได้ต่ำที่สุด

อย่างไรก็ตาม ในระบอบทางการเมืองส่วนมากที่สุด ซึ่งมีระบอบการรักษาความปลอดภัยและชีวิตผู้คนภายใต้การคุกคามของเผด็จการและความรุนแรงภายนอกมากกว่าชุมชนดั้งเดิมของพวกเขา ซึ่งความไม่มั่นใจในการกระทำของตัวเองเป็นเหมือนการควบคุมการติดต่อระหว่างชาติพันธุ์ ในสถานการณ์นี้ รูปแบบส่วนใหญ่ของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันจะล้มเหลวในการพัฒนาขึ้น แม้ว่าได้เติมเต็มศักยภาพของผลประโยชน์ที่จะได้รับก็ตาม รูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจะถูกปิดกั้นจำกัด เนื่องจากการขาดความเชื่อใจหรือขาดโอกาสต่อการดำเนินกิจการที่บรรลุผล ยิ่งไปกว่านั้นได้มีการกีดกันลงโทษในชุมชนดังกล่าว ซึ่งมีแนวโน้มไปสู่การยกระดับภายในการปฏิบัติตามธรรมเนียมที่เปิดเผยและความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างชุมชน ถ้าหากบุคคลเป็นผู้ที่ต้องพึ่งพา เพื่อการปกป้องรักษาตัวเขาเองตั้งอยู่บนความสมัครใจและสนับสนุนโดยเกิดขึ้นเองในชุมชนของเขาเอง การบ่งชี้จำแนกตัวตนเหมือนกับสมาชิกของชุมชนนี้ ต้องการถูกแสดงให้เห็นและยืนยันรับรองที่ชัดแจ้ง; และพฤติกรรมใดก็ตาม ซึ่งเป็นความเบี่ยงเบนจากมาตรฐาน อาจจะถูกตีความราวกับเป็นการตื่นขึ้นของอัตลักษณ์ และด้วยพื้นฐานของการปกป้องรักษา (พรมแดน) ในสถานการณ์ดังกล่าว ความแตกต่างทางประวัติศาสตร์ ในวัฒนธรรมระหว่างชุมชนที่แตกต่างโดยไม่ตั้งใจ จะมีแนวโน้มที่คงอยู่ตลอดด้วยตัวพวกเขาเองโดยปราศจากรากฐานทางการจัดระเบียบที่มั่นคงแน่นอน; ส่วนใหญ่ที่สามารถสังเกตเห็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้ อาจจะถูกจำกัดความสัมพันธ์อย่างมากต่อการจัดระเบียบองค์กรทางชาติพันธุ์



กระบวนการที่หน่วยทางชาติพันธุ์ดำรงรักษาตัวพวกเขาเองดังกล่าว จึงสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพื้นฐาน โดยความเปลี่ยนแปลงของการปกป้องรักษาทางเขตแดน นี้สามารถแสดงให้เห็นได้โดยการตรวจสอบในกรณีการวิเคราะห์ในบทความเหล่านี้ ซึ่งปรากฎให้เห็นขอบเขตการแสดงจากอาณานิคมต่อพหุ-ศูนย์กลาง เหนือสถานการณ์ไร้อธิปไตยอย่างสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตาม มันเป็นความสัมพันธ์ต่อการรับรู้เข้าใจว่าพื้นฐานตัวแปรนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากโดยขึ้นกับช่วงเวลา และในการวางร่างแบบแผนของกระบวนที่ยาวนานนี้ เป็นความยากลำบากยิ่งยวด ดังในกรณีของชาวเฟอร์ ซึ่งเราสังเกตจากสถานการณ์ของการดำรงรักษาพื้นที่ภายนอกและการกระทำทางการเมืองท้องถิ่นขอบเขตขนาดเล็ก และสามารถวาดร่างภาพกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และแม้กระทั่งระดับอัตราส่วนในการจัดวางนี้ แต่เราเข้าใจว่าไปเกินกว่าคนรุ่นสุดท้ายได้ไม่มากนัก ซึ่งสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์หนึ่งที่การเผชิญหน้าของชาวแบ็กการ่า-ชาวเฟอร์ภายใต้อำนาจปกครองของซุลต่านชาวเฟอร์ที่ขยายตัวอย่างใกล้ชิดไปสู่ความไร้ระเบียบโดยรวมในชาวตุรกีสและยุคสมัยของ Mahdi; และมันเป็นความยากลำบากมากต่อการประเมินผลกระทบของความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้บนกระบวนการของการกลายเป็นคนเร่ร่อนและการผสมผสานกลมกลืน และบรรลุถึงการวางโครงของระดับอัตราส่วนและแนวโน้มในระยะยาว

» การนิยามกลุ่มชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์เป็นเหมือนหน่วยที่มีวัฒนธรรมสัมพันธ์กัน

» กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเหมือนรูปแบบการจัดองค์กร

» พรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์

» ระบบสังคมแบบพหุ-ชาติพันธุ์

» ความเกี่ยวข้องของอัตลักษณ์และมาตรฐานเชิงคุณค่า

» การพึ่งพิงอาศัยกันของกลุ่มชาติพันธุ์

» มุมมองทางนิเวศวิทยา

» มุมมองทางประชากร

» ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์

» การยืนยันพรมแดนทางวัฒนธรรม

» อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และคุณูปการที่ปรากฎจริง

» กลุ่มชาติพันธุ์และการจัดแบ่งช่วงชั้น

» ปัญหาของความแตกต่างหลากหลาย

» ชนกลุ่มน้อย ผู้ถูกกีดกัน และคุณลักษณะในการจัดกลุ่มองค์กรของขอบนอก

» การติดต่อและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

» ความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์และวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย