วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
ร้อยกรองสมัยกรุงศรีอยุธยา
การปรากฏของร้อยกรองสมัยกรุงศรีอยุธยา
ร้อยกรองสมัยนี้จะปรากฏในวรรณคดีเป็นส่วนมาก แต่สูญไปบ้างในระหว่างสงครามก็ได้
ซึ่งยังพอมีหลักฐานในการร้อยกรองในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็น 2 ระยะ ได้แก่
- สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(พ.ศ.1893 2171) ปรากฏร้อยกรอง ดังนี้
ลิลิต คือ บทร้อยกรองที่ใช้โคลงและร่ายแต่งปะปนกัน เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่าย
โคลง นิยมแต่งเป็นโคลงดั้น เช่น ลิลิตยวนพ่าย มหาชาติคำหลวง ส่วนโคลงสุภาพมีในมหาชาติคำหลวงและลิลิตพระลอ
ฉันท์ ปะปนในมหาชาติคำหลวงหลายบท
กาพย์ เช่นเดียวกับฉันท์
- สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย(พ.ศ.2171 2310) ปรากฏร้อยกรองทุกประเภท ดังนี้
โคลง นิยมมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น โคลงพาลีสอนน้อง
โคลงทศรถสอนพระราม กาพย์ห่อโคลงของพระศรีมโหสถ
ฉันท์ ใช้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ สมุทรโฆษคำฉันท์ อนิรุทธ์คำฉันท์ คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง เป็นต้น
กาพย์ นอกจากนิยมแต่งกับฉันท์แล้ว ยังนิยมแต่งเป็นกาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่เรือ ซึ่งเป็นลักษณะของการแต่งโคลงปนกาพย์ ปรากฏในกาพย์ห่อโคลงเรื่องต่างๆ กาพย์ห่อโคลงประพาสทองแดง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เป็นต้น
กลอน ปรากฏในรูปของกลอนเพลงยาวต่างๆ เช่น เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา เพลงยาวเจ้าฟ้ากุ้ง บทละครครั้งกรุงเก่า เป็นต้น
ร่ายและลิลิต มีแต่คำประพันธ์ประเภทร่ายยาว ที่ปรากฏในนันโทปนันทสูตรคำหลวงและร่ายโบราณในพระมาลัยคำหลวงเท่านั้น
กลบท ในกลบทสิริวิบุลกิติ์และจินดามณี
รูปแบบ
มิได้เคร่งครัดในฉันทลักษณ์เท่าใดนัก
แต่จะเน้นจังหวะและเสียงเป็นสำคัญ
จึงต้องสังเกตจากสำนวนและการแบ่งวรรคตอน เช่น
นกหกต่างรวงรัง และประนังบังเหิรโหย
พากันกระสันโบย บัตรเรียกมารังเรียง
(สมุทรโฆษคำฉันท์)
จะเห็นได้ว่าในคำบังคับของฉันท์นั้น กวีถือเสียงเป็นสำคัญ
จึงต้องสังเกตโดยมิได้คำนึงถึงรูปฉันทลักษณ์เท่าใดนัก
แต่ทั้งนี้คำที่อยู่ในลหุจะอ่านเป็นเสียงเบาทั้งสิ้น
ประเภทของร้อยกรอง
ร้อยกรองสมัยสุโขทัย
ร้อยกรองสมัยกรุงศรีอยุธยา
ร้อยกรองสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การพัฒนาการร้อยกรองไทยในปัจจุบัน