ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ชีวิตมนุษย์มีต้นกำเนิดในองค์พระผู้เป็นเจ้า ทุกชีวิตมนุษย์จึงมาจากพระเจ้าและเป็นของพระเจ้า ทุกชีวิตมนุษย์เป็นของขวัญล้ำค่าที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่โลก
บทนำ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทส่งท้าย
52
53 54 55
56 57 58
59 60 61
62 63 64
65 66 67
68 69 70
71 72 73
74 75 76
77
63.
การประเมินศีลธรรมในเรื่องการทำแท้งนี้จะต้องนำไปประยุกต์ใช้กับรูปแบบต่างๆ
ที่เมื่อเร็วๆ นี้เข้ามาแทรกแซงยุ่งเกี่ยวกับเรื่องตัวอ่อนมนุษย์
ซึ่งก็เกี่ยวพันอย่างหลีกเลี่ยงมิได้กับการฆ่าตัวอ่อนมนุษย์เหล่านั้นด้วย
แม้ว่าจะถูนำมาใช้ด้วยเหตุผลที่ถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม
นี่คือกรณีเรื่องการทำการทดลองตัวอ่อนมนุษย์
ซึ่งแพร่กระจายยิ่งขึ้นในแวดวงการศึกษาค้นคว้าทางด้านชีวแพทย์ศาสตร์ (biomedical
research) และเป็นสิ่งที่ได้รับอนุญาตให้ทำได้โดยถูกต้องตามกฎหมายในบางประเทศ
ถึงแม้ว่า
เราจะต้องถือว่าเป็นกระบวนการที่ถูกต้องทำได้ที่จะดำเนินการในเรื่องตัวอ่อนมนุษย์
ที่มีการให้ความเคารพต่อชีวิตและอัตลักษณ์ (integrity)
ของตัวอ่อนมนุษย์และไม่ถึงกับต้องเสี่ยงแบบไม่สมควรที่จะทำลายตัวอ่อนมนุษย์นั้น
แต่มุ่งเพื่อให้การรักษา
เพื่อการปรับปรุงสภาวะสุขภาพของตัวอ่อนมนุษย์หรือเพื่อช่วยให้ตัวอ่อนมนุษย์นั้นรอดชีวิตอยู่ได้เป็นสำคัญก็ตาม
ถึงกระนั้น ก็จำเป็นต้องกล่าวยืนยันไว้ว่า การใช้ตัวอ่อนมนุษย์หรือทารกในครรภ์มารดา
(human embryos or fetuses) เป็นวัสดุสำหรับการทดลองนั้นเป็นการกระทำผิดหนัก(crime)
ล่วงละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลผู้นั้น
ที่เขามีสิทธิจะได้รับความเคารพเช่นที่เด็กที่เกิดมาแล้วคนหนึ่งสมควรได้รับความเคารพนั้นเท่าๆ
กับบุคคลมนุษย์ทุกคน การประณามทางศีลธรรมเช่นนี้ยังถือด้วยว่าขั้นตอนต่างๆ
ที่กระทำผิดต่อตัวอ่อนมนุษย์และทารกที่มีชีวิตอยู่ในครรภ์มารดาที่บางครั้ง
ถูกผลิตขึ้นมา เป็นพิเศษเพื่อจุดมุ่งหมายนี้โดยการผสมเทียมในหลอดแก้ว (in vitro
fertilization)-ถูกนำมาใช้เป็น วัสดุทางชีววิทยา
หรือไม่ก็ถูกใช้เป็นตัวจัดการให้มีอวัยวะหรือชิ้นส่วนร่างกายที่จะนำไปใช้ปลูกถ่าย
(for tramsplants) ในการรักษาโรคบางอย่าง การฆ่ามนุษย์ผู้บริสุทธิ์เช่นนี้
แม้ว่าจะกระทำเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่มนุษย์ผู้อื่นก็ตาม
ก็เป็นการกระทำที่ไม่อาจยอมรับได้เลย
เราต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการประเมินผลศีลธรรมในเรื่องการใช้เทคนิคต่างๆ
ตรวจสอบการตั้งครรภ์ของมารดาก่อนคลอด ซึ่งช่วยให้มีการตรวจสอบแต่เนิ่นๆ
ดูสิ่งผิดปกติที่อาจเป็นไปได้ในตัวทารกที่ยังไม่เกิดมานั้นในเรื่องความซับซ้อนของเทคนิคต่างๆ
เหล่านี้ การตัดสินทางด้านศีลธรรมที่ถูกต้องและเป็นระบบนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็น
เมื่อเทคนิคเหล่านั้นไม่เป็นเรื่องการเสี่ยงอันไม่เหมาะสมกับชีวิตของทารกและมารดา
และมุ่งทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ที่จะให้การบำบัดรักษาแต่เนิ่นๆ
หรือแม้แต่มุ่งแสดงความชื่นชอบอย่างสงบยอมรับทารกที่ยังไม่เกิดมาตามที่ทราบผล นั้น
เทคนิคเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ถูกต้องทำได้ทางศีลธรรม
แต่เนื่องจากศักยภาพที่จะทำการบำบัดรักษาทารกก่อนเกิดมานั้น
ยังมีขีดจำกัดอยู่มากในปัจจุบัน
บางครั้งจึงเกิดขึ้นว่าเทคนิคเหล่านี้กลับถูกนำไปใช้ด้วยจุดประสงค์ทางด้านพันธุศาสตร์ที่ยอมรับเอาการทำแท้งแบบที่คัดเลือกแล้ว
(selective abortion) เพื่อกันมิให้ทารกที่มีความผิดปกติด้านต่างๆ นั้นถือกำเนิดมา
ทัศนคติเช่นนี้เป็นสิ่งที่น่าละอายและน่าชิงชังเป็นอย่างยิ่ง
เพราะว่าเป็นทัศนคติที่นำมาใช้วัดคุณค่าชีวิตมนุษย์ด้วยมาตรการเพียงว่ามนุษย์ผู้นั้นมีร่างกาย
เป็นปกติ สมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่เท่านั้น
จึงเปิดโอกาสให้การฆ่าทารกและการทำการุณยฆาตเป็นสิ่งที่ทำได้ตามกฎหมาย
ถึงกระนั้น
การที่พี่น้องชาย-หญิงของเรายอมรับทุกข์ทรมานจากความพิการร้ายแรงของตนดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความกล้าหาญอย่างสงบนั้น
เมื่อพวกเราได้เห็นถึงการยอมรับและความรัก
ก็ช่วยเป็นสักขีพยานเด่นชัดชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ให้คุณค่าแท้แก่ชีวิต
และแม้พวกเขาจะตกอยู่ในสภาวะอันยากลำบากสักเพียงไรก็ตาม
การเป็นสักขีพยานนี้ก็ทำให้ความทุกข์นั้นกลับเป็นสิ่งล้ำค่ายิ่งสำหรับพวกเขาเองและสำหรับคนอื่นๆ
ด้วยพระศาสนจักรอยู่ใกล้ชิดคู่สามีภรรยา ที่แม้จะตกอยู่ในความเศร้าและความทุกข์
ก็ยังเต็มใจยอมรับบุตรที่พิการของตนไว้
พระศาสนจักรรู้สึกขอบคุณครอบครัวเหล่านั้นที่รับเอาเด็กๆ
ที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งเพราะพวกเขาพิการหรือเจ็บป่วยมาดูแลเอาใจใส่แทน
เราแต่ผู้เดียว คือผู้นำทั้งความตายและชีวิตมาให้ได้
(ฉธบ
32:39) : สภาพอันน่าสลดใจของการทำการุณยฆาต