ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

พระวรสารแห่งชีวิต

    ชีวิตมนุษย์มีต้นกำเนิดในองค์พระผู้เป็นเจ้า ทุกชีวิตมนุษย์จึงมาจากพระเจ้าและเป็นของพระเจ้า ทุกชีวิตมนุษย์เป็นของขวัญล้ำค่าที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่โลก

บทนำ
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
บทที่ 4
บทส่งท้าย

52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64
65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77

64. ณ อีกปลายด้านหนึ่งของภาพชีวิตมนุษย์ มนุษย์ชาย-หญิงทั้งหลายพบว่า ตนกำลังเผชิญกับธรรมล้ำลึกเรื่องความตาย ปัจจุบันเนื่องจากความเจริญที่ปิดรับความจริงโพ้นธรรมชาติ (the transcendent) ประสบการณ์ของผู้กำลังจะตายจึงมีรูปลักษณ์ใหม่ๆ เมื่อแนวโน้มที่มักจะตีคุณค่าชีวิตมนุษย์เพียงในแง่ที่ว่าชีวิตนั้นนำความพึงพอใจและความผาสุกมาให้หรือไม่เท่านั้น ความทุกข์จึงดูเหมือนเป็นการถอยหลังที่ไม่อาจรับทนได้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะหลีกหนีให้พ้น ความตายถูกถือว่าเป็นสิ่งที่ “ไร้ความหมาย” (senseless) หากว่าจู่ๆ มันเข้ามาขัดขวางชีวิตที่กำลังเปิดสู่ประสบการณ์ใหม่ๆ ในอนาคตของตนอยู่ แต่ความตายกลับกลายเป็น “การปลดปล่อยอันชอบธรรม” (rightful liberation) เมื่อชีวิตนั้นถือว่าไม่มีความหมายอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากมันเต็มไปด้วยความเจ็บปวด และต้องโชคร้ายตกอยู่ในความทุกข์ทรมานมากขึ้นที่มนุษย์ไม่อาจรับทนได้อีกต่อไป

ยิ่งกว่านั้น เมื่อมนุษย์ปฏิเสธหรือไม่ยอมรับความสัมพันธ์พื้นฐานกับพระเจ้า มนุษย์ก็คิดว่าตนเองเป็นมาตรการชี้วัดและควบคุมตนเอง ตนมีสิทธิเรียกร้องให้สังคมให้ประกันแก่ตน ซึ่งวิธีและเครื่องมือที่จะตัดสินใจเองว่าตนควรจะทำอะไรกับชีวิตของตนด้วยตัวเองอย่างเต็มที่ เป็นต้น ผู้คนในประเทศที่พัฒนาแล้วที่มักจะปฏิบัติเช่นว่านี้ กล่าวคือพวกเขารู้สึกว่าตนถูกกระตุ้นให้กระทำเช่นนี้จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ และเทคนิคต่างๆ ที่เจริญรุดหน้ารวดเร็วกว่าเมื่อก่อน โดยการใช้ระบบและเครื่องมือที่ล้ำยุคทันสมัย วิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ในปัจจุบันก็ไม่สามารถไม่เพียงแค่จัดการกับกรณีต่างๆ ที่ก่อนหน้านี้ถือว่าไม่อาจรักษาได้ และช่วยลดหรือกำจัดความเจ็บปวดให้หายไปได้เท่านั้น แต่ยังสามารถรักษาให้คงอยู่หรือช่วยชะลอชีวิตให้ยืนยาวอยู่ต่อไปได้แม้อยู่ในสภาพอ่อนแอที่สุดก็ตาม กลับใช้เครื่องมือช่วยให้คนป่วยที่อวัยวะพื้นฐานทางร่างกายหยุดทำงานโดยกระทันหันนั้นฟื้นกลับมาทำงานได้ใหม่ และใช้วิธีการพิเศษต่างๆ ช่วยให้มีการปลูกถ่ายอวัยวะให้แก่มนุษย์ได้

ในบริบทที่ว่ามานี้ ก็มีการประจญให้มนุษย์คิดใช้วิธีกระทำการุณยฆาต กล่าวคือ เพื่อจะควบคุมความตายและนำความตาย “อย่างสงบ” มาให้ชีวิตของตนหรือชีวิตของผู้อื่นก่อนเวลาอันควร ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นตรรกะที่สมเหตุสมผลและมีมนุษยธรรมนั้น เมื่อพิจารณากันให้ใกล้ชิดแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผลและไร้มนุษยธรรมเป็นอย่างยิ่ง เรากำลังเผชิญกับอาการอันน่าเป็นห่วงยิ่งอีกอย่างหนึ่งของ “วัฒนธรรมแห่งความตาย” ซึ่งกำลังก้าวรุดหน้าอย่างมาก เป็นต้น ในสังคมที่เจริญรุ่งเรืองแล้ว ซึ่งชี้วัดถึงการมีทัศนคติอันสลวนจนเกินไปกับเรื่องของการมีประสิทธิภาพเป็นสำคัญ และเป็นทัศนคติที่มองเห็นว่าการมีผู้สูงอายุ และผู้พิการมากขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ทนรับไม่ได้ และเป็นภาระเกินไป ผู้คนพวกนั้นมักจะถูกครอบครัวของตนและสังคมปล่อยให้อยู่โดดเดี่ยว เพราะสังคมนับรวมผู้เป็นมนุษย์เฉพาะบนพื้นฐานมาตรการชี้วัดในเรื่องประสิทธิภาพการให้ผลผลิต (productive efficiency) เป็นสำคัญซึ่งตามมาตรการเช่นนี้ ชีวิตที่เสื่อมถอยไร้ความหวังใดๆ แบบนั้นย่อมไม่มีคุณค่าอันใดเลย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย