ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ชีวิตมนุษย์มีต้นกำเนิดในองค์พระผู้เป็นเจ้า ทุกชีวิตมนุษย์จึงมาจากพระเจ้าและเป็นของพระเจ้า ทุกชีวิตมนุษย์เป็นของขวัญล้ำค่าที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่โลก
บทนำ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทส่งท้าย
29
30
31 32 33
34 35 36
37 38 39
40
41 42 43
44 45 46
47 48 49
50 51
41. บทบัญญัติ อย่าฆ่าคน
ที่รวมถึงคำสั่งอันแสดงออกมาเต็มที่ทางด้านบวกให้รักเพื่อนบ้านของตนนั้น
ได้รับการยืนยันอย่างแข็งขันอีกครั้งจากพระเยซูเจ้าเอง
เมื่อเศรษฐีหนุ่มผู้นั้นทูลถามพระองค์ว่า พระอาจารย์ข้าพเจ้าต้องทำความดีอะไร
เพื่อจะมีชีวิตนิรันดร พระเยซูเจ้าทรงตอบเขาว่า ถ้าท่านอยากเข้าสู่ชีวิตนิรันดร
ก็จงปฏิบัติตามบทบัญญัติเถิด (มธ 19:16-17)
แล้วพระเยซูเจ้าทรงอ้างบทบัญญัติประการนี้เป็นข้อแรก คือ อย่าฆ่าคน (มธ 19:18)
ในคำเทศนาบนภูเขาพระเยซูทรงเรียกร้องบรรดาศิษย์ของพระองค์ให้มีความชอบธรรมที่เหนือกว่าความชอบธรรมของพวกธรรมาจารย์
และชาวฟาริสี ในเรื่องการมีความเคารพต่อชีวิตด้วย ท่านได้ยินคำกล่าวแก่คนโบราณว่า
อย่าฆ่าคนผู้ใดฆ่าคนจะต้องขึ้นศาล
แต่เรากล่าวแก่ท่านว่าทุกคนที่โกรธเคืองพี่น้องก็จะต้องขึ้นศาล (มธ 5:21-22)
โดยทางพระวาจาและกิจการต่างๆ ของพระองค์
พระเยซูเจ้าทรงเปิดเผยถึงข้อเรียกร้องด้านบวกของบทบัญญัติอันเกี่ยวกับการห้ามล่วงละเมิดชีวิตมนุษย์
ข้อเรียกร้องเหล่านี้ได้ถูกนำเสนออยู่แล้วในพันธะสัญญาเดิม
ซึ่งการออกกฎหมายนั้นเป็นเรื่องของการป้องกัน และปกป้องชีวิตที่อยู่ในสภาพอ่อนแอ
และถูกคุกคามในกรณีเป็นคนต่างชาติ หญิงม่าย ลูกกำพร้า คนป่วย และคนยากจนทั่วไป
รวมทั้งเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดาด้วย (เทียบ อพย 21:22 ; 22:20-26)
ข้อเรียกร้องด้านบวกเหล่านี้ได้รับแรงผลักดันเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องปฏิบัติจากพระเยซูเจ้า
และได้รับการเผย แสดงทั้งมิติด้านกว้างและด้านลึกด้วย คือ
นับแต่การเอาใจใส่ดูแลชีวิตของเพื่อนมนุษย์ของตน (ไม่ว่าจะเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิต
คนที่เป็นเชื้อชาติเดียวกันกับตน หรือคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินอิสราเอล
ก็ตาม) ไปจนถึงให้ความสนใจต่อคนแปลกหน้า ถึงขั้นที่จะต้องรักศัตรูของตนด้วย
คนแปลกหน้ามิใช่คนแปลกหน้าอีกต่อไปสำหรับผู้ที่กลายมาเป็นเพื่อนมนุษย์กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือทั้งหลาย
ถึงขั้นที่เขายอมรับผิดชอบต่อชีวิตของผู้นั้น
ดังที่แสดงให้เห็นชัดในเรื่องอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดีนั้น (เทียบ ลก
10:25-37) แม้กระทั่งผู้เป็นศัตรู ก็ไม่เป็นศัตรูอีกต่อไปสำหรับผู้ที่จะต้องรักเขา
(เทียบ มธ 5:38-48 ; ลก 6:27-35) ทำดี ต่อเขา (เทียบ ลก 6:27,33,35)
และตอบสนองความต้องการของเขาผู้นั้นในทันที โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน (เทียบ ลก
6:34-35) ความรักขั้นสูงสุดนี้ก็คือสวดภาวนาให้ผู้เป็นศัตรูของตน โดยการกระทำดังนี้
เราก็ปฏิบัติสอดคล้องกับความรักของพระเจ้าที่คอยดูแลเอาใจใส่มนุษย์
แต่เรากล่าวแก่ท่านว่า จงรักศัตรู จงอธิษฐานภาวนาให้ผู้ที่เบียดเบียนท่าน
เพื่อท่านจะได้เป็นบุตรของพระบิดาพระเจ้าสวรรค์
พระองค์โปรดให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นเหนือคนดีและคนชั่ว
โปรดให้ฝนตกเหนือคนชอบธรรมและคนอธรรม (มธ 5:44-45 ; เทียบ ลก 6:28-35)
ฉะนั้นสาระสำคัญอันลึกซึ้งที่สุดของบทบัญญัติของพระเจ้าที่ให้ปกป้องชีวิต ก็คือ
ข้อเรียกร้องให้เรามีความเคารพรักต่อบุคคลมนุษย์ทุกคนและต่อชีวิตของเขาด้วย
นี่เป็นคำสั่งสอนของท่านอัครสาวกเปาโล
ที่สะท้อนพระวาจาของพระเยซูเจ้ามาใช้อบรมคริสตชนที่กรุงโรมว่า
พระบัญญัติกล่าวว่าอย่าผิดประเวณี อย่าฆ่าคน อย่าลักขโมย อย่าโลภ
และถ้ามีบทบัญญัติอื่นอีก ก็สรุปได้ในข้อความนี้ว่าจงรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง
ความรักไม่ทำความเสียหายแก่เพื่อนมนุษย์
ความรักเป็นการปฏิบัติตามธรรมบัญญัติอย่างครบถ้วน (รม 13:9-10)
จงมีลูกมาก และทวีจำนวนขึ้นจนเต็มแผ่นดิน
(ปฐก 1:28) : ความรับผิดชอบที่มนุษย์ต้องมีต่อชีวิต