สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

กลุ่มและพรมแดนชาติพันธุ์

เขียนโดย :  เฟรดริก บาร์ท แปลเก็บความโดย คมลักษณ์ ไชยยะ

ประเด็นหัวข้อบทความที่รวบรวมขึ้นนี้ เป็นปัญหาในเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์และการยืนยันตัวของพวกเขา ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ แต่กลับไม่ได้ให้ความสำคัญในมานุษยวิทยาสังคม ในความจริง การให้อธิบายเหตุผลทางมานุษยวิทยาทั้งหมดวางอยู่บนข้อสรุปว่า รูปแบบที่แตกต่างทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่ต่อเนื่อง : นั่นคือ การรวมกลุ่มของผู้คนที่ร่วมแบ่งแก่นสาระวัฒนธรรมร่วมกัน และเชื่อมโยงความแตกต่างที่จำแนกแยกแยะแต่ละวัฒนธรรมนั้นออกมาจากผู้อื่นทั้งหมด เนื่องจากวัฒนธรรมไม่มีตัวตนแต่เป็นวิถีทางในการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งมันจะเข้าใจว่าเป็นกลุ่มที่แยกออกมาของผู้คน กล่าวคือ หน่วยชาติพันธุ์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกันในแต่ละวัฒนธรรม ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมและพรมแดนที่สำคัญในประวัติศาสตร์และการติดต่อกัน ได้เคยให้การพิจารณาสนใจอย่างสำคัญ การประกอบขึ้นของกลุ่มชาติพันธุ์และธรรมชาติของพรมแดนระหว่างพวกเขา ไม่เคยตรวจสอบความจริงอย่างสอดรับกัน นักมานุษยวิทยาสังคมได้หลีกเลี่ยงปัญหานี้อย่างมากโดยการใช้มโนทัศน์ที่นามธรรมสูงของ “สังคม” เป็นตัวแทนรวมเข้าด้วยกับระบบสังคมภายในซึ่งเล็กกว่าที่กลุ่มที่มีตัวตนและหน่วยอาจจะถูกวิเคราะห์ แต่นี้ทำให้ไม่สามารถสัมผัสคุณลักษณะเชิงประจักษ์และพรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์และความสำคัญในประเด็นทางทฤษฏี ซึ่งการตรวจสอบความจริงในการปรากฏพวกเขา

ถึงแม้ว่าสมมุติฐานตรงไปตรงมาว่า แต่ละชนเผ่าและผู้คนได้ดำรงรักษาวัฒนธรรมของมัน ตลอดทั้งการชอบต่อสู้ การไม่รู้เรื่องของเพื่อนบ้านของมัน ไม่ได้รับพิจารณาเกินไปกว่ามุมมองที่ง่ายๆในทางภูมิศาสตร์และสังคมโดดเดี่ยวได้เคยวิพากษ์ปัจจัยในการสนับสนุนยืนยันความแตกต่างทางวัฒนธรรม การตรวจสอบความจริงเชิงประจักษ์ในคุณลักษณะของพรมแดนชาติพันธุ์ ดังข้อมูลในบทความที่ตามมา ผลการค้นพบสองอย่าง ซึ่งเกือบจะไม่คาดคิดมาก่อน แต่สิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นความไม่เพียงพอของมุมมองนี้ อย่างแรกมันชัดเจนว่าพรมแดนยังคงอยู่โดยไม่คำนึงถึงการไหลลื่นของตัวบุคคลข้ามพรมแดนพวกเขา กล่าวอีกอย่าง คือ ความแตกต่างทางชาติพันธุ์อย่างแท้จริงแล้วไม่ได้อาศัยอยู่บนการขาดความเคลื่อนไหว การติดต่อและข้อมูลข่าวสาร แต่กระทำด้วยกระบวนการสังคมของการกีดกันและการรวมตัวกัน โดยกลุ่มประเภทซึ่งแยกออกจากกันถูกดำรงรักษาไว้โดยไม่คำนึงถึงการมีส่วนเปลี่ยนแปลงและการเป็นสมาชิกในเส้นทางความเป็นมาของชีวิตแต่ละคน อย่างที่สอง สิ่งหนึ่งที่พบว่าไม่เปลี่ยนแปลง ยังคงอยู่และมักจะมีความสำคัญต่อชีวิต ความสัมพันธ์ทางสังคมถูกดำรงรักษาข้ามผ่านแต่ละพรมแดน และถูกวางรากฐานอยู่เสมอบนการแบ่งสถานะชาติพันธุ์ออกเป็น 2 ขั้วอย่างเที่ยงตรง กล่าวอีกอย่าง ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ไม่ได้อาศัยอยู่บนการขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการยอมรับ แต่เป็นทั้งหมดที่มักจะขัดแย้งกับพื้นฐานแท้จริงบนสิ่งที่รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในระบบสังคมถูกสร้างขึ้น ปฏิสัมพันธ์ในแต่ละระบบสังคมไม่ได้นำไปสู่การชดเชยของมัน ตลอดทั้งการเปลี่ยนและการรับวัฒนธรรม ซึ่งความแตกต่างทางวัฒนธรรมสามารถยืนยันโดยไม่คำนึงถึงการติดต่อสัมพันธ์และการพึ่งพากันระหว่างชาติพันธุ์

