สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กลุ่มและพรมแดนชาติพันธุ์

กลุ่มชาติพันธุ์และวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม

มุมมองและการแสดงการวิเคราะห์ที่นี่มีความสัมพันธ์กับธีม (Theme) ของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม ไม่น่าสงสัยว่าประวัติศาสตร์มนุษยชาติเป็นเรื่องราวของการพัฒนาของรูปลักษณะต่างๆ (forms) ที่ปรากฎออกมาให้เห็น ทั้งลักษณะทางวัฒนธรรมและสังคม ประเด็นในการศึกษาทางมานุษยวิทยาเคยสนใจว่าประวัติศาสตร์นี้สามารถถูกบรรยายได้อย่างดีที่สุดและประเภทใดของการวิเคราะห์เป็นที่เพียงพอต่อการค้นพบหลักเกณฑ์พื้นฐานทั่วไปในแนวทางของการเปลี่ยนแปลง การวิเคราะห์ทางวิวัฒนาการในการรับรู้เข้าใจอย่างเคร่างครัดของพื้นที่สนามทางกายภาพมีรากฐานวิธีคิดของมันอยู่บนการสร้างเส้นแบ่งประเภทสิ่งมีชีวิต (phyletic lines)

วิธีคิดนี้สมมติฐานว่าการดำรงอยู่ของพรมแดนหน่วยพื้นที่ใดก็ตาม และกระบวนการดำรงรักษาพรมแดนสามารถถูกอธิบาย และถูกระบุกำหนดได้อย่างต่อเนื่อง อย่างเป็นรูปธรรม เส้นการแบ่งประเภทเป็นสิ่งสำคัญ เพราะพรมแดนพิเศษเฉพาะได้ป้องกันขัดขวางการสับเปลี่ยนของลักษณะทางพันธุกรรม (genetic); และสิ่งหนึ่งที่สามารถยืนยันว่าได้แยกการสืบสายพันธุ์ห่างออกมา คือ หน่วย และสิ่งนั้นมันได้ดำรงรักษาอัตลักษณ์ที่ไม่ถูกผลกระทบโดยการเปลี่ยนแปลงในคุณลักษณะทางชีววิทยาของพันธุ์

ฉันมีข้อถกเถียงว่าพรมแดนถูกดำรงรักษาเอาไว้ด้วยระหว่างหน่วยทางชาติพันธุ์ และด้วยเหตุดังกล่าวนั้น มันจึงเป็นไปได้ที่จะกำหนดระบุธรรมชาติของความสืบเนื่องและการยืนยันของหน่วยดังกล่าว บทความเหล่านี้พยายามที่จะแสดงว่าพรมแดนชาติพันธุ์ถูกดำรงรักษาในแต่ละกรณี โดยการจำกัดการจัดวางของคุณลักษณะทางวัฒนธรรม การยืนยันของหน่วยในกรณีนั้นพึ่งพาอยู่บนการยืนยันของความแตกต่างทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ขณะที่การสืบต่อเนื่องสามารถถูกระบุกำหนดได้เช่นกัน ด้วยการเปลี่ยนแปลงของหน่วยที่นำไปเกี่ยวข้อง โดยการเปลี่ยนแปลงในการบ่งชี้พรมแดนความแตกต่างทางวัฒนธรรม

อย่างไรก็ตาม สาระสำคัญทางวัฒนธรรมจำนวนมากที่สุดที่ทุกช่วงเวลาได้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประชากรมนุษย์ไม่ได้ถูกจำกัดควบคุมโดยพรมแดนเหล่านี้: มันสามารถผันแปร , ถูกเรียนรู้, และเปลี่ยนแปลงโดยปราศจากความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับวิกฤตการณ์ใดใดต่อการดำรงรักษาพรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์ ดังนั้นเมื่อย้อนรอยประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ตลอดยุคสมัย กลุ่มหนึ่งนั้นไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน, ในการรับรู้เข้าใจแบบเดียวกัน, การย้อนรอยประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมหนึ่ง: ส่วนประกอบสำคัญของการแสดงวัฒนธรรม่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ได้ผุดทะยานขึ้นจากการจัดวางโดยเฉพาะที่ก่อรูปวัฒนธรรมของกลุ่ม ณ ช่วงเวลาก่อนหน้านั้น ในทางตรงกันข้าม กลุ่มได้มีการดำรงอยู่ที่จัดระเบียบองค์กรที่ต่อเนื่องกับพรมแดน (เกณฑ์บรรทัดฐานของการเป็นสมาชิก) ที่แม้ว่าการดัดแปลงแก้ไขได้ทำเครื่องหมายแก่หน่วยอย่างต่อเนื่อง

หากปราศจากความสามารถที่จะระบุกำหนดพรมแดนวัฒนธรรมแล้ว มันไม่สามารถที่จะสร้างเส้นแบ่งชนิดในการรับรู้ทางวิวัฒนาการที่เคร่างครัดมากกว่าได้ แต่จากการวิเคราะห์ที่ได้อภิปรายมานี้ มันจะเป็นไปได้ที่จะทำดังนั้น เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ และดังเช่นในการรับรู้ต่อลักษณะของวัฒนธรนมเหล่านั้น ที่ได้ยึดการจัดระเบียบองค์กรนี้เป็นหลักไว้

» การนิยามกลุ่มชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์เป็นเหมือนหน่วยที่มีวัฒนธรรมสัมพันธ์กัน

» กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเหมือนรูปแบบการจัดองค์กร

» พรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์

» ระบบสังคมแบบพหุ-ชาติพันธุ์

» ความเกี่ยวข้องของอัตลักษณ์และมาตรฐานเชิงคุณค่า

» การพึ่งพิงอาศัยกันของกลุ่มชาติพันธุ์

» มุมมองทางนิเวศวิทยา

» มุมมองทางประชากร

» ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์

» การยืนยันพรมแดนทางวัฒนธรรม

» อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และคุณูปการที่ปรากฎจริง

» กลุ่มชาติพันธุ์และการจัดแบ่งช่วงชั้น

» ปัญหาของความแตกต่างหลากหลาย

» ชนกลุ่มน้อย ผู้ถูกกีดกัน และคุณลักษณะในการจัดกลุ่มองค์กรของขอบนอก

» การติดต่อและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

» ความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์และวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย