ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ชีวิตมนุษย์มีต้นกำเนิดในองค์พระผู้เป็นเจ้า ทุกชีวิตมนุษย์จึงมาจากพระเจ้าและเป็นของพระเจ้า ทุกชีวิตมนุษย์เป็นของขวัญล้ำค่าที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่โลก
บทนำ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทส่งท้าย
29 30
31 32 33
34 35 36
37 38 39
40
41 42 43
44 45 46
47 48 49
50 51
33. ในชีวิตของพระเยซูเจ้าเอง นับแต่แรกเริ่มจนวาระสุดท้าย เราพบ
การโต้แย้งกัน (วิภาษวิธี dialectic) อย่างหนึ่ง
ระหว่างประสบการณ์ความไม่แน่นอนของชีวิตมนุษย์ กับการยืนยันถึงคุณค่าของชีวิตมนุษย์
ชีวิตของพระเยซูเจ้านั้นเต็ม
ไปด้วยความไม่แน่นอนนับแต่วาระแรกที่พระองค์ถือกำเนิดมา
แน่นอนที่พระองค์ได้รับการต้อนรับจากคนชอบธรรมผู้สะท้อนคำตอบรับของพระนางมารีย์ด้วยใจปิติยินดีในทันที
(เทียบ ลก 1:38) แต่นับแต่แรกเริ่มก็มีการไม่ยอมรับพระองค์แล้วจากทางฝ่ายโลก
ซึ่งตั้งตนเป็นอริ และค้นหาพระกุมารน้อย เพื่อจะฆ่าเสีย (มธ 2:13)
โลกที่ยังคงทำเฉยเมย และไม่สนใจต่อธรรมล้ำลึกของชีวิตนี้ที่เข้ามาในโลก
ไม่มีที่พักสำหรับพวกเขาในโรงแรมเลย (ลก 2:7)
ในการขัดแย้งกันระหว่างการคุกคามชีวิตและความไม่ปลอดภัยด้านหนึ่ง
กับพลังของของประทานจากพระเจ้านี้อีกด้านหนึ่งนั้น
พระสิริซึ่งส่องแสงมาจากบ้านที่นาซาเร็ธและจากรางหญ้าที่เบ็ธเลเฮ็ม
ก็ทอแสงส่องประกายเจิดจ้ายิ่ง นั่นคือ ชีวิตนี้ที่บังเกิดมา
เป็นความรอดสำหรับมวลมนุษย์ทั้งหลาย (เทียบ ลก 2:11)
พระเยซูเจ้าทรงยอมรับการขัดแย้งและการเสี่ยงต่างๆ ของชีวิต
แม้ทรงร่ำรวย พระองค์ก็ยังทรงยอมกลายเป็นคนยากจน เพราะเห็นแก่ท่าน
เพื่อท่านจะได้ร่ำรวยเพราะความยากจนของพระองค์ (2 คร 8:9)
ความยากจนที่ท่านนักบุญเปาโลกล่าวถึงนี้มิใช่หมายถึงเพียงการยอมสละศักดิ์ศรีความเป็นพระเจ้าเท่านั้น
แต่ทรงมายอมรับสภาพต่ำสุดและเจ็บปวดที่สุดของชีวิตมนุษย์ด้วย (เทียบ ฟป 2:6-7)
พระเยซูเจ้าทรงเจริญชีวิตยากจนเช่นนี้ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์
จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายบนไม้กางเขนนั้น
"พระองค์ทรงถ่อมพระองค์จนถึงกับทรงยอมรับแม้ความตาย เป็นความตายบนไม้กางเขน
เพราะเหตุนี้เอง พระเจ้าจึงทรงเทิดทูนพระองค์ขึ้นสูงส่ง
และประทานพระนามให้แก่พระองค์ พระนามนี้ประเสริฐกว่านามอื่นใดทั้งสิ้น" (ฟป 2:8-9)
โดยการสิ้นพระชนม์พระองค์เช่นนี้เอง
พระเยซูเจ้าจึงเผยแสดงถึงความสว่างสุกใสและคุณค่าของชีวิตโดยที่การพลีพระองค์เป็นเครื่องบูชาบนไม้กางเขนนั้น
กลายเป็นบ่อเกิดแห่งชีวิตใหม่สำหรับมนุษย์ทั้งหลาย (เทียบ ยน 12:32)
ในการดำเนินชีวิตของพระองค์ท่ามกลางการขัดแย้ง และการยอมสูญเสียชีวิตของพระองค์
พระเยซูเจ้าทรงมีความมั่นใจนี้นำทางพระองค์ว่า
ชีวิตของพระองค์อยู่ในพระหัตถ์ของพระบิดาเสมอ ดังนั้น บนไม้กางเขน
พระองค์จึงสามารถทูลพระบิดาได้ว่า พระบิดาเจ้าข้า
ข้าพเจ้าขอมอบจิตของข้าพเจ้าไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์ (ลก 23:46) กล่าวคือ
มอบชีวิตของข้าพเจ้า คุณค่าของชีวิตมนุษย์ ต้องยิ่งใหญ่จริงๆ
ในเมื่อพระบุตรพระเจ้าทรงยอมรับชีวิตนี้
และทำให้ชีวิตมนุษย์กลายเป็นเครื่องมือนำความรอดมาให้มนุษยชาติ
ผู้ที่พระองค์ทรงเรียกมา...พระองค์ทรงกำหนดให้เป็น
ภาพลักษณ์ของพระบุตรของพระองค์(รม 8:28-29) :
พระสิริของพระเจ้าส่องประกายอยู่บนใบหน้าของมนุษย์