วิธีการศึกษาทั่วไป
นั่นเป็นความสำคัญอย่างชัดเจนของสนาม ณ ที่นี้ ในความต้องการการทบทวนใหม่ว่า อะไรที่ถูกเรียกร้องให้รวมเข้าทางทฤษฏีและการวิจารณ์เชิงประจักษ์ : เราต้องการที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์อย่างใกล้ชิดในกรณีที่หลากหลายและเหมาะสมกับกรอบแนวคิดของพวกเราไปยังข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์นี้ เพื่อว่าพวกเขาชี้แจงพวกเขาอย่างง่ายและอย่างพอเพียงที่สามารถเป็นไปได้ และยินยอมให้เราสำรวจสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา ในบทความที่กำลังติดตามมา ผู้เขียนแต่ละคนได้ยกกรณีที่พวกเขามีความคุ้นเคยใกล้ชิดจากงานภาคสนามของพวกเขา และพยายามที่จะนำมาวางกรอบแนวคิดร่วมกันในการวิเคราะห์ หลักสำคัญที่สุดทางทฤษฏีที่แยกออกไปประกอบด้วยส่วนที่เชื่อมต่อกันหลากหลาย อย่างแรก เราได้ให้น้ำหนักสำคัญในขั้นพื้นฐานกับข้อเท็จจริงว่ากลุ่มชาติพันธ์เป็นกลุ่มประเภทของการให้เหตุผลและการบ่งชี้ตัวตนโดยผู้กระทำด้วยตัวพวกเขาเอง และด้วยเหตุนั้นจึงมีบุคลิกลักษณะในการก่อรูปปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน เราพยายามเชื่อมโยงกับบุคลิกลักษณะอื่นๆของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นลักษณะพื้นฐานนี้ สอง – บทความทั้งหมดทำให้เกิดการประยุกต์มุมมองต่อการวิเคราะห์: ค่อนข้างมากกว่าการทำงานด้วยจัดแบ่งประเภทรูปแบบของกลุ่มชาติพันธุ์และความสัมพันธ์ ซึ่งเราพยายามสำรวจกระบวนการต่างๆ ที่เห็นว่ามีเกี่ยวข้องในการทำให้เกิดและดำรงรักษากลุ่มชาติพันธุ์ สาม – ในการสังเกตกระบวนการนี้ เราเปลี่ยนจุดสนใจในการตรวจสอบความจริงจากการประกอบขึ้นภายใจและประวัติความเป็นมาของการแบ่งแยกกลุ่มไปยังพรมและและการดำรงรักษาพรมแดน ในแต่ละประเด็นนี้ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมอยู่บ้าง

» การนิยามกลุ่มชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์เป็นเหมือนหน่วยที่มีวัฒนธรรมสัมพันธ์กัน

» กลุ่มชาติพันธุ์ เป็นเหมือนรูปแบบการจัดองค์กร

» พรมแดนของกลุ่มชาติพันธุ์

» ระบบสังคมแบบพหุ-ชาติพันธุ์

» ความเกี่ยวข้องของอัตลักษณ์และมาตรฐานเชิงคุณค่า

» การพึ่งพิงอาศัยกันของกลุ่มชาติพันธุ์

» มุมมองทางนิเวศวิทยา

» มุมมองทางประชากร

» ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์

» การยืนยันพรมแดนทางวัฒนธรรม

» อัตลักษณ์ชาติพันธุ์และคุณูปการที่ปรากฎจริง

» กลุ่มชาติพันธุ์และการจัดแบ่งช่วงชั้น

» ปัญหาของความแตกต่างหลากหลาย

» ชนกลุ่มน้อย ผู้ถูกกีดกัน และคุณลักษณะในการจัดกลุ่มองค์กรของขอบนอก

» การติดต่อและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

» ความเปลี่ยนแปลงในการจัดวางความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์

» กลุ่มชาติพันธุ์และวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